แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

 

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ

 

1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้

ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน

  2. ฝนตก

     ผล    เดชาไม่ไปโรงเรียน

ข. เหตุ 1. รัตนาขยันเรียน หรือรัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

  2. รัตนาไม่ขยันเรียน

      ผล  รัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

พิจารณาว่า ก และ ข สมเหตุสมผลหรือไม่

พิจารณา ก เหตุที่ 1 ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน เขียนเป็นแผนภาพจะได้ ดังนี้
แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

จะเห็นว่า ถ้าฝนตก สามารถเป็นไปได้ 2 กรณี คือ 1. เดชาไปโรงเรียน และ 2. เดชาไม่ไปโรงเรียน

ดังนั้น ก ไม่สมเหตุสมผล

 

พิจารณา ข เหตุที่ 1 รัตนาขยันเรียน หรือรัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

จะเห็นว่า ถ้ารัตนาไม่ขยันเรียนแล้ว จะเป็นไปได้ 2 กรณี คือ รัตนาสอบชิงทุนได้ กับรัตนาสอบชิงทุนไม่ได้

ดังนั้น ข ไม่สมเหตุสมผล

 

2.) พิจารณาข้อความต่อไปนี้

เหตุ 1. นกเป็นสิ่งมีชีวิต

2. ปลาเป็นสิ่งมีชีวิต

3. คนเป็นสิ่งมีชีวิต

ผล  สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต

ข้อความดังกล่าวเป็นการให้เหตุผลแบบใด

ตอบ  การให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะเป็นการสรุปผลจากประสบการณ์หรือสิ่งที่สังเกตได้

 

3.)   จงพิจารณาเหตุต่อไปนี้

1) ทุกคนที่ชอบกินผลไม้จะชอบกินผัก
2) ทุกคนที่ชอบรสหวานจะชอบกินผลไม้
3) ขาวไม่ชอบกินผัก
4) ดาชอบกินผลไม้

ผลสรุปในข้อใดต่อไปนี้ทำให้การให้เหตุผลสมเหตุสมผล

1. ขาวไม่ชอบรสหวาน

2. ขาวชอบกินผลไม้

3. ดาชอบรสหวาน

4. ดาไม่ชอบรสหวาน

5. ดาไม่ชอบกินผัก

เราจะใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ในการพิจารณาการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

พิจารณา ข้อ 2 ขาวชอบผลไม้ ข้อนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากขาวอยู่นอกวงกลมของชอบกินผัก ดังนั้นขาวไม่มีทางที่จะชอบกินผลไม้แน่นอน

พิจารณา ข้อ 3 ดาชอบรสหวาน ข้อนี้ไม่สมเหตุสมผล เพราะ จากเหตุที่บอกว่า ดาชอบกินผลไม้ ทำให้เกิดกรณีได้ 2 กรณี คือ ดาชอบรสหวานกับดาไม่ชอบรสหวาน

พิจารณาข้อ 4 ดาไม่ชอบรสหวาน ข้อนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้เหมือนกับข้อ 3

พิจารณาข้อ 5 ดาไม่ชอบกินผัก ข้อนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะดาชอบกินผลไม้ แล้วคนที่ชอบกินผลไม้ทุกคนชอบกินผัก ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ดาจะไม่ชอบกินผัก

 

4.)

เหตุ 1. นักเรียนชั้น ม.6 ทุกคนว่ายน้ำเป็น

2. คนที่ว่ายน้ำเป็น บางคนขี่จักรยานเป็น บางคนขี่จักรยานไม่เป็น

ถ้าให้ U แทนเซตของคน

A แทนเซตของนักเรียนชั้น ม.6

B แทนเซตของคนที่ขี่จักรยานเป็น

S แทนเซตของคนที่ว่ายน้ำเป็น

ข้อความที่กำหนดให้สอดคล้องกับแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ในข้อใดต่อไปนี้

พิจารณาข้อความที่โจทย์กำหนดให้เป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังนี้

5.) พิจารณาประโยคต่อไปนี้ว่าเป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัยหรือนิรนัย

5.1) เกรดเทอมนี้ไม่ดีหรอก เพราะเทอมที่ผ่านมาเกรดก็ไม่ดี

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะใช้ประสบการณ์จากเทอมก่อนๆมาสรุป

5.2) เทอมนี้ต้องได้เกรดดีแน่ๆ เพราะคนขยันเรียนจะได้เกรดดี แล้วเทอมนี้ฉันก็ขยันเรียน

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบนิรนัย เพราะเรากำหนดไว้แล้วว่า คนขยันเรียนจะได้เกรดดี ดังนั้นถ้าเราขยันเรียนต้องได้เกรดดี

5.3) ที่ผ่านมาฉันสังเกตเห็นว่าทุกครั้งที่อากาศร้อนอบอ้าว ฝนจะตกตลอดเลย วันนี้ฝนต้องตกแน่ๆ เพราะอากาศร้อนอบอ้าว

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบนิรนัย เพราะเหมือนเรากำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่อากาศร้อนอบอ้าวฝนจะตก

5.4) ที่ผ่านมาฉันโชคไม่ค่อยดีเลย วันนี้ฉันต้องโชคไม่ดีอีกแน่ๆ

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะใช้ประสบการณ์จากครั้งก่อนๆที่โชคไม่ดี มาสรุปว่าวันนี้ก็ต้องโชคไม่ดีอีก

 

6.) พิจารณาข้อความที่กำหนดให้ แล้วใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัย หาคำตอบ

6.1) 

(1×9) + 2 = 11

(12×9) + 3 = 111

(123×9) + 4 = 1111

(___×__) + __ = _____

ตอบ (1234 × 9) + 5 = 11111

 

6.2)

อีกสามพจน์ต่อไปคือ?

ตอบ 1089 × 5 = 5445 , 1089 × 6 = 6534 , 1089 × 7 = 7623

 

เนื้อหาที่ควรรู้ในการทำโจทย์การให้เหตุผล และวีดิโอเพิ่มเติม

หากน้องๆคนไหนยังรู้สึกว่าตัวเองไม่แม่นเรื่องการให้เหตุผลสามารถเข้าไปดูบทความการให้เหตุผลแบบนิรนัยและอุปนัยพร้อมดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่

>> การให้เหตุผลแบบอุปนัย

>> การให้เหตุผลแบบนิรนัย

>> การตรวจสอบการให้เหตุผล

หรือสามารถดูวีดิโอ เพิ่มเติมข้างล่างนี้ได้เลย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

การบรรยายลักษณะ และ ความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์

การบรรยายลักษณะและความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์ Adjective

ทบทวนความหมายและหน้าที่ของคำคุณศัพท์   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ นั่นเองค่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ขยายในที่นี้เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามหรือสรรพนามเหล่านั้นมีลักษณะยังไง  และในบทนี้ครูจะพาไปดูการใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก (Descriptive Adjective) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   การใช้คำคุณศัพท์ (Adjective)

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

มงคลสูตร

รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย     ประวัติความเป็นมา เรื่อง

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

Tense and time

การใช้ Tenses ในภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา

สวัสดีค่ะนักเรียนม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปรู้จักกับ การใช้ Tense ต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษกัน ก่อนอื่นมารู้จักTenses กันก่อน Tenses อ่านว่า เท้นสฺ ถ้าเป็นคำ Adjective หรือคุณศัพท์จะแปลว่าหนักหนาสาหัส แต่ถ้าเป็นคำนาม (Noun) จะแปลว่า กาลเวลาค่ะ หัวใจของการเรียนเรื่อง Tense คือ กริยา(verb) เมื่อกริยาเปลี่ยนไปเวลาและเงื่อนไขการใช้งานของ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1