ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่ ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)” แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ
โดยที่ n(E) แทน จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดของเหตุการณ์ที่เราสนใจ
n(S) แทน จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นได้
P(E) แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ดังนั้น P(E) =
ข้อควรจำ
- 0 ≤ P(E) ≤ 1
- ถ้า P(E) = 0 เหตุการณ์นั้นๆ จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย
- ถ้า P(E) = 1 เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นแน่นอน
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างที่ 1 จากการโยนลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
1) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11
2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่
3) เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 อย่างน้อยหนึ่งลูก
วิธีทำ หา S จากการทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ได้ดังนี้
S = { (1,1), (1,2), (1,3), (1,4), (1,5), (1,6), (2, 1), (2, 2), (2, 3), (2, 4), (2, 5), (2, 6),
(3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5), (3, 6), (4, 1), (4, 2), (4, 3), (4, 4), (4, 5), (4, 6),
(5, 1), (5, 2), (5, 3), (5, 4), (5, 5), (5, 6), (6, 1), (6, 2), (6, 3), (6, 4), (6, 5), (6, 6)}
n(S) = 36
1) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11
อธิบายเพิ่มเติม : ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11 หมายความว่า เมื่อนำแต้มของลูกเต๋า 2 ลูกมาบวกกัน แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11 และมากกว่า 11
ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11
E1 = { (5, 6) , (6, 5 ) , ( 6, 6) }
n (E1) = 3
P (E1) = = =
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11 เท่ากับ
2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่
อธิบายเพิ่มเติม : ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่ จะต้องเกิดจากแต้มคี่ทั้งสองลูกและแต้มคู่ทั้งสองลูก
ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่
E2 = { (1,1) , (1,3) , (1,5) , (2,2) , (2,4) , (2,6) , (3,1) , (3,3) , (3,5) , (4,2) , (4,4) , (4,6) ,
(5,1) ,(5,3) ,(5,5),(6,2) ,(6,4) ,(6,6) }
n(E2) = 18
P(E2) = =
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่ เท่ากับ
3) เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 อย่างน้อยหนึ่งลูก
อธิบายเพิ่มเติม : ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 อย่างน้อยหนึ่งลูก หมายความว่า ขึ้นแต้ม 1 หนึ่งลูกหรือสองลูกก็ได้
ให้ E3 แทน เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 อย่างน้อยหนึ่งลูก
E3 = { (1,1) ,(1,2) ,((1,3) ,(1,4) ,(1,5) ,(1,6) ,(2,1) ,(3,1) ,(4,1) ,(5,1) ,(6,1) }
n(E3) = 11
P(E3) =
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 อย่างน้อยหนึ่งลูก เท่ากับ
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างที่ 2 ครอบครัวครอบครัวหนึ่ง มีบุตร 2 คน จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
1) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง
2) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน
3) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน
4) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้
วิธีทำ ให้ ช แทน บุตรชาย
ญ แทน บุตรหญิง
S = {(ช, ช), (ช, ญ), (ญ, ช), (ญ, ญ)}
n(S) = 4
โดยที่ สมาชิกตัวแรกของคู่อันดับแสดงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของการมีบุตรคนแรก และสมาชิกตัวที่สองของคู่อันดับแสดงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของการมีบุตรคนที่สอง
1) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง
ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง
E1 = {(ช, ญ)}
n (E1) = 1
P (E1) = =
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง เท่ากับ
2) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน
ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน
E2 = { (ช, ญ) , (ญ, ช)) }
n(E2) = 2
P(E2) = =
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน เท่ากับ
3) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน
เนื่องจากครอบครัวนี้มีบุตรเพียง 2 คนเท่านั้น เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน จึงเป็น 0
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน เท่ากับ 0
4) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้
ให้ E3 แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้
E3 = {(ช, ช), (ช, ญ), (ญ, ช), (ญ, ญ)}
n(E3) = 4
P(E3) = = 1
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้ เท่ากับ 1
ตัวอย่างที่ 3
ตัวอย่างที่ 3 โยนเหรียญ 1 เหรียญ 3 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
1) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย
2) เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน
3) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ
วิธีทำ ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทดลองสุ่มนี้มี 8 แบบ ดังนี้
S = {HHH, HHT, HTH, HTT, THH, THT, TTH , TTT}
n(S) = 8
1) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย
ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย
E1 = {HHH, HHT, HTH , THH}
n (E1) = 4
P (E1) = = =
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย เท่ากับ
2) เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน
ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน
E2 = { HTT, TTH , TTT }
n(E2) = 3
P(E2) =
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน เท่ากับ
3) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ
อธิบายเพิ่มเติม : เหรียญออกหัวอย่างน้อยหนึ่งเหรียญ หมายความว่า เหรียญออกหัวหนึ่งเหรียญ สองเหรียญหรือสามเหรียญก็ได้
ให้ E3 แทน เหตุการณ์ที่ออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ
E3 = {HHH, HHT, HTH, HTT, THH, THT , TTH}
n(E3) = 7
P(E3) =
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ เท่ากับ
ตัวอย่างที่ 4
ตัวอย่างที่ 4 สุ่มหยิบลูกบอล 1 ลูก จากกล่องที่มีลูกบอลสีขาว 5 ลูก จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
1) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว
2) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน
วิธีทำ กำหนดให้ ข₁, ข₂, ข₃, ข₄ และ ข₅ แทนลูกบอลสีขาวทั้ง 5 ลูก
ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทดลองสุ่มมี 5 แบบ คือ ข₁, ข₂, ข₃, ข₄ หรือ ข₅
นั่นคือ จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เท่ากับ 5 หรือ n(S) = 5
1) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว
เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว มีผลลัพธ์ คือ ข₁, ข₂, ข₃, ข₄ หรือ ข₅
จะได้ จำนวนผลลัพธ์ของเหตุการณ์เป็น 5 หรือ n(E) = 5
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว เท่ากับ = 1 หรือ P(E) = 1
2) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน
เนื่องจากไม่มีลูกบอลสีน้ำเงินอยู่ภายในกล่อง
จะได้ จำนวนผลลัพธ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน เป็น 0
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน เท่ากับ 0
จาก ตัวอย่างที่ 4 จะสังเกตเห็นว่าเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาวเป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน มีความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ เท่ากับ 1 และเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงินเป็น เหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นแน่นอน มีความน่าจะเป็น เท่ากับ 0
วิดีโอ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์