แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะเป็นการ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งอสมการ เป็นประโยคที่แสดงถึงการไม่เท่ากัน โดยมีวิธีการหาคำตอบคล้ายๆกับสมการ น้องๆสามารถศึกษาบทความเรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อศึกษาวิธีการแก้สมการและนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้อสมการเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว⇐⇐

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

       อสมการ (inequality) เป็นประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  <, >, ≤, ≥ หรือ   แสดงความสัมพันธ์ 

       อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว (linear inequality with one variable)  เป็นอสมการที่มีตัวแปรเพียงตัวแปรเดียวและตัวแปรนั้นมีเลขชี้กำลังหนึ่ง

<   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่า หรือไม่ถึง

>   แทนความสัมพันธ์มากกว่า หรือเกิน

≤   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ

 แทนความสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับ

≠  แทนความสัมพันธ์ไม่เท่ากับ หรือ ไม่เท่ากัน

เช่น

    • 5  >  2   อ่านว่า  5  มากกว่า  2
    • x  <  4   อ่านว่า  x น้อยกว่า  4
    • x + 3 12  อ่านว่า x + 3 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 หมายถึง  x + 3 < 12  หรือ  x + 3  =  12  อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า x + 3  ไม่เกิน  12 
    • 8 – y 17  อ่านว่า  8 – y  มากกว่าหรือเท่ากับ 17  หมายถึง  8 – y > 17 หรือ   8 – y   =  17  อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า  8 – y  ไม่น้อยกว่า 17
    • x + 5 9  อ่านว่า   x + 5  ไม่เท่ากับ 9

ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1  จงเติมเครื่องหมาย  ü หน้าข้อประโยคที่เป็นอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และเครื่องหมาย û หน้าข้อประโยคที่ไม่เป็นอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดยว

          …….û…… 1)    4x + 4 = 8                    ……..ü……. 6)    7 + 2B < 20

          …….ü…… 2)   3(x – 1) 12                 ………û…… 7)    y2 = 25

          …….ü…… 3)    5x + 2 x – 5              ……..û……. 8)    y2 – 2 22

          …….ü…… 4)    –2x  + 3 > 25               ……..û……. 9)    x – 3 = 17

          ……..û….. 5)    4 – x  = – (x – 4)           …….ü…… 10)    x ÷ 8 < 16

ตัวอย่างที่ 2  จงเขียนประโยคสัญลักษณ์แทนประโยคภาษาในแต่ละข้อต่อไปนี้ (ให้ x แทนจำนวนจำนวนหนึ่ง )

1.  ผลบวกของจำนวนจำนวนหนึ่งกับสองมากกว่ายี่สิบ

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   x + 2 > 20

2.  สองเท่าของจำนวนจำนวนหนึ่งน้อยกว่าหรือเท่ากับสี่สิบ

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   2x 40

3.  ผลบวกของจำนวนจำนวนหนึ่งกับสิบห้าน้อยกว่ายี่สิบเจ็ด

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   x + 15 < 27

4.  เศษสี่ส่วนเจ็ดของ x มีค่าไม่น้อยกว่า 10

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   \frac{4}{7}≥  10

5.  สามเท่าของจำนวนจำนวนหนึ่งมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับสิบ

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้  3x 10

6.  สี่เท่าของจำนวนๆหนึ่งบวกด้วย 9 มีค่าไม่เท่ากับ 20

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้  4x + 9  20

คลิปวิดีโอ อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

พาราโบลา

พาราโบลา

พาราโบลา พาราโบลา คือเซตของจุดบนระนาบมีระยะห่างจากจุดโฟกัส (focus) เท่ากับระยะห่างจากเส้นไดเรกตริกซ์ (directrix) พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่จุดกำเนิด กราฟของพาราโบลาจะมีลักษณะคล้ายระฆัง ตอนม.3 น้องๆเคยเห็นทั้งพาราโบลาหงายและคว่ำแล้ว แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับพาราโบลาตะแคงซ้ายและขวา สามารถเขียนเป็นตารางให้เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ ข้อสังเกต  จะเห็นว่าถ้าแกนสมมาตรคือแกน y รูปแบบสมการของพาราโบลา y จะมีเลขชี้กำลังเป็น 1  สมการเส้นไดเรกตริกซ์ก็จะเกี่ยวข้องกับ y เช่นเดียวกับแกนสมมาตรเป็นแกน x รูปแบบสมการของพาราโบลา x

ารบวก-ลบ-คูณ-หารจำนวนเต็ม

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลายและอธิบายไว้อย่างละเอียด โดยก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้าม และ ค่าสัมบูรณ์ เพื่อใช้ในการบวก ลบ จำนวนเต็ม ซึ่งมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้ การบวกจำนวนเต็ม การบวกจำนวนเต็มบวก โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ให้น้องๆทบทวนการหาค่าสัมบูรณ์ ดังนี้ |-12|=   12 |4|=   4

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1