จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ และเลขยกกำลัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ หรือราก เขียนแทนด้วย \sqrt[n]{x} อ่านว่า รากที่ n ของ x หรือ กรณฑ์ที่ n ของ x

เราจะบอกว่า จำนวนจริง a เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ a^{n} = x

เช่น

2 เป็นรากที่ 2 ของ 4 เพราะ 2²  = 4 นั่นคือ \sqrt{4} = 2  (รากที่สองของ 4 คือ 2 )

-2 เป็นรากที่ 2 ของ 4 เพราะ (-2)² = 4 นั่นคือ \sqrt{4} = -2 (รากที่สองของ 4 คือ -2)

ดังนั้น จะได้ว่า รากที่สองของ 4 คือ ±2 หรือเขียนอีกอย่างคือ \sqrt{4} = \pm 2 นั่นเอง

 

**รากที่ 2 เรานิยมใช้ \sqrt{x} แต่ถ้าเป็นรากที่ n เมื่อ n มากกว่า 2 เราจะใช้ \sqrt[n]{x} **

เช่น รากที่ 3 ของ x เขียนได้ดังนี้ \sqrt[3]{x}

สมบัติของ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

ให้ k, m, n เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่าหรือเท่ากับ 2

1.)  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

เช่น  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

 

2.)  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

เช่น  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

 

3.)  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์  ; y ≠ 0

เช่น  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

 

4.)  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

เช่น  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

 

5.)  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

เช่น  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

 

**ถ้า n เป็นจำนวนเต็มบวกที่เป็นเลขคู่ ตัวที่อยู่ใน ราก หรือ √‾ ต้องเป็นจำนวนจริงที่ไม่เป็นลบ

แต่ถ้า n เป็นจำนวนเต็มบวกที่เป็นเลขคี่ ตัวที่อยู่ในราก จะเป็นจำนวนจริงใดๆ**

 

จำนวนจริงในรูปเลขยกกำลัง

จำนวนจริงในรูปเลขยกกำลัง จะเขียนอยู่ในรูป xª เมื่อ x เป็นจำนวนจริงใดๆ และ a เป็นจำนวนเต็มบวก

xª = x⋅x⋅x⋅…⋅x (a ครั้ง)ฃ

x เป็นเลขฐาน

a เป็นเลขชี้กำลัง

เช่น 5³  : 5 เป็นเลขฐาน และ 3 เป็นเลขชี้กำลัง เป็นต้น

สมบัติของเลขยกกำลัง

ให้ x, y เป็นจำนวนจริงใดๆ m, n เป็นจำนวนเต็มบวก

1.)  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์  (เลขฐานเหมือนกัน เมื่อคูณกันสามารถนำเลขชี้กำลังมาบวกกันได้)

เช่น  2^5+2^7=2^{5+7}=2^{12}

 

2.)  (xy)^a = x^ay^a

เช่น  (xy)^2=x^2y^2

 

3.)  (x^m)^n = x^{mn}

เช่น  (x^2)^3=x^{2\times 3}=x^6

 

4.)  \frac{x^m}{x^n} = x^{m-n}

เช่น  \frac{x^5}{x^3}=x^{5-3}=x^2

 

5.) x^{m}=x^{n} ก็ต่อเมื่อ m = n

เช่น  2^{x} = 2^{4}  ดังนั้น  x = 4

 

ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนจริงที่มีเลขชี้กำลังกับจำนวนจริงในรูปกรณฑ์

 

ให้ m, n เป็นจำนวนเต็มบวก โดยที่ n มากกว่าหรือเท่ากับ 2 และให้ x เป็นจำนวนจริงที่ไม่เป็นลบ

จะได้ว่า

1.)  \sqrt[n]{x}=x^\frac{1}{n}

2.)  จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

3.)   x^{\frac{m}{n}} =(x^m)^\frac{1}{n}=\sqrt[n]{x^m}

จากข้อ 2 และ 3 จะได้ว่า จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

การหารากที่สองของจำนวนที่อยู่ในรูป x\pm 2\sqrt{y}

ให้ a, b เป็นจำนวนจริงบวกที่ a + b = x และ ab = y จะได้ว่า

1.) รากที่สองของ x+2\sqrt{y}  คือ  \pm (\sqrt{a}+\sqrt{b}) นั่นคือ \sqrt{x+2\sqrt{y}} = \pm (\sqrt{a} +\sqrt{b})

2.) รากที่สองของ x-2\sqrt{y}  คือ \pm (\sqrt{a}-\sqrt{b}) นั่นคือ \sqrt{x-2\sqrt{y}} = \pm (\sqrt{a} -\sqrt{b})

 

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

 

1.) จงหาค่าของ \sqrt{12}+\sqrt{27}

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

2.) จงหาค่าของ \frac{2^{-3}+3^{-4}}{9^{-2}+8^{-1}}

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์

3.) จงหารากที่สองของ 13+\sqrt{88}

การหารากที่สอง

4.) หาค่า x ที่ทำให้ (\sqrt{\frac{8}{125}})^{^4}=(\frac{16}{625})^{\frac{1}{x}}

จำนวนจริงในรูปเลขยกกำลัง

 

วีดิโอที่เกี่ยวข้องกับ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ และจำนวนจริงในรูปเลขยกกำลัง

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

present progressive

Present Progressive พร้อมโครงสร้าง และวิธีใช้

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Present Progressive ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Tense ที่สำคัญเช่นกันในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

สมบัติการคูณจำนวนจริง

สมบัติการคูณจำนวนจริง

จากบทความก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องสมบัติการบวกจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้พี่ก็จะพูดถึงสมบัติการคูณจำนวนจริงซึ่งมีเนื้อหาคล้ายๆกันกับการบวก และมีเพิ่มสมบัติการแจกแจงเข้ามา เนื้อหาเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ในการเรียนเนื้อหาบทต่อๆไป เมื่อน้องๆอ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะเรียนเนื้อหาบทต่อๆไปได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

ฟังก์ชันผกผัน

ฟังก์ชันผกผัน ฟังก์ชันผกผัน หรืออินเวอร์สฟังก์ชัน เขียนแทนด้วย เมื่อ เป็นฟังก์ชัน จากที่เรารู้กันว่า ฟังก์ชันนั้นเป็นความสัมพันธ์ ดังนั้นฟังก์ชันก็สามารถหาตัวผกผันได้เช่นกัน แต่ตัวผกผันนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฟังก์ชันเสมอไป เพราะอะไรถึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นฟังก์ชัน เราลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ ให้ f = {(1, 2), (3, 2), (4, 5),(6, 5)}  จะเห็นว่า f เป็นฟังก์ชัน

รู้จักอาหารชาววังโบราณผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวันนี้อยากให้น้อง ๆ ทานอาหารกันให้อิ่มก่อน เพราะว่าครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาหารชาววังทั้งของหวานอาหารคาวสารพัดเมนู ในบทเรียนวรรณคดีอันโด่งดังอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาต้องได้เรียนอย่างแน่นอน รับรองว่าถ้าเรียนเรื่องนี้จบแล้ว น้อง ๆ ทุกคนจะได้รู้จักอาหารโบราณน่าทานอีกหลากหลายเมนูเลย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า     ประวัติความเป็นมา ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาหารต่าง ๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เราจะขอพาน้อง ๆ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1