กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กาพย์พระไชยสุริยา

 

กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา

 

กาพย์พระไชยสุริยา1

 

กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง พ.ศ. 2382-2385 หรืออาจแต่งในตอนที่จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีในปี พ.ศ. 2368 แม้ปีที่แต่งจะไม่ชัดเจนแต่เป็นที่แน่ชัดว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อให้กาพย์พระไชยสุริยาเป็นแบบสอนอ่านและเขียนมาตราตัวสะกดคำต่าง ๆ สำหรับเด็กในยุคนั้น และยังคงใช้อยู่มาจนถึงปัจจุบัน

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

สุนทรภู่แต่งกาพย์พระไชยสุริยาโดยใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์ มีทั้งหมด 3 กาพย์คือ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 แต่ละกาพย์มีลักษณะที่ต่างกันทำให้การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างเพลิดเพลิน

 

กาพย์ยานี 11

 

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3

คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทต่อไป

 

กาพย์ฉบัง 16

 

 

ลักษณะบังคับของกาพย์ฉบัง 16

คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ของบทต่อไป

 

กาพย์สุรางคนางค์ 28 

 

ลักษณะบังคับของกาพย์สุรางคนางค์ 28 

คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 5

คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำที่ 2 ของวรรคที่ 5

คำสุดท้ายของวรรคที่ 5 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 6

สัมผัสระหว่างบทคือ คำสุดท้ายของวรรคที่ 7 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ในบทต่อไป

 

ความแตกต่างระหว่างกาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์สุรางคนางค์ 28

 

 

1. จำนวนคำและวรรค

กาพย์ยานี 11 บทหนึ่งมี 2 บาท ในแต่ละบาทมี 2 วรรค โดยที่วรรคแรกจะมี 5 คำ และวรรคหลังมี 6 คำ รวมเป็น 11 คำ

กาพย์ฉบัง 16 บทหนึ่งมี 3 วรรค ในวรรคแรกจะมี 6 คำ วรรคสองมี 4 คำ และวรรคสุดท้ายมี 6 รวมเป็น 16 คำ

กาพย์สุรางคนางค์ 28 บทหนึ่งมี 7 วรรค แต่ละวรรคมี 4 คำ หนึ่งบทมี 28 คำ

2. สัมผัส เมื่อมีจำนวนคำต่างกัน จำนวนวรรคไม่เท่ากัน สัมผัสระหว่างวรรคและระหว่างบทก็จะแตกต่างกันไปด้วย

3.การอ่าน กาพย์ยานี 11 จะแบ่งวรรคอ่านต่างจากเพื่อนเนื่องจากว่าวรรคหน้าและวรรคหลังแบ่งจังหวะการอ่านไม่เท่ากัน ส่วนกาพย์ฉบัง 16 กาพย์สุรางคนางค์ 28 จะเหมือนกันตรงเว้นจังหวะการอ่านทุก 2 คำ

กาพย์ยานี 11 มีจังหวะการอ่านวรรคละ 2 จังหวะ คือ วรรคหน้า 5 คำ อ่าน 2 / 3 วรรคหลัง 6 คำ อ่าน 3 / 3

กาพย์ฉบัง 16 เว้นจังหวะการอ่านทุก ๆ 2 คำ วรรคแรกและวรรคท้าย 2/2/2 ส่วนวรรคกลางอ่านเป็น 2/2

กาพย์สุรางคนางค์ 28 เว้นจังหวะการอ่านทุก ๆ 2 คำ ในทุกวรรค เนื่องจากทุกวรรคมีจำนวนคำเท่ากัน

4. ลักษณะการใช้ แม้จะเป็นกาพย์เหมือนกันแต่มีลักษณะการใช้ที่ต่างกันออกไป ดังนี้

กาพย์ยานี 11 ใช้เวลาเล่าเรื่องที่มีจังหวะเนิบนาบ นิยมแต่งในการพรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างเชื่องช้า ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรืออารมณ์เศร้า คร่ำครวญ

กาพย์ฉบัง 16 เป็นการพรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ แต่จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว พรรณนาด้วยอารมณ์คึกคัก รวบรัด

กาพย์สุรางคนางค์ 28 ใช้เป็นการเล่าเรื่องเพื่อรวบรัดเนื้อหาให้เร็ว แสดงปาฏิหาริย์ แสดงความโกรธ ความคึกคัก มักใช้ร่วมกับฉันท์

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

พระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาวัตถีมีมเหสีชื่อนางสุมาลี แต่แล้วบ้านเมืองที่เคยสงบสุขก็เต็มไปด้วยการฉ้อฉลของข้าราชบริพาร หลงมัวเมาในอบายมุข จนในที่สุดฟ้าดินก็ลงโทษโดยการบันดาลให้น้ำท่วมเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจนเมืองสาวัตถีกลายเป็นเมืองร้าง พระไชยสุริยากับนางสุมาลีพร้อมประชาชนอีกจำนวนหนึ่งก็พากันหนีลงเรือเพื่อออกจากเมือง แต่กลับถูกพายุพัดจนเรืออับปาง พระไชยสุริยากับนางสุมาลีที่ยังรอดชีวิตจึงว่ายน้ำเข้าฝั่ง รอนแรมอยู่ในป่าจนไปพบกับฤๅษีรูปหนึ่ง ฤๅษีเกิดความสงสารพระไชยสุริยาเพราะเห็นว่าเป็นกษัตริย์ที่ดีจึงเทศนาจนสองสามีภรรยาเกิดความเลื่อมใส ตัดสินใจบำเพ็ญศีลภาวนาจนได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์

 

 

จากบทเรียนในตอนนี้คงจะทำให้น้อง ๆ หลายคนเข้าใจกาพย์พระไชยสุริยากันแล้วนะคะว่ามีประวัติความเป็นมา มีลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องอย่างไร จะเห็นได้ว่ากาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่นอกจากจะถูกใช้เป็นแบบเรียนเรื่องมาตราตัวสะกดแล้ว ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาย อย่างเรื่องคำประพันธ์ หรือเรื่องคติธรรมจริยธรรมอีกด้วย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากจะฟังคำอธิบายเพิ่มเติม ก็สามารถไปดูคลิปย้อนหลังของครูอุ้มได้นะคะ ไปดูกันเลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์ของความรักชาติที่ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลง

‘ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ เชื่อว่าพอขึ้นต้นด้วยประโยคนี้ จะต้องมีน้อง ๆ หลายคนอ่านเป็นทำนองแล้วร้องต่อในใจแน่นอนว่า ‘เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน’ เพราะนี่คือ เพลงชาติไทย ที่เราได้ยินตอนแปดโมงเช้ากับหกโมงเย็นของทุกวันนั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงความเป็นมา และความหมายของเพลงชาติไทยกันค่ะ มาดูพร้อมกันเลย   ประวัติความเป็นมาของ เพลงชาติไทย     ก่อนที่จะมีเพลงชาติไทย ประเทศไทยใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นเพลงประจำองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเพลงประจำชาติ จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.

verb to do

Verb To Do ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Verb to do ที่ใช้ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

สังข์ทอง จากนิทานชาดกสู่วรรณคดีไทยอันเลื่องชื่อ

สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่แพร่หลายและโด่งดังอย่างมากในสังคมไทย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยปี ความนิยมของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวนี้ก็ยังไม่เสื่อมคลาย ดูได้จากการที่ถูกผลิตซ้ำตั้งแต่เป็นกลอนบทละครจนถึงละครโทรทัศน์ ที่น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเดินเห็นผ่านตากันมาแล้วบ้าง บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้ พร้อมเรื่องย่อหนึ่งตอนสำคัญที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดอย่างตอน กำเนิดพระสังข์ กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยนะคะ   สังข์ทอง ความเป็นมา     สังข์ทอง มีที่มาจาก สุวรรณสังขชาดก

Profile Telling Time

“บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Time in English) ”

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling Time in English) ” กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย  บทนำ ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1