การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การสร้างตารางค่าความจริงเป็นการทำความเข้าใจว่าประพจน์จะสามารถเป็นจริงหรือเท็จได้กี่กรณี ถ้าเป็นการบรรยายว่าตัวเชื่อมแต่ละตัวเป็นจริงกรณีไหนและเท็จกรณีไหนอาจจะทำให้น้องๆมองภาพไม่ค่อยออก การทำตารางจะทำให้เห็นภาพง่ายขึ้น เราไปดูเนื้อหาการสร้างตารางค่าความจริงกันเลยค่ะ

การสร้างตารางค่าความจริง

กรณีที่มีประพจน์ 1 ประพจน์ จะมีค่าความจริงที่เป็นไปได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่มีประพจน์ 2 ประพจน์ จะมีค่าความจริงที่เป็นไปได้ 4 กรณี ดังนี้

กรณีที่มีประพจน์ 3 ประพจน์ จะมีค่าความจริงที่เป็นไปได้ 8 กรณี ดังนี้

จากทั้ง 3 กรณีแรก เราจะได้ว่า

กรณีที่มีประพจน์ a ประพจน์ จะมีค่าความจริงที่เป็นไปได้ 2ª กรณี

การสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย “หรือ”

กรณี “หรือ” ถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งเป็นจริง ประพจน์ p∨q จะเป็นจริงทันที

เช่น  ก. 3+2 = 5 หรือ 3>7

สร้างตารางค่าความจริงได้ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ 3+2 =5 หรือ 3>7 มีค่าความจริงเป็นจริง (T)

ข. หินเป็นสิ่งมีชีวิต หรือ เชียงใหม่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย

สร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ หินเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเชียงใหม่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีค่าความจริงเป็นเท็จ(F)

การสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย “และ”

เช่น  ก. จำนวนนับมีค่ามากกว่า 0 และ 1>0

สร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์จำนวนนับมีค่ามากกว่า0 และ 1>0 มีค่าความจริงเป็นจริง

ข.) 2 หาร 20 ลงตัว และ 2 เป็นจำนวนคี่

สร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ 2 หาร 20ลงตัว และ 2 เป็นจำนวนคี่ มีค่าความจริงเป็นเท็จ

การสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย “ถ้า…แล้ว…”

เช่น ก. ถ้า 2 เป็นจำนวนคี่ แล้ว ½ = 0.5

สามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ ถ้า 2 เป็นจำนวนคี่ แล้ว ½ = 0.5 มีค่าความจริงเป็นจริง

ข. 1<2 แล้ว -1>2

สามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ 1<2 แล้ว -1>2 มีค่าความจริงเป็นเท็จ

การสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย “ก็ต่อเมื่อ”

ตัวอย่างการสร้างตารางค่าความจริง

 

1.) สร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ (p→q)∨r

วิธีทำ

  •  ทำในวงเล็บก่อน จะได้ค่าความจริง p→q ตามตาราง
  • จากนั้นนำค่าความจริงที่ได้ใน ช่อง p→q ไปเชื่อมกับ r จะได้ค่าความจริงตามตารางช่อง (p→q)∨r

 

2.) สร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ (p∧q)∨∼p

วิธีทำ

  • ทำจากข้างในวงเล็บ คือพิจารณา (p∧q) 
  • พอได้ค่าความจริงมาแล้วก็มาพิจารณา (p∧q)∨∼p ได้ค่าความจริงดังตาราง

3.) จงสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ (p→q)↔(p∨q)

วิธีทำ

  • อาจจะเริ่มพิจารณาจาก (p→q) แล้วไปพิจารณา (p∨q)
  • พอได้ค่าความจริงของทั้งสองประพจน์แล้ว เราจะพิจารณา (p→q)↔(p∨q) แล้วจะได้ตารางค่าความจริง ดังตาราง

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

ศิลาจารึก วรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนไทย

ศิลาจารึก เป็นวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปในสมัยสุโขทัยเพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนแผ่นดิน ถ้าอยากรู้แล้วว่าแผ่นหินที่ว่านี่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ศิลาจารึกหลักที่ 1 ประวัติความเป็นมา     ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกโดยพ่อขุนรามคำแหง ใช้อักษรไทย สุโขทัย หรือ ลายสือไทย

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

เสียงพยัญชนะ

การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำที่ออกเสียงยากในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การออกเสียงพยัญชนะต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่าออกเสียง “ยาก” ในภาษาอังกฤษ จะมีตัวอะไรกันบ้างนั้นเราไปดูกันเลยครับ

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions

การใช้ Yes/No Questions  และ Wh-Questions

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม 2กลุ่ม ได้แก่ “การใช้  Yes/No Questions  และ Wh-Questions” หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Yes/No Questions คืออะไร?   Yes/ No Questions ก็คือ กลุ่มคำถามที่ต้องการคำตอบแน่ชัดว่า Yes ใช่  หรือ

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1