การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ
การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบได้หลายวิธี วิธีที่นิยมที่สุดคือ การตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยเราจะวาดแผนภาพตามเหตุทุกกรณีแล้วเราจะพิจารณาว่าเป็นไปตามผลสรุปที่โจทย์ให้มาหรือไม่

การให้เหตุผล

สมเหตุสมผล เมื่อแผนภาพแสดงผลสรุปตามที่กำหนดมา

ไม่สมเหตุสมผล เมื่อมีบางกรณีทำให้ผลสรุปไม่จริง

แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์กับประโยคที่เจอบ่อย

ให้ A และ B เป็นเซตใดๆ

1.) สมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

แปล ทุกตัวของ A อยู่ใน B

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

2.) ไม่มีสมาชิกใดใน A ที่เป็นสมาชิกของ B

แปล ไม่มี A ที่อยู่ใน B

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

3.) สมาชิกบางตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

แปล มีบางตัวของ A ที่อยู่ใน B

 

4.) มีสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B

แปล มีบางตัวของ A ที่ไม่อยู่ใน B แสดงว่า บางตัวก็ยังอยู่ใน B

 

ตัวอย่างการตรวจสอบความสมเหตุสมผล

1.)

เหตุ 1. นักกีฬาทุกคนสุขภาพดี

2. แป้งสุขภาพดี

ผล    แป้งเป็นนักกีฬา

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ พิจารณาว่าเซตไหนควรจะเป็นเซตที่ใหญ่ที่สุด

จากเหตุที่ 1 นักกีฬา “ทุกคน” สุขภาพดี แสดงว่า นักกีฬาจะต้องอยู่ในเซตของสุขภาพดี

ให้ H เป็นเซตของสุขภาพดี และ S เป็นเซตของนักกีฬา

จากเหตุที่ 1 นำมาเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้

พิจารณาเหตุที่ 2 แป้งสุขภาพดี

การที่แป้งสุขภาพดีนั้น แน่นอนว่าต้องอยู่ใน H แน่ๆ แต่แป้งอาจจะอยู่ใน S หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ผลสรุปที่บอกว่า แป้งเป็นนักกีฬาจึง ไม่สมเหตุสมผล เพราะแป้งไม่เป็นนักกีฬาก็ได้

 

2.)

เหตุ 1. สัตว์มีปีกบางตัวบินได้

2. สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา

3. เป็ดเป็นสัตว์มีปีก

ผล  เป็ดมี 2 ขา

เนื่องจากข้อนี้ เหตุที่ 1 ไม่มีคำว่า “ทุก” แต่มีคำว่า “บางตัว” ดังนั้น จะได้แผนภาพดังนี้การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

เหตุที่ 2 สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา แสดงว่าเซตของ มีปีกอยู่ในเซตบอง มี 2 ขา เขียนแผนภาพได้ดังนี้

เหตุที่ 3 เป็นเป็นสัตว์มีปีก เขียนแผนภาพได้ดังนี้

จะเห็นว่า เป็ดสามารถอยู่ได้ 2 ที่ คือ อาจจะบินได้ หรือไม่ได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน เป็ดก็ยังอยู่ในเซตของมี 2 ขาอยู่ดี ดังนั้น ข้อนี้จึง สมเหตุสมผล

 

3.)

เหตุ 1. สัตว์มีปีกบางตัวบินได้

2. สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา

3. เป็ดเป็นสัตว์มีปีก

ผล  เป็ดบินได้

โจทย์ข้อนี้จะเห็นว่าคือโจทย์เดียวกันกับข้อ 2 แต่ผลสรุปต่างกัน พิจารณาแผนภาพ ดังนี้

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จะเห็นว่าเป็ดมี 2 จุด คืออยู่นอกวงกลมที่บินได้กับอยู่ในวงกลมบินได้ ดังนั้น ผลสรุปนี้ ไม่สมเหตุสมผล เพราะเป็ดอาจจะบินได้หรือบินไม่ได้ก็ได้

 

4.)

เหตุ 1. ทุกคนที่อ่านหนังสือ ทำข้อสอบได้

2. ธิดาสอบได้

ผล ธิดาอ่านหนังสือ

พิจารณาเหตุที่ 1 ทุกคนที่อ่านหนังสือ ทำข้อสอบได้ เขียนเป็นแผนภาพๆได้ดังนี้

จากนั้นพิจารณาเหตุที่ 2 ธิดาสอบได้ เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

กรณีที่ 1 

 

กรณีที่ 2 

จากรูปจะเห็นว่าเป็นไปได้ 2 กรณี จะได้ว่า ธิดาไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือก็ได้

ดังนั้น การให้เหตุผลข้อนี้ ไม่สมเหตุสมผล

 

5.)

เหตุ 1. ไม่มีคนที่ได้เกรด 4 ที่ขี้เกียจ

2. สมาร์ทไม่ขี้เกียจ

ผล สมาร์ทได้เกรด 4

พิจารณาเหตุที่ 1 ไม่มีคนคนที่ไดเเกรด 4 ที่ขี้เกียจ เมื่อวาดเป็นแผนภาพจะได้เป็นวงกลม 2 วง ที่ไม่ซ้อนทับกัน

  การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

พิจารณาเหตุที่ 2 สมาร์ทไม่ขี้เกียจ เป็นได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1     

กรณีที่ 2     

จะเห็นว่าการที่สมาร์ทไม่ขี้เกียจไม่จำเป็นจะต้องได้เกรด 4

ดังนั้นการให้เหตุผลข้อนี้ ไม่สมเหตุสมผล

 

วีดีโอ การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ม.1 หลักการใช้ Past Simple

หลักการใช้ Past Simple Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง หลักการใช้ Past Simple   ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Past Simple Tense     หลักการใช้ง่ายๆ ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับ ตัวอย่างประโยคทั่วไปที่มักเจอบ่อยๆ   บอกเล่า I saw Jack yesterday.

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

เรียนรู้และเข้าใจเรื่องคำซ้อนในภาษาไทย

คำซ้อน เป็นหนึ่งในบทเรียนหลักภาษาไทยเรื่องการสร้างคำ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยสับสนกับวิธีสร้างคำซ้อน ไม่รู้ว่าแบบไหนกันแน่ที่เรียกว่าคำซ้อน เพราะภาษาไทยเรานั้นก็มีคำมากมายเหลือเกิน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องคำซ้อนให้มากขึ้น รับรองว่าไม่ยากแน่นอนค่ะ   คำซ้อน     ความหมายของคำซ้อน   คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยคำที่นำมาซ้อนกันจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน ตรงข้ามกัน หรืออาจมีเสียงที่คล้ายกัน

การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เขียนอย่างไรให้ถูกกาลเทศะ

​จดหมายเป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้อง เหมาะสมแก่ผู้รับ การเขียนจดหมายนั้นมีหลายแบบ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีเขียนจดหมายอย่างให้ถูกต้องและถูกกาลเทศะมากที่สุด เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนจดหมายถึงญาติผู้ใหญ่   การเขียนจดหมาย   1. ผู้ส่งจดหมาย 2. จดหมาย 3. ผู้รับจดหมาย   ตัวอย่างการเขียนจดหมาย   ​

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1