การวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และการนำความรู้ในเรื่องการหาสัดส่วนสามารถนำไปใช้กับลักษณะโจทย์ที่ให้การเปรียบเทียบสิ่งของหรือสัดส่วนของสิ่งของที่มีได้เป็นอย่างดี โดยมีตัวอย่างของการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
โจทย์ปัญหาสัดส่วน
ตัวอย่างสัดส่วนของเงิน
ข้อ 1) อัตราส่วนของเงินของ ก ต่อเงินของ ข เป็น 3 : 8 และอัตราส่วนของเงินของ ข ต่อเงินของ ค เป็น 4 : 3 ถ้าทั้งสามมีเงินรวมกัน 1,700 บาท แล้ว ก,ข และ ค มีเงินคนละเท่าไหร่
ตัวอย่างสัดส่วนของคะแนนสอบ
ข้อ 2) ในการสอบครั้งหนึ่ง อัตราส่วนของคะแนนที่สอบได้เป็นดังนี้ ก : ข คือ 4 : 5 และ ข : ค คือ 2 : 5 ถ้าในการสอบครั้งนี้ ก สอบได้ 20 คะแนน แล้ว ค จะสอบได้กี่คะแนน
ตัวอย่างสัดส่วนของรูปเรขาคณิต
ข้อ 3) รูปสามเหลี่ยม ABC มีความยาวด้าน AB : BC : CA เป็น 3 : 5 : 4 ถ้าด้าน AB ยาว 9 เซนติเมตร และมีความยาวรอบรูปเท่ากับ 36 เซนติเมตร จงหาความยาวของด้านที่เหลือ
ข้อ 4)ิ กำหนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานโดยที่ E เป็นจุดกึ่งกลางด้าน BC และ F เป็นจุดกึ่งกลางด้าน DE อัตราส่วนพื้นที่สามเหลี่ยม DFC ต่อพื้นที่สี่เหลี่ยม ABCD เป็นเท่าใด
ตัวอย่างสัดส่วนของสารเคมี
ข้อ 5) ปุ๋ยชนิดหนึ่งมีอัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) โพแทสเซียม(K) และอื่นๆ(X) เป็น 1 : 2 : 1 : 6 ตามลำดับ จงหาว่าถ้ามีปุ๋ยชนิดนี้ 1 กิโลกรัม จะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมอย่างละกี่กรัม