จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

       บทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบวกลบจำนวนเต็ม โดยก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องการเปรียบเทียบจำนวนเต็มมาแล้ว ต่อไปจะพูดถึงค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับจำนวนตรงข้ามกันก่อนนะคะ

จำนวนตรงข้าม

      “หากค่าของจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เท่ากัน แต่อยู่ต่างทิศทางกันมีค่าเท่ากันหรือไม่” (ค่าไม่เท่ากัน)       

     ทราบหรือไม่ว่า จำนวนที่อยู่ทิศทางต่างกันแต่มีระยะห่างจาก 0 เท่ากัน คือ จำนวนอะไร (จำนวนตรงข้าม) ยกตัวอย่าง ดังนี้

เช่น      จำนวนตรงข้ามของ 4 เขียนแทนด้วย -4

   จำนวนตรงข้ามของ -4 เขียนแทนด้วย -(-4)

    และเนื่องจากจำนวนตรงข้ามของ -4 คือ 4

ดังนั้น  -(-4) = 4

สรุปได้ว่า

ถ้า a เป็นจำนวนใดๆ จำนวนตรงข้าม ของ a มีเพียงจำนวนเดียวและเขียนแทนด้วย  – a  เรียก – a ว่า จำนวนตรงข้าม ของ a

ตัวอย่างที่ 1  จงเขียนจำนวนตรงข้ามของจำนวนต่อไปนี้

  1.   -7 เป็นจำนวนตรงข้ามของ                        
  2.                     เป็นจำนวนตรงข้ามของ    15
  3.                     เป็นจำนวนตรงข้ามของ   -24
  4.   0 เป็นจำนวนตรงข้ามของ                       
  5.   32  เป็นจำนวนตรงข้ามของ                        

เฉลย

  1.   -7    เป็นจำนวนตรงข้ามของ    7
  2.   -15  เป็นจำนวนตรงข้ามของ    15
  3.   24   เป็นจำนวนตรงข้ามของ    -24
  4.   0     เป็นจำนวนตรงข้ามของ    0
  5.   32   เป็นจำนวนตรงข้ามของ    -32     

ค่าสัมบูรณ์

พิจารณาเส้นจำนวนต่อไปนี้ค่าสัมบูรณ์2

  1.    ระยะห่างของจำนวนเต็มบนเส้นจำนวนเท่ากันหรือไม่ (เท่ากัน)
  2.    -4 อยู่ห่างจาก 0 อยู่เท่าใด (4)
  3.    4 อยู่ห่างจาก 0 อยู่เท่าใด (4)
  4.    ระยะห่างของ -4 และ 4 อยู่ห่างจาก 0 เท่ากันหรือไม่ (เท่ากัน)

จะเห็นว่า 4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 4 หน่วย เรียกว่า  ค่าสัมบูรณ์ของ 4 เท่ากับ 4 เขียนแทนด้วย l4l = 4 

            -4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 4 หน่วย เรียกว่า  ค่าสัมบูรณ์ของ -4  เท่ากับ 4 เขียนแทนด้วย l-4l = 4 

สรุปได้ว่า

ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ คือ ระยะห่างของจำนวนเต็มนั้น กับ 0 (ศูนย์) บนเส้นจำนวน ดังนั้นค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มจึงเป็นบวกเสมอ โดยมีสัญลักษณ์ คือ l l  

ตัวอย่างที่ 2   3  อยู่ห่างจาก  0  เป็นระยะทางกี่หน่วย

ค่าสัมบูรณ์ 3

ตอบ 3  อยู่ห่างจาก  0  เป็นระยะทาง  3  หน่วย  กล่าวว่า  ค่าสัมบูรณ์ของ  3  เท่ากับ  3 หรือ l3l = 3 

ตัวอย่างที่ 3   -3  อยู่ห่างจาก  0  เป็นระยะทางกี่หน่วย

ค่าสัมบูรณ์ 4

ตอบ  -3  อยู่ห่างจาก 0  เป็นระยะทาง  3  หน่วย  กล่าวว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -3 เท่ากับ  3  หรือ l-3l = 3 

ตัวอย่างที่ 4   4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 4 หน่วย

ค่าสัมบูรณ์5

ตอบ 4  อยู่ห่างจาก 0  เป็นระยะทาง  4  หน่วย  กล่าวว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 4 เท่ากับ 4 หรือ l4l = 4 

สรุป     ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะทางที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ จากตัวอย่างข้างต้น ทำให้สามารถหาจำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆได้  ลำดับต่อไปที่น้องๆต้องเรียนรู้คือ การบวกลบจำนวนเต็ม ซึ่งจะเป็นการฝึกน้องๆได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ และบวกลบจำนวนเต็มได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

คลิปวิดีโอ จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธีการหา จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบายตัวอย่างและสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร  โดยการเลือกกำจัดตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง(x) เมื่อเลือกกำจัด x จะได้ค่า y แล้วนำค่าของตัวแปร(y) มาแทนค่าในสมการเพื่อหาค่าของตัวแปรอีกหนึ่งตัวแปร (x) ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ⇐⇐ ให้ a, b, c, d, e และ

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ เป็นการทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ได้แก่ เรื่องโดเมนและเรนจ์ของความสัม กราฟของความสัมพันธ์ และตัวผกผันของความสัมพันธ์ ก่อนทำแบบฝึกหัดความสัมพันธ์ บทความที่น้องๆควรรู้ คือ โดเมนของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์   แบบฝึกหัด 1.) ถ้า (x, 5) = (3, x – y)

รากที่ n ของจำนวนจริง

รากที่ n ของจำนวนจริง และจำนวนจริงในรูปกรณฑ์

รากที่ n ของจำนวนจริง รากที่ n ของจำนวนจริง คือจำนวนจริงตัวหนึ่งยกกำลัง n แล้วเท่ากับ x   เมื่อ n > 1 เราสามารถตรวจสอบรากที่ n ได้ง่ายๆ โดยนิยามดังนี้ นิยาม ให้  x, y เป็นจำนวนจริง และ n

เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !   ประโยคซับซ้อน

การดำเนินการของเซต

การดำเนินการของเซตประกอบไปด้วย ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ของเซต และผลต่าง เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราจะได้ใช้ในบทต่อๆไป เรื่องนี้จึงค่อนข้างมีประโยชน์ในเรื่องของการเรียนเนื้อหาบทต่อไปง่ายขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1