กัณฑ์มัทรี ศึกษาตัวบทและข้อคิดของกัณฑ์ที่ 9 ในมหาชาติชาดก

กัณฑ์มัทรี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กัณฑ์ หมายถึง คำเทศน์ หรือตอนหนึ่ง ๆ ของเทศน์เรื่องยาว นับเป็นลักษณนามของเทศน์ ในมหาชาติชาดก เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมากันไปแล้วว่ามีทั้งหมด 13 กัณฑ์ รวมถึงเรื่องย่อของกัณฑ์มัทรี ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่ 9 มีความเชื่อว่าถ้าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ของมหาชาติชาดก ก็จะทำให้ขึ้นสวรรค์ นอกจากนี้หากบูชากัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะได้ผลที่ดีแก่ตัวเอง ผู้ที่บูชากัณฑ์มัทรี จะทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว มีรูปโฉมที่สวยงาม ไปที่ไหนก็จะพบแต่ความสุข น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื้อหาใน กัณฑ์มัทรี นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วล่ะก็เราไปเจาะลึกตัวบทเด่น ๆ กันค่ะว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

 

ตัวบทเด่นใน กัณฑ์มัทรี

 

ตัวบทที่ 1

กัณฑ์มัทรี

 

เป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์ตอนที่นางมัทรีวิ่งตามหาลูกไปทั่วป่า ใช้ตามองไปทุกหนแห่ง ใช้หูฟังเสียงลูก ตะโกนเรียกลูกจนสุดเสียง และออกวิ่งสุดฝีเท้าเพื่อตามหาลูกเท่าที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะทำได้ ในบทนี้โดดเด่นในเรื่องการซ้ำคำ ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของมหาชาติสำนวนของภาคกลาง จะเห็นได้เรื่อย ๆ ในบทต่อ ๆ ไป

 

ตัวบทที่ 2

กัณฑ์มัทรี

 

เป็นตอนที่นางมัทรีกลับมาถามพระเวสสันดรว่าพระกุมารหายไปไหน แล้วพระเวสสันดรแกล้งกล่าวโทษว่าเพราะนางมัทรีหลงลืมลูกไม่สนใจผัว มัวแต่อยู่ในป่า แม้ตอนแรกจะทำเป็นไม่อยากไปก็ตาม แต่กลับมาซะเย็น พอหาลูกไม่เจอก็ตีอกชกหัวว่าลูกหายไปไหน และยังว่าอีกว่าใครจะไปรู้ความคิดผู้หญิง ถ้ารักลูกจริงเหมือนที่พูดก็ต้องรีบกลับมาก่อนตะวันจะตกดิน บทนี้สะท้อนความมีไหวพริบของผู้พูดอย่างพระเวสสันดรที่ออกอุบายให้นางมัทรีคลายความเศร้าและเปลี่ยนมาโกรธแทน

 

 

เป็นตอนที่นางมัทรีไปตามหาพระกุมารทั้ง 2 ตั้งแต่ค่ำจนรุ่งเช้า จนเกิดอาการอ่อนเพลียจึงสลบไป เมื่อพระเวสสันดรมาเห็นก็ตกใจ คิดว่านางมัทฟรีสิ้นใจแล้ว จึงยกศีรษะของนางมาวางบนตักแล้วตัดพ้อว่า ตนเองบุญน้อยแล้วนางยังจะมาจากไปอีก จะเอาป่านี่มาเป็นป่าช้าฝังศพ จะเอาศาลานี่มาเป็นเมรุเผาศพ จะเอาเสียงนกสาลิกามาเป็นเสียงกลองในงานศพ จะเสียงจักจั่นมาเป็นเสียงแตรสังข์ จะเอาเมฆหมอกในอากาศมากั้นเป็นเพดานหรือ

ซึ่งพระเวสสันดรตัดพ้อขึ้นมาเพราะกำลังเสียใจอย่างมาก คิดว่านางมัทรีสิ้นใจแล้วจึงตั้งคำถามว่านางจะมาตายในป่าแบบนี้จริงหรือ เพราะนอกจากจะโดนเนรเทศมาอยู่ในป่ากับด้วยกันกับลูกแล้ว ตอนนี้ลูกยังต้องไปอยู่กับชูชกทำให้เหลือกันอยู่แค่สองคนผัวเมีย แล้วนางก็จะยังจะจากไปอีก บทนี้ถึงนางมัทรีไม่ได้ตายจริง ๆ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ความรักของสามีที่มีต่อภรรยา

 

คำศัพท์

 

 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

ลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ ใครจะรัก จะห่วง จะให้ลูกได้เท่ากับที่พ่อแม่รัก นั้นย่อมหาได้ยาก

 

จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้กันไป ทำให้ได้รู้ว่าการเทศน์มหาชาติคือมหากุศลที่เตือนบุคคลให้ตระหนักถึงการบำเพ็ญบารมี ให้ทาน สละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เรียกได้ว่ามีประโยชน์รอบด้าน ทั้งฟังและได้บุญ ได้ข้อคิด นำพาให้เราไปทำในสิ่งที่ดี ก็ยังได้ซึมซับความสวยงามของภาษาที่ใช้ในบทประพันธ์นี้อีกด้วย ก่อนจากกัน น้อง ๆ สามารถติดตามคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายในแต่ละตัวบทเพิ่มเติม และสามารถตามไปฟังคลิปสรุปความรู้ เพื่อให้ไม่พลาดในการทำข้อสอบ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

ทริคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างง่าย ๆ

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้วก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนเหมือนอย่างทุกวันนี้ แหล่งการสืบค้นหลัก ๆ จะอยู่ที่ห้องสมุด แต่ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเพียงคลิกปลายนิ้ว ข้อมูลที่ต้องการค้นหาก็มาปรากฏอยู่ตรงหน้าให้เลือกสรรมากมาย แต่เราจะมีวิธีการเลือกสืบค้นข้อมูลกันอย่างไร ถึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด บทเรียนในวันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การหาข้อมูลสำหรับการเรียนของน้อง ๆ นั้นง่ายขึ้น เราไปเรียนรู้เรื่อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กันเลยค่ะ   การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต   เป็นการค้นคว้าหาความรู้โดยใช้สารสนเทศในลักษณะต่าง ๆ โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมภาพและข้อมูลต่าง ๆ    

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1