การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐

หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้

  1. จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ)
  2. ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้
    • มากกว่า (>) เปลี่ยนเป็น น้อยกว่า (<)
    • น้อยกว่า (<) เปลี่ยนเป็น มากกว่า (>)
    • มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) เปลี่ยนเป็น น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤)
    • น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) เปลี่ยนเป็น มากกว่าหรือเท่ากับ (≥)
    • ไม่ท่ากับ (≠) สัญลักษณ์ไม่เปลี่ยน

จากหลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ที่ระบุว่า เมื่อนำจำนวนลบมา คูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้ามนั้น น้องๆมาสังเกตดูว่า ถ้านำจำนวนบวกมา คูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนมั้ย??

จงเติมคำตอบว่าอสมการเป็นจริงหรือเท็จ เมื่อคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงบวก

ข้อ อสมการ อสมการเป็นจริง

หรือเท็จ

ผลคูณ

อสมการเป็นจริง

หรือเท็จ

1

3 < 8

เป็นจริง

3 x 4 < 8 x 4

12 < 32

เป็นจริง
2 –4 ≤ –2

เป็นจริง

(–4) x 4  ≤ (–2) x 4

–16  ≤  –8

เป็นจริง

 

3

–5 < 1 เป็นจริง (–5) x 3 < 1 x 3

–15 < 3

เป็นจริง

 

4

4  ≥  3

เป็นจริง

4 x 5  ≥   3 x 5

20  ≥   15

เป็นจริง

5 3 > –1 เป็นจริง 3 x 12 > (–1) x 12

36 > –12

เป็นจริง

จะเห็นว่าเมื่อคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงบวก อสมการเป็นจริงทุกอสมการ นั่นคือ เมื่อคูณ หรือ หาร ทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงบวก สัญลักษณ์ของอสมการจะไม่เปลี่ยน

ถ้าคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงลบ สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนหรือไม่

ข้อ

อสมการ อสมการเป็นจริง

หรือเท็จ

ผลคูณ อสมการเป็นจริง

หรือเท็จ

  6

3 < 5 เป็นจริง 3 x (–4) < 5 x (–4)

–12 < –20

เท็จ
  7 –4  ≤ –3

เป็นจริง

–4 x (–4)  ≤  –3 x (–4)

16  ≤  12

เท็จ

  8

–5 < 2 เป็นจริง –5 x (–3) < 2 x (–3)

15 < –6

เท็จ
  9 4  ≥  1 เป็นจริง 4 x (–5)  ≥  1 x (–5)

–20  ≥  –5

เท็จ

10 3 > –1 เป็นจริง 3 x (–12)  > –1 x (–12)

 –36 > 12

เท็จ

จะเห็นว่าเมื่อคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงลบ อสมการเป็นเท็จทุกอสมการ นั่นคือ เมื่อคูณ หรือ หาร ทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงลบ สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม เพื่อทำให้อสมการเป็นจริง ซึ่งเป็นจริงตามหลักการข้อที่ 2

วิธีแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ลำดับต่อไป มาเรียนรู้วิธีการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จากตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1  จงหาคำตอบของอสมการ  3x – 2 < 10

จาก   3x – 2 < 10

นำ 2 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้   3x – 2 + 2 < 10 + 2

                      3x < 12

                 3x(¹⁄₃ ) < 12(¹⁄₃ )

                             x < 4

ดังนั้น คำตอบของอสมการ 3x – 2 < 10 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 4

ตัวอย่างที่ 2  จงหาคำตอบของสมการ   –4x + 10  ≤  30

วิธีทำ  จาก  –4x + 10  ≤  30

นำ –10 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้   –4x + 10  + (–10)  ≤  30 + (–10)

                                       –4x  ≤  20

                              –4x(–¹⁄₄ )  ≥  20(–¹⁄₄)

                                         x   ≥  –5

ดังนั้น คำตอบของอสมการ –4x + 10  ≤  30 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ –5

ตัวอย่างที่ 3  จงหาคำตอบของสมการ  2(x – 10) < 4

วิธีทำ  จาก 2(x – 10) < 4

นำ 2 คูณเข้าไปในวงเล็บ

 จะได้   2x – 20  < 4

           2x < 4 + 20 

                           2x < 24 

นำ ¹⁄ ₂ คูณทั้งสองข้างของอสมการ

                 2x (¹⁄ ₂ )  < 24 (¹⁄ ₂)

                            x  <  12

ดังนั้น คำตอบของอสมการ 2(x – 10) < 4 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 12

ตัวอย่างที่ 4  จงหาคำตอบของสมการ  28 – 4x > 20

วิธีทำ  จาก   28 – 4x > 20

นำ –28 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้  28 – 4x – 28 > 20 – 28

                                –4x > –8

นำ –¹⁄₄   คูณทั้งสองข้างของอสมการ

                              –4x (–¹⁄₄ )  < -8 (–¹⁄₄)

                                           x  <  2

ดังนั้น คำตอบของอสมการ 28 – 4x > 20 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 2

ตัวอย่างที่ 5  จงหาคำตอบของสมการ  x – 5  ≥  2x – 7

วิธีทำ  จาก  x – 5  ≥  2x – 7

นำ 7 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้ x – 5 + 7  ≥  2x – 7 + 7

                                    x + 2  ≥  2x

นำ x ลบทั้งสองข้างของอสมการ

                            x + 2 – x  ≥  2x – x

                                       2  ≥ x  หรือ  x  ≤  2  

ดังนั้น คำตอบของอสมการ x – 5  ≥  2x – 7 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2

ตัวอย่างที่ 6  จงหาคำตอบของสมการ 3(x – 7) ≠ 12

วิธีทำ  จาก  3(x – 7) ≠ 12

จะได้    3x – 21 12

นำ 21 บวกทั้งสองข้างของสมการ

 จะได้ 3x – 21 + 21 ≠ 12 + 21

                                3x ≠ 33

                                  x 11

ดังนั้น คำตอบของอสมการ 3(x –7) 12 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 11

ตัวอย่างที่ 7  จงหาคำตอบของสมการ x – 12 ≠ 2x – 4

วิธีทำ  จาก x – 12 ≠ 2x – 4

นำ 4 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้   x – 12 + 4 ≠ 2x – 4 + 4

                          x – 8  ≠  2x

นำ x ลบทั้งสองข้างของอสมการ

                    x – 8 – x  ≠ 2x – x

                               x  ≠   -8

ดังนั้น คำตอบของอสมการ x – 12 ≠ 2x – 4 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น -8

แบบฝึกหัด พร้อมเฉลย

จงแสดงวิธีแก้อสมการต่อไปนี้

1) 5x – 10 ≠ 30
วิธีทำ  จาก  5x – 10 ≠ 30
5x – 10 + 10 ≠ 30 + 10
5x ≠ 40
5x (¹⁄ ₅ ) ≠ 40 (¹⁄ ₅ )
x ≠ 8
2) 2x – 17 -11
วิธีทำ  จาก  2x – 17  -11
2x – 17 + 17
 -11+17
2x
 6
                          x  3
3) 3x + 15 < 30
วิธีทำ  จาก  3x + 15 < 30
3x + 15 – 15 <
 30 – 15
3x <
 15
                          x < 5
4) 10x + 5 ≥ 25
วิธีทำ  จาก  10x +5 ≥ 25
10x + 5 – 5 ≥
 25 – 5
10x ≥
 20
                        x ≥ 2
5) 4x + 10 > 50
วิธีทำ  จาก  4x + 10 > 50
4x + 10 – 10 >
 50 – 10
4x >
 40
                          x > 10
6) 7x – 3 ≠ 4
วิธีทำ  จาก  7x – 3 ≠ 4
7x – 3 + 3 ≠ 4 + 3
7x ≠ 7
x ≠ 1
7) 3(x + 1) ≥ 15
วิธีทำ  จาก 3(x + 1) ≥ 15
                   x + 1 ≥ 5
              x + 1 – 1 ≥ 5 – 1
                        x ≥ 4
8) 2(x – 4) < 12
วิธีทำ  จาก  2(x – 4) < 12
                     x – 4 < 6
               x – 4 + 4 < 6 + 4
                          x < 10

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่องการเแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  จะทำให้น้องๆสามารถแก้อสมการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่องสมการมาประยุกต์ใช้กับอสมการได้ เมื่อน้องๆ หาคำตอบได้แล้ว น้องๆจะต้องเขียนกราฟของคำตอบของสมการ ซึ่งเขียนในรูปของเส้นจำนวน อยู่ในบทความเรื่องกราฟของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

วิดีโอ การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวม วิธีการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค ที่จะทำให้น้องๆมองวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

วิธีพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างง่ายๆ

การพูดสรุปความสำคัญอย่างไร ? น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เพื่อนกับครูเข้าใจ เพราะเนื้อหาที่เราจำมามันก็เยอะเสียเหลือเกิน บทเรียนภาษาไทยวันนี้จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีความเข้าใจในเรื่องการพูดสรุปความ วันนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรือดูจะมีวิธีใดบ้าง   การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู   การพูดคืออะไร   องค์ประกอบของการพูด   ผู้พูด คือผู้ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำเสนอความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ เนื้อเรื่อง

+ – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะพูดถึงขั้นตอนการหาคำตอบของการ + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละระคน ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถหาคำตอบ แสดงวิธีทำและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ถอดคำประพันธ์และคุณค่าในเรื่อง

หลังจากได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมากันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การถอดคำประพันธ์ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ว่ามีความหมายอย่างไรบ้าง ตัวบทที่ยกตัวอย่างมาในวันนี้จะเป็นเรื่องใด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ถอดคำประพันธ์           หัวลิงหมากกลางลิง    ต้นลางลิงแลหูลิง ลิงไต่กระไดลิง         

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1