การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร

ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ

ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง:
1. ชื่อแผนภูมิ
2. จำนวน
3. ชื่อรายการ
4. แท่งเเสดงข้อมูล
5. ประเภทของข้อมูล

โดยแผนภูมิด้านบนเเสดงถึงจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการในห้องสมุดเเบ่งกลุ่มเป็นเดือน เเละมีเเท่งเเสดงข้อมูล สีส้ม, สีเหลือง, เเละสีเขียว เเสดงข้อมูลของนักเรียนชั้น ม.1, ม.2, เเละ ม.3 ตามลำดับ ซึ่งแผนภูมิที่ได้น้อง ๆ สามารถนำไปแปลความหมายเป็นข้อมูลต่าง ๆ ได้


ตัวอย่างการเเปรความหมายเเผ่นภูมิเเท่ง

ตัวอย่างที่ 1 จากเเผนภูมิด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม มีทั้งหมดกี่คน

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 (เเท่งสีเขียว) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดตั้งเเต่เเต่เดือน มกราคม ถึง เมษายน มีค่าเท่ากับ
= จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 เดือนมกราคม  + เดือนกุมภาพันธ์ + เดือนมีนาคม + เดือนเมษายน
= 400 + 500 + 600 + 500

ตอบ ทั้งหมด 2,000 คน

ตัวอย่างที่ 2 จากเเผนภูมิด้านบน เดือนที่มีจำนวนนักเรียนเข้ามาใช้บริการมากที่สุด คือเดือนอะไร เเละจำนวนเท่าใด

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการในเเต่ละเดือนมีดังนี้
เดือนมกราคม      จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 100 + 200 + 400  = 700 คน
เดือนกุมภาพันธ์   จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 400 + 300 + 500 = 1,200 คน
เดือนมีนาคม        จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 350 + 200 + 600 = 1,150 คน
เดือนเมษายน      จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 600 + 550 + 500 = 1,650 คน

ตอบ เดือนเมษายน จำนวน 1,650 คน

ตัวอย่างที่ 3 จากเเผนภูมิด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.2 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าเดือนมีนาคมเท่าใด

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนชั้นม.2 (เเท่งสีเหลือง) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเดือนกุมภาพันธ์ทั้งหมด 300 คน เเละในเดือนมีนาคมทั้งหมด 200 คน
ดังนั้น   จำนวนนักเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ – จำนวนนักเรียนในเดือนมีนาคม        = 300 – 200 คน

  = 100 คน

ตอบ มีจำนวนมากกว่าทั้งหมด 100 คน

ตัวอย่างที่ 4 จากเเผนภูมิด้านบน ตั้งเเต่เดือนมกราคม ถึง เมษายน จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเเต่ละเดือนเป็นเท่าใด

วิธีทำ     จากแผนภูมิเเท่ง จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 (เเท่งสีส้ม) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเเต่ละเดือนมีจำนวนดังนี้
เดือนมกราคม               จำนวน 100 คน
เดือนกุมภาพันธ์           จำนวน 400 คน
เดือนมีนาคม                 จำนวน 350 คน
เดือนเมษายน               จำนวน 600 คน

โดยทั้ง 4 เดือน มีจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการทั้งหมดรวมกัน = 100 + 400 + 350 + 600 = 1450 คน
ดังนั้น จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 มีค่า       =    จำนวนทั้งหมดรวมกัน/จำนวนเดือน

=     1,450 คน/4 เดือน

=     362.5 คน/เดือน

ตอบ จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้าใช้บริการห้องสมุดมีค่าเท่ากับ 362.5 คน/เดือน

ตัวอย่างที่ 5 จากเเผนภูมิเเท่งด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 มีจำนวนเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคม

วิธีทำ     จากตัวอย่างที่ 2 จำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ใช้บริการห้องสมุดในเดือนมีนาคมมีจำนวน 1150 คน
เเละจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ที่มาใช้บริการห้องสมุดในเดือนมีนาคมมีจำนวน 600 คน
ดังนั้น ร้อยละของจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ต่อจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคมมีค่า
= (จำนวนนักเรียนชั้น ม.3/จำนวนนักเรียนทั้งหมด) x 100
= (600/1150) x 100
= 52.17
ตอบ ร้อยละ 52.17 ของนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคม

เมื่อเราเเปลความหมายข้อมูลได้ เราสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ต่อไปในด้านอื่น ๆ ได้เพื่อต่อยอดหรือเเก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการตั้งคำถามง่าย ๆ เช่น  ทำไมช่วงเดือนเมษายนจึงมีนักเรียนเข้าใช้บริการห้องสมุดเยอะที่สุด อาจเป็นเพราะว่าใกล้ช่วงสอบนักเรียนจึงเข้าไปใช้บริการห้องสมุดเยอะ อาจจะเกิดปัญหาเก้าอี้ไม่พอในอนาคตได้ ดังนั้นทางห้องสมุดอาจจะเเก้ไขปัญหาด้วยการ เพิ่มจำนวนโต๊ะเเละเก้าอี้เพื่อให้มีที่นั่งเพียงพอกับนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการ

บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง จะเห็นได้ว่ามีส่วนสำคัญในการเเก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ หากวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของการสร้างเเผนภูมิเเท่งเเละตัวอย่างการเเปรความหมายน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอนี้


คลิปวิดีโอ การนำเสนอข้อมูลเเละการเเปรความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิเเท่ง

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม3 มารู้จักกับ Signal Words

การใช้ Signal words : First, Second, Firstly, Secondly, Finally, Then, Next etc.

มารู้จักกับ Signal Words หรือ อีกชื่อที่รู้จักกันคือ Connective Words: คำเชื่อมประโยค/วลี ในภาษาอังกฤษ สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing)

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

 ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม จะเกี่ยวข้องกับมุมที่มีหน่วยเป็นองศา (degree) และมุมที่มัหน่วยเป็นเรเดียน (radian) ในบทความนี้จะกล่าวถึงมุมทั้งหน่วยองศาและเรเดียน มุมฉาก การเปลี่ยนหน่วยของมุม สมบัติของฟังก์ชันตรีโกณมิติ และสามเหลี่ยมมุมฉาก ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา พี่อยากให้น้องๆได้รู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติเพื่อที่จะได้เข้าใจเนื้อหาในบทความนี้มากขึ้น การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ หลังจากที่ไปทบทวนความรู้มาแล้วเรามาเริ่มเนื้อหาใหม่กันเลยค่ะ หน่วยของมุม 1.) องศา (degree) คือหน่วยของมุมในระนาบ 2 มิติ โดยที่

like love enjoy ving

การแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลโดยใช้ “Like”, “Love”, และ “Enjoy”

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ คราวที่แล้วเราได้อ่านเรื่องการใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้อง และคำแนะนำกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการแนะนำตัวเอง และให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตัวเราแบบง่ายๆ กันครับ

ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช   หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา     บทเด่น ๆ บทที่ 1    บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยา

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยากันเถอะ   สวัสดีค่ะ มาพบกับแอดมินและ Nock Academy กับบทความเตรียมสอบเข้าม.1 กันอีกแล้วแต่วันนี้เรามาในบทความการสอบเข้าของโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนหญิงล้วนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานานกว่า 118 ปี อีกทั้งยังเคยเป็นสถานศึกษาของสมเด็จย่าและเคยได้รับเสด็จสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กล่าวได้ว่าเป็นโรงเรียนที่มีความผูกพันธ์กับราชวงศ์ของไทยและเป็นสถานที่ที่เคยต้อนรับราชวงศ์ชั้นสูงมาแล้วอีกด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่เรื่องของความเก่าแก่และยาวนานของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนสตรีวิทยานั้นเป็นที่รู้จัก แต่ในด้านของวิชาการก็มีความเข้มข้นและการแข่งขันที่สูงด้วยเช่นเดียวกัน โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ มีอัตราการสอบเข้าศึกษาที่สูงมากในแต่ละปี

กาพย์พระไชยสุริยา ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาก หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ก็คือตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาค่ะ เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าในกาพย์พระไชยสุริยาจะมีตัวบทไหนเด่น ๆ และมีคุณค่าอย่างไรบ้าง   ตัวบทที่น่าสนใจในกาพย์พระไชยสุริยา   ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์สุรางคนางค์ 28  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1