การวัดพื้นที่ ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้มาตราต่างๆของหน่วยในระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสูตรต่างๆที่ใช้ในการหาพื้นที่ เพื่อให้เราได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โดยทั่วไปพื้นที่จะใช้ในการบอกขนาดของเนื้อที่ ซึ่งใช้หน่วยการวัดพื้นที่เป็นตารางหน่วย หรือตามหน่วยการวัดความยาว การเปลี่ยนหน่วยการวัดพื้นที่ในระบบหรือมาตราเดียวกัน สามารถคำนวณได้จากการเปลี่ยนหน่วย การวัดความยาวตามความสัมพันธ์ของหน่วยในระบบหรือมาตรานั้น การเปรียบเทียบพื้นที่ที่มีหน่วยการวัดพื้นที่ต่างระบบหรือต่างมาตรา จำเป็นต้องทำให้มีหน่วยการวัดพื้นที่เป็นอย่างเดียวกันก่อน

หน่วยการวัดพื้นที่

พื้นที่เป็นการบอกขนาดของเนื้อที่เช่นขนาดของที่นาเนื้อที่ของสนามหญ้าก็จะต้องใช้การคำนวณหาพื้นที่และบอกเป็นหน่วยของการวัดพื้นที่ หน่วยการวัดพื้นที่ที่สำคัญที่นักเรียนควรรู้จักมีดังนี้

  • ระบบเมตริก

1 ตารางเซนติเมตร = 100 ตารางมิลลิเมตร

1 ตารางเมตร = 10,000 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางกิโลเมตร = 1,000,000 ตารางเมตร

  • ระบบอังกฤษ

1 ตารางฟุต = 144 ตารางนิ้ว

1 ตารางพลา = 9 ตารางฟุต

1 เอเคอร์ = 4,840 ตารางหลา

1 ตารางไมล์ = 640 เอเคอร์

  • มาตราไทย

100 ตารางวา = 1 งาน

4 งาน = 1 ไร่

400 ตารางวา = 1 ไร่

  • หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก

1ตารางวา = 4 ตารางเมตร

1 งาน = 400 ตารางเมตร

 1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร

 1 ตารางกิโลเมตร = 625 ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ)

1 ตารางนิ้ว = 6.4516 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางฟุต = 0.0929 ตารางเมตร

1 ตารางหลา = 0.8361 ตารางเมตร

1 เอเคอร์ = 4,046.856 ตารางเมตร (2.529 ไร่)

1 ตารางไมล์ = 2.5899 ตารางกิโลเมตร

 

การคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่

    • พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

บทนิยามรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากคือรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉากรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมี 2 ชนิดคือ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสคือรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคือรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านกว้างไม่เท่ากับด้านยาว

สมบัติทั่วไปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

  1. มุมทุกมุมกาง 90 องศา
  2. ค้านตรงข้ามยาวเท่ากันและขนานกัน
  3. เส้นทแยงมุมเท่ากันและแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
  4. เส้นทแยงมุมแบ่งรูปสี่เหลี่ยมเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 รูปที่เท่ากันทุกประการ

พื้นที่สี่เหลี่ยม

ถ้าให้รุปสี่เหลี่มมุมฉากมีด้านกว้าง a หน่วย ยาว b หน่วย

พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก = กว้าง x ยาว

= a x b ตารางหน่วย

= ab ตารางหน่วย

ถ้ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาว a หน่วย จะได้ว่า

พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน x ด้าน

= a x a ตารางหน่วย

เส้นรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านกว้าง a หน่วย ยาว b หน่วย

จะมีความยาว = a + a + b + b

= 2 (a + b) หน่วย

แต่ถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส a = b

ดังนั้นความยาวเส้นรอบรูป = a + a + a + a = 4a หน่วย

  • พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมใดๆ

วัดพื้นที่

พื้นที่สามเหลี่ยม

  • พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมใดๆ

สี่เหลี่ยมต่างๆ

คลิปตัวอย่างการวัดพื้นที่

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งอสมการ เป็นประโยคที่แสดงถึงการไม่เท่ากัน โดยมีวิธีการหาคำตอบคล้ายๆกับสมการ น้องๆสามารถศึกษาบทความเรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อศึกษาวิธีการแก้สมการและนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้อสมการเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว⇐⇐ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว        อสมการ (inequality) เป็นประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  <, >, ≤, ≥ หรือ ≠  แสดงความสัมพันธ์         อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

วิธีพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างง่ายๆ

การพูดสรุปความสำคัญอย่างไร ? น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เพื่อนกับครูเข้าใจ เพราะเนื้อหาที่เราจำมามันก็เยอะเสียเหลือเกิน บทเรียนภาษาไทยวันนี้จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีความเข้าใจในเรื่องการพูดสรุปความ วันนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรือดูจะมีวิธีใดบ้าง   การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู   การพูดคืออะไร   องค์ประกอบของการพูด   ผู้พูด คือผู้ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำเสนอความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ เนื้อเรื่อง

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

โจทย์ปัญหาการวัด ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ตัวอย่างโจทย์การแปลงหน่วย และหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้สูตรที่เร็วขึ้น

สมบัติของการเท่ากัน

สมบัติของการเท่ากัน

          การหาคำตอบของสมการนั้น ต้องใช้สมบัติการเท่ากันมาช่วยในการหาคำตอบ จะรวดเร็วกว่าการแทนค่าตัวแปรในสมการซึ่งสมบัติการเท่ากันที่ใช้ในการแก้สมการได้แก่ สมบัติสมมาตร สมบัติถ่ายทอด สมบัติการบวก และสมบัติการคูณ เรามาทำความรู้จักสมบัติเหล่านี้กันค่ะ สมบัติสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a เมื่อ a และ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1