การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ
การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบได้หลายวิธี วิธีที่นิยมที่สุดคือ การตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยเราจะวาดแผนภาพตามเหตุทุกกรณีแล้วเราจะพิจารณาว่าเป็นไปตามผลสรุปที่โจทย์ให้มาหรือไม่

การให้เหตุผล

สมเหตุสมผล เมื่อแผนภาพแสดงผลสรุปตามที่กำหนดมา

ไม่สมเหตุสมผล เมื่อมีบางกรณีทำให้ผลสรุปไม่จริง

แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์กับประโยคที่เจอบ่อย

ให้ A และ B เป็นเซตใดๆ

1.) สมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

แปล ทุกตัวของ A อยู่ใน B

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

2.) ไม่มีสมาชิกใดใน A ที่เป็นสมาชิกของ B

แปล ไม่มี A ที่อยู่ใน B

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

3.) สมาชิกบางตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

แปล มีบางตัวของ A ที่อยู่ใน B

 

4.) มีสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B

แปล มีบางตัวของ A ที่ไม่อยู่ใน B แสดงว่า บางตัวก็ยังอยู่ใน B

 

ตัวอย่างการตรวจสอบความสมเหตุสมผล

1.)

เหตุ 1. นักกีฬาทุกคนสุขภาพดี

2. แป้งสุขภาพดี

ผล    แป้งเป็นนักกีฬา

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ พิจารณาว่าเซตไหนควรจะเป็นเซตที่ใหญ่ที่สุด

จากเหตุที่ 1 นักกีฬา “ทุกคน” สุขภาพดี แสดงว่า นักกีฬาจะต้องอยู่ในเซตของสุขภาพดี

ให้ H เป็นเซตของสุขภาพดี และ S เป็นเซตของนักกีฬา

จากเหตุที่ 1 นำมาเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้

พิจารณาเหตุที่ 2 แป้งสุขภาพดี

การที่แป้งสุขภาพดีนั้น แน่นอนว่าต้องอยู่ใน H แน่ๆ แต่แป้งอาจจะอยู่ใน S หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ผลสรุปที่บอกว่า แป้งเป็นนักกีฬาจึง ไม่สมเหตุสมผล เพราะแป้งไม่เป็นนักกีฬาก็ได้

 

2.)

เหตุ 1. สัตว์มีปีกบางตัวบินได้

2. สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา

3. เป็ดเป็นสัตว์มีปีก

ผล  เป็ดมี 2 ขา

เนื่องจากข้อนี้ เหตุที่ 1 ไม่มีคำว่า “ทุก” แต่มีคำว่า “บางตัว” ดังนั้น จะได้แผนภาพดังนี้การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

เหตุที่ 2 สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา แสดงว่าเซตของ มีปีกอยู่ในเซตบอง มี 2 ขา เขียนแผนภาพได้ดังนี้

เหตุที่ 3 เป็นเป็นสัตว์มีปีก เขียนแผนภาพได้ดังนี้

จะเห็นว่า เป็ดสามารถอยู่ได้ 2 ที่ คือ อาจจะบินได้ หรือไม่ได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน เป็ดก็ยังอยู่ในเซตของมี 2 ขาอยู่ดี ดังนั้น ข้อนี้จึง สมเหตุสมผล

 

3.)

เหตุ 1. สัตว์มีปีกบางตัวบินได้

2. สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา

3. เป็ดเป็นสัตว์มีปีก

ผล  เป็ดบินได้

โจทย์ข้อนี้จะเห็นว่าคือโจทย์เดียวกันกับข้อ 2 แต่ผลสรุปต่างกัน พิจารณาแผนภาพ ดังนี้

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จะเห็นว่าเป็ดมี 2 จุด คืออยู่นอกวงกลมที่บินได้กับอยู่ในวงกลมบินได้ ดังนั้น ผลสรุปนี้ ไม่สมเหตุสมผล เพราะเป็ดอาจจะบินได้หรือบินไม่ได้ก็ได้

 

4.)

เหตุ 1. ทุกคนที่อ่านหนังสือ ทำข้อสอบได้

2. ธิดาสอบได้

ผล ธิดาอ่านหนังสือ

พิจารณาเหตุที่ 1 ทุกคนที่อ่านหนังสือ ทำข้อสอบได้ เขียนเป็นแผนภาพๆได้ดังนี้

จากนั้นพิจารณาเหตุที่ 2 ธิดาสอบได้ เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

กรณีที่ 1 

 

กรณีที่ 2 

จากรูปจะเห็นว่าเป็นไปได้ 2 กรณี จะได้ว่า ธิดาไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือก็ได้

ดังนั้น การให้เหตุผลข้อนี้ ไม่สมเหตุสมผล

 

5.)

เหตุ 1. ไม่มีคนที่ได้เกรด 4 ที่ขี้เกียจ

2. สมาร์ทไม่ขี้เกียจ

ผล สมาร์ทได้เกรด 4

พิจารณาเหตุที่ 1 ไม่มีคนคนที่ไดเเกรด 4 ที่ขี้เกียจ เมื่อวาดเป็นแผนภาพจะได้เป็นวงกลม 2 วง ที่ไม่ซ้อนทับกัน

  การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

พิจารณาเหตุที่ 2 สมาร์ทไม่ขี้เกียจ เป็นได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1     

กรณีที่ 2     

จะเห็นว่าการที่สมาร์ทไม่ขี้เกียจไม่จำเป็นจะต้องได้เกรด 4

ดังนั้นการให้เหตุผลข้อนี้ ไม่สมเหตุสมผล

 

วีดีโอ การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ “การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (Imperative sentence in daily life)” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ประเภทของประโยค ” Imperative sentence “     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base

CS profile

ประโยคความรวม (Compound Sentence)-2

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย   ประโยคความรวม (Compound Sentence)   ประโยคความรวม ภาษาอังกฤษคือ Compound Sentence อ่านว่า เคิมพาวดฺ เซนเท่นสฺ เป็นประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยคโดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น for, and,

การบวกและการลบเอกนาม

การบวกและการลบเอกนาม บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จักเอกนามและเข้าใจวิธีการบวกลบเอกนามได้อย่างง่ายดาย ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างการบวกและการลบเอกนามมานำเสนออกในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เอกนาม เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก ค่าคงตัว คือ ตัวเลข ตัวแปร คือ สัญลักษณ์ของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ มักเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ x, y เอกนาม ประกอบด้วย 2

ลำดับเรขาคณิต

ลำดับเรขาคณิต

ลำดับเรขาคณิต ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่เป็นจำนวนเท่า ซึ่งจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นเรียกว่า อัตราส่วนร่วม เขียนแทนด้วย r โดยที่ r = พจน์ขวาหารด้วยพจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง ตัวอย่างของลำดับเรขาคณิต 2, 4, 8, 16, 32, … จะได้ว่า 

ศิลาจารึก วรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนไทย

ศิลาจารึก เป็นวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปในสมัยสุโขทัยเพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนแผ่นดิน ถ้าอยากรู้แล้วว่าแผ่นหินที่ว่านี่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ศิลาจารึกหลักที่ 1 ประวัติความเป็นมา     ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกโดยพ่อขุนรามคำแหง ใช้อักษรไทย สุโขทัย หรือ ลายสือไทย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1