โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเลขยกกำลัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

         เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็น การคูณ การหาร เลขยกกำลัง และการเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง รวมทั้งไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย  ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1 – 3

ตัวอย่างที่ 1  เด็กชายศิระนำแท่งลูกบาศก์ไม้ขนาด 5³ ลูกบาศก์เซนติเมตร  มาจัดวางในลูกบาศก์ใหญ่ที่มีความยาวของแต่ละด้านเป็น 125 เซนติเมตร  จงหาเลขยกกำลังที่แทนปริมาตรของลูกบาศก์ขนาดใหญ่นี้

วิธีทำ   ต้องการวางลูกบาศก์ให้มีความยาวแต่ละด้านเป็น  125 เซนติเมตร

           ใช้แท่งลูกบาศก์ไม้  ¹²⁵⁄₅  = 25  =  5² แท่ง

           ปริมาตรของลูกบาศก์ขนาดใหญ่   =  ปริมาตรของแท่งไม้ x จำนวนแท่งลูกบาศก์ไม้

        =  5³x (5² x 5² x 5²)

        =  5³⁺²⁺²⁺²

        =  5⁹  ลูกบาศก์เซนติเมตร 

ตอบ    ปริมาตรของลูกบาศก์ขนาดใหญ่นี้เท่ากับ   5⁹  ลูกบาศก์เซนติเมตร

ตัวอย่างที่ 2  โลกหนักประมาณ  5 x 10²⁴  กิโลกรัม  ดวงอาทิตย์หนักเป็น  4 x 10  เท่าของโลก จงหาน้ำหนักของดวงอาทิตย์

วิธีทำ  โลกหนักประมาณ  5 x 10²⁴  กิโลกรัม 

          ดวงอาทิตย์หนักเป็น  4 x 10  เท่าของโลก

          ดังนั้น  ดวงอาทิตย์หนักประมาณ  (5 x 10²⁴) x (4 x 10⁵)  กิโลกรัม

                                                       =  (5 x 4) x (10²⁴ x 10⁵)

                                                       =  20 x 10²⁴

                                                       =  20 x 10²⁹

                                                       =   2 x 10 x 10²⁹

                                                       =  2  x 10³⁰  กิโลกรัม

ตอบ   ดวงอาทิตย์หนักประมาณ  2  x 10³⁰  กิโลกรัม

ตัวอย่างที่ 3  ไม้กระดานแผ่นหนึ่งกว้าง  32 เซนติเมตร ยาว 64 เซนติเมตร  หนา 2 เซนติเมตร  จงหาว่าไม้กระดานแผ่นนี้มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร (ตอบในรูปเลขยกกำลัง)

วิธีทำ    ปริมาตรของไม้กระดานแผ่นนี้   =  ความกว้าง x ความยาว x ความหนา

                                                         =  32 x 64 x 2   ลูกบาศก์เซนติเมตร

                                                         =  (2 x 2 x 2 x 2 x 2) x (2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2) x 2

                                                         =  2⁵ x 2⁶ x 2

                                                         =  2⁵¹

                                                         =  2¹²   ลูกบาศก์เซนติเมตร                      

ตอบ   ไม้กระดานแผ่นนี้มีปริมาตร  2¹²   ลูกบาศก์เซนติเมตร

ตัวอย่างที่ 4 – 6

ตัวอย่างที่ 4     ถ้าโลกของเรามีมวล  6 x 10²⁴  กิโลกรัม  แล้วมวลของดวงอาทิตย์จะมีค่าเท่าใด เมื่อมวลของดวงอาทิตย์เท่ากับ  330,000  เท่าของมวลโลก

 วิธีทำ   มวลของดวงอาทิตย์เท่ากับ  330,000 = 3.3 x 10⁵ เท่าของมวลโลก

            มวลของโลกเท่ากับ  6 x 10²⁴  กิโลกรัม

            ดังนั้น  มวลของดวงอาทิตย์เท่ากับ  3.3 x 10⁵ x 6 x 10²⁴  =  (3.3 x 6) x (10⁵x 10²⁴

=   19.8 x 10²⁹

=  1.98 x 10 x 10²⁹

=  1.98 x 10³⁰  กิโลกรัม

ตอบ  มวลของดวงอาทิตย์มีค่าเท่ากับ  1.98 x 10³⁰  กิโลกรัม

ตัวอย่างที่ 5  วัตถุชิ้นหนึ่งอยู่ห่างจากโลก 1.5 x 10⁹  ปีแสง  ถ้า 1 ปีแสงเท่ากับ  9.4 x 10¹²  กิโลเมตร  แล้ววัตถุนี้จะอยู่ห่างจากโลกกี่กิโลเมตร 

วิธีทำ  ระยะทาง   1  ปีแสงเท่ากับ  9.4 x 10¹²  กิโลเมตร

           ระยะทาง 1.5 x 10⁹  ปีแสง เท่ากับ   9.4 x 10¹² x 1.5 x 10⁹  =  (9.4 x 1.5 ) x (10¹²  x 10⁹)  

   =  14.1 x 10¹²⁺⁹   

   =  14.1 x 10²¹    

   =   1.41 x 10 x 10²¹ 

   =   1.41 x 10²²  กิโลเมตร                 

ตอบ   วัตถุนี้จะอยู่ห่างจากโลก  1.41 x 10²²  กิโลเมตร

ตัวอย่างที่ 6  โรงงานแห่งหนึ่งต้องการผลิตสินค้าจำนวน 2 x 10⁴ ชิ้น แต่ละชิ้นต้องใช้โลหะ 9.1 x 10⁻³ กิโลกรัม  จงหาว่าต้องใช้โลหะทั้งหมดกี่กิโลกรัม

วิธีทำ  ต้องใช้โลหะทั้งหมดเท่ากับ  2 x 10⁴ x 9.1 x 10⁻³ =  (2 x 9.1) (10⁴ x 10⁻³)     

    =  18.2 10    

    =  1.82 10 10   

    =  1.82 10²   กิโลกรัม     

ตอบ   ต้องใช้โลหะทั้งหมด  1.82 10²  กิโลกรัม

ตัวอย่างที่ 7 – 8

ตัวอย่างที่ 7  ประมาณกันว่าในปี ค.ศ. 2060 โลกจะมีประชากรมากกว่า 10,000,000,000  คน ถ้าพื้นโลกส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยได้มีพื้นที่ประมาณ 15 x 10⁷ ตารางกิโลเมตร จงหาความหนาแน่นของประชากรโลกโดยเฉลี่ยต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร  

วิธีทำ  ความหนาแน่นหาได้จาก ความหนาแน่น = ประชากร/พื้นที่โลก

           ปี ค.ศ. 2060 โลกจะมีประชากรมากกว่า  10,000,000,000  คน

           พื้นโลกส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยได้มีพื้นที่ประมาณ  15 x 10⁷ ตารางกิโลเมตร

           จะได้ว่า ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่โลกเท่ากับ  \frac{10,000,000,000 }{15\times 10^{7}}=\frac{1\times 10^{10}}{15\times 10^{7}}     

     =\frac{1}{15}\times \frac{10^{10}}{10^{7}}   

      =  0.066 x 10³

      =  6.6 x 10  คน/ตร.กม.

ตอบ ในปี ค.ศ. 2060 ความหนาแน่นของประชากรโลกโดยเฉลี่ยเท่ากับ  6.6 x 10  หรือ 66 คน/ตร.กม.

ตัวอย่างที่ 8  เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดแต่ละตัวยาวประมาณ  5 x 10⁻⁷  เมตร ถ้าไวรัสชนิดนี้เรียงต่อกันเป็นสายยาว  6 x 10⁻³ เมตร จงหาว่ามีไวรัสอยู่ประมาณกี่ตัว

วิธีทำ  ไวรัสเรียงต่อกันเป็นสายยาวประมาณ  6 x 10⁻³ เมตร

  ถ้าไวรัสแต่ละตัวยาวประมาณ  5 x 10⁻⁷  เมตร

  จะมีไวรัสที่เรียงต่อกันอยู่ประมาณ  \frac{6\times 10^{-3}}{5\times 10^{-7}}  =  \frac{6\times 10^{7}}{5\times 10^{3}}  ตัว

     =  \frac{60\times 10^{6}}{5\times 10^{3}}

     =  12 x 10⁶⁻³

     =  12 x 10³   

     =  12,000  ตัว

ตอบ  มีไวรัสที่เรียงต่อกันอยู่ประมาณ 12,000 ตัว

สรุป

หลักในการแก้โจทย์ปัญหามีดังนี้

  1. ต้องรู้สิ่งที่โจทย์กำหนด
  2. ต้องรู้สิ่งที่โจทย์ถาม
  3. ดำเนินการเพื่อแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้ความรู้เรื่องเลขยกกำลัง
คลิปวิดีโอ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การแก้โจทย์ปัญหาเกี่นวกับเลขยกกำลัง  ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

สวัสดีค่ะนักเรียนป.5 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English   การถามทิศทางจะต้องมีประโยคเกริ่นก่อนเพื่อให้คนที่เราถาม ตั้งตัวได้ว่า กำลังจะโดนถามอะไร ยังไง ซึ่งเราสามารถถามได้ทั้ง คำถามแบบสุภาพเมื่อพูดกับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ คำถามทั่วไปเมื่อพูดกับคนใกล้ตัว  

past tense

Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ   หลักการพูดรายงานหน้าชั้น     1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์ การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ

รู้ไว้ไม่พลาด! คำที่มักเขียนผิด ในภาษาไทย มีคำว่าอะไรบ้าง?

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการสะกดคำในภาษาไทยถือเป็นปัญหาใหญ่หลัก ๆ ของเด็กทุกคนในสมัยนื้ เนื่องจากว่าโลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้ในโซเชี่ยลมีเดียพูดคุยกับเพื่อน โดยการจะตัดคำให้สั้นลงหรือเปลี่ยนตัวสะกด ลดการใช้ตัวการันต์ ทำให้เมื่อต้องมาเขียนคำที่ถูกต้องกันจริง ๆ ก็มีเด็ก ๆ หลายคนที่สะกดผิด ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้อง ๆ อยากลองสำรวจตัวเองดูกันไหมคะว่าคำในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเขียนถูกกันมากน้อยแค่ไหน อยากถามรู้แล้วเราไปดูเรื่อง คำที่มักเขียนผิด พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนสะกดคำ  

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1