แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

 

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ

 

1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้

ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน

  2. ฝนตก

     ผล    เดชาไม่ไปโรงเรียน

ข. เหตุ 1. รัตนาขยันเรียน หรือรัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

  2. รัตนาไม่ขยันเรียน

      ผล  รัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

พิจารณาว่า ก และ ข สมเหตุสมผลหรือไม่

พิจารณา ก เหตุที่ 1 ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน เขียนเป็นแผนภาพจะได้ ดังนี้
แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

จะเห็นว่า ถ้าฝนตก สามารถเป็นไปได้ 2 กรณี คือ 1. เดชาไปโรงเรียน และ 2. เดชาไม่ไปโรงเรียน

ดังนั้น ก ไม่สมเหตุสมผล

 

พิจารณา ข เหตุที่ 1 รัตนาขยันเรียน หรือรัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้

จะเห็นว่า ถ้ารัตนาไม่ขยันเรียนแล้ว จะเป็นไปได้ 2 กรณี คือ รัตนาสอบชิงทุนได้ กับรัตนาสอบชิงทุนไม่ได้

ดังนั้น ข ไม่สมเหตุสมผล

 

2.) พิจารณาข้อความต่อไปนี้

เหตุ 1. นกเป็นสิ่งมีชีวิต

2. ปลาเป็นสิ่งมีชีวิต

3. คนเป็นสิ่งมีชีวิต

ผล  สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต

ข้อความดังกล่าวเป็นการให้เหตุผลแบบใด

ตอบ  การให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะเป็นการสรุปผลจากประสบการณ์หรือสิ่งที่สังเกตได้

 

3.)   จงพิจารณาเหตุต่อไปนี้

1) ทุกคนที่ชอบกินผลไม้จะชอบกินผัก
2) ทุกคนที่ชอบรสหวานจะชอบกินผลไม้
3) ขาวไม่ชอบกินผัก
4) ดาชอบกินผลไม้

ผลสรุปในข้อใดต่อไปนี้ทำให้การให้เหตุผลสมเหตุสมผล

1. ขาวไม่ชอบรสหวาน

2. ขาวชอบกินผลไม้

3. ดาชอบรสหวาน

4. ดาไม่ชอบรสหวาน

5. ดาไม่ชอบกินผัก

เราจะใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ในการพิจารณาการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

พิจารณา ข้อ 2 ขาวชอบผลไม้ ข้อนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากขาวอยู่นอกวงกลมของชอบกินผัก ดังนั้นขาวไม่มีทางที่จะชอบกินผลไม้แน่นอน

พิจารณา ข้อ 3 ดาชอบรสหวาน ข้อนี้ไม่สมเหตุสมผล เพราะ จากเหตุที่บอกว่า ดาชอบกินผลไม้ ทำให้เกิดกรณีได้ 2 กรณี คือ ดาชอบรสหวานกับดาไม่ชอบรสหวาน

พิจารณาข้อ 4 ดาไม่ชอบรสหวาน ข้อนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้เหมือนกับข้อ 3

พิจารณาข้อ 5 ดาไม่ชอบกินผัก ข้อนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะดาชอบกินผลไม้ แล้วคนที่ชอบกินผลไม้ทุกคนชอบกินผัก ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ดาจะไม่ชอบกินผัก

 

4.)

เหตุ 1. นักเรียนชั้น ม.6 ทุกคนว่ายน้ำเป็น

2. คนที่ว่ายน้ำเป็น บางคนขี่จักรยานเป็น บางคนขี่จักรยานไม่เป็น

ถ้าให้ U แทนเซตของคน

A แทนเซตของนักเรียนชั้น ม.6

B แทนเซตของคนที่ขี่จักรยานเป็น

S แทนเซตของคนที่ว่ายน้ำเป็น

ข้อความที่กำหนดให้สอดคล้องกับแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ในข้อใดต่อไปนี้

พิจารณาข้อความที่โจทย์กำหนดให้เป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังนี้

5.) พิจารณาประโยคต่อไปนี้ว่าเป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัยหรือนิรนัย

5.1) เกรดเทอมนี้ไม่ดีหรอก เพราะเทอมที่ผ่านมาเกรดก็ไม่ดี

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะใช้ประสบการณ์จากเทอมก่อนๆมาสรุป

5.2) เทอมนี้ต้องได้เกรดดีแน่ๆ เพราะคนขยันเรียนจะได้เกรดดี แล้วเทอมนี้ฉันก็ขยันเรียน

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบนิรนัย เพราะเรากำหนดไว้แล้วว่า คนขยันเรียนจะได้เกรดดี ดังนั้นถ้าเราขยันเรียนต้องได้เกรดดี

5.3) ที่ผ่านมาฉันสังเกตเห็นว่าทุกครั้งที่อากาศร้อนอบอ้าว ฝนจะตกตลอดเลย วันนี้ฝนต้องตกแน่ๆ เพราะอากาศร้อนอบอ้าว

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบนิรนัย เพราะเหมือนเรากำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่อากาศร้อนอบอ้าวฝนจะตก

5.4) ที่ผ่านมาฉันโชคไม่ค่อยดีเลย วันนี้ฉันต้องโชคไม่ดีอีกแน่ๆ

ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะใช้ประสบการณ์จากครั้งก่อนๆที่โชคไม่ดี มาสรุปว่าวันนี้ก็ต้องโชคไม่ดีอีก

 

6.) พิจารณาข้อความที่กำหนดให้ แล้วใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัย หาคำตอบ

6.1) 

(1×9) + 2 = 11

(12×9) + 3 = 111

(123×9) + 4 = 1111

(___×__) + __ = _____

ตอบ (1234 × 9) + 5 = 11111

 

6.2)

อีกสามพจน์ต่อไปคือ?

ตอบ 1089 × 5 = 5445 , 1089 × 6 = 6534 , 1089 × 7 = 7623

 

เนื้อหาที่ควรรู้ในการทำโจทย์การให้เหตุผล และวีดิโอเพิ่มเติม

หากน้องๆคนไหนยังรู้สึกว่าตัวเองไม่แม่นเรื่องการให้เหตุผลสามารถเข้าไปดูบทความการให้เหตุผลแบบนิรนัยและอุปนัยพร้อมดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่

>> การให้เหตุผลแบบอุปนัย

>> การให้เหตุผลแบบนิรนัย

>> การตรวจสอบการให้เหตุผล

หรือสามารถดูวีดิโอ เพิ่มเติมข้างล่างนี้ได้เลย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

มารยาทในการอ่านที่นักอ่านทุกคนควรรู้

บทเรียนวันนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่มักจะถูกละเลย มองข้ามไป นั่นก็คือเรื่องมารยาทในการอ่านนั่นเองค่ะ น้อง ๆ หลายคนคงสงสัยว่ามารยาทในการอ่านนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้เช่นเดียวกับมารยาทในการฟังและมารยาทในการพูดด้วย เราไปเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อม ๆ เลยดีกว่าค่ะ มารยาทในการอ่าน   ความหมายของมารยาทในการอ่าน มารยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ ส่วนการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง รับรู้เรื่องราวโดยการใช้ตามองแล้วใช้สมองประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ เกิดเป็นการรับรู้และความเข้าใจ มารยาทในการอ่านจึงหมายถึง

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก สัญลักษณ์แทนการบวก หรือ   เรียกว่า ซิกมา ( Sigma ) เราใช้เพื่อลดรูปการบวกกันของตัวเลข เนื่องจากว่าบางทีเป็นการบวกของจำนวนตัวเลข 100 พจน์ ถ้ามานั่งเขียนทีละตัวก็คงจะเยอะไป เราจึงจะใช้เครื่องหมายซิกมามาใช้เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนนั่นเอง เช่น 1 + 2 + 3 + 4 +5  สามารถเขียนแทนด้วย

การวัดพื้นที่ ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้มาตราต่างๆของหน่วยในระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสูตรต่างๆที่ใช้ในการหาพื้นที่ เพื่อให้เราได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1