แบบฝึกหัดการให้เหตุผล
แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ
แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ
1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้
ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน
2. ฝนตก
ผล เดชาไม่ไปโรงเรียน
ข. เหตุ 1. รัตนาขยันเรียน หรือรัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้
2. รัตนาไม่ขยันเรียน
ผล รัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้
พิจารณาว่า ก และ ข สมเหตุสมผลหรือไม่
พิจารณา ก เหตุที่ 1 ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน เขียนเป็นแผนภาพจะได้ ดังนี้
จะเห็นว่า ถ้าฝนตก สามารถเป็นไปได้ 2 กรณี คือ 1. เดชาไปโรงเรียน และ 2. เดชาไม่ไปโรงเรียน
ดังนั้น ก ไม่สมเหตุสมผล
พิจารณา ข เหตุที่ 1 รัตนาขยันเรียน หรือรัตนาสอบชิงทุนรัฐบาลได้
จะเห็นว่า ถ้ารัตนาไม่ขยันเรียนแล้ว จะเป็นไปได้ 2 กรณี คือ รัตนาสอบชิงทุนได้ กับรัตนาสอบชิงทุนไม่ได้
ดังนั้น ข ไม่สมเหตุสมผล
2.) พิจารณาข้อความต่อไปนี้
เหตุ 1. นกเป็นสิ่งมีชีวิต
2. ปลาเป็นสิ่งมีชีวิต
3. คนเป็นสิ่งมีชีวิต
ผล สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต
ข้อความดังกล่าวเป็นการให้เหตุผลแบบใด
ตอบ การให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะเป็นการสรุปผลจากประสบการณ์หรือสิ่งที่สังเกตได้
3.) จงพิจารณาเหตุต่อไปนี้
1) ทุกคนที่ชอบกินผลไม้จะชอบกินผัก
2) ทุกคนที่ชอบรสหวานจะชอบกินผลไม้
3) ขาวไม่ชอบกินผัก
4) ดาชอบกินผลไม้
ผลสรุปในข้อใดต่อไปนี้ทำให้การให้เหตุผลสมเหตุสมผล
1. ขาวไม่ชอบรสหวาน
2. ขาวชอบกินผลไม้
3. ดาชอบรสหวาน
4. ดาไม่ชอบรสหวาน
5. ดาไม่ชอบกินผัก
เราจะใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ในการพิจารณาการให้เหตุผล
พิจารณา ข้อ 2 ขาวชอบผลไม้ ข้อนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากขาวอยู่นอกวงกลมของชอบกินผัก ดังนั้นขาวไม่มีทางที่จะชอบกินผลไม้แน่นอน
พิจารณา ข้อ 3 ดาชอบรสหวาน ข้อนี้ไม่สมเหตุสมผล เพราะ จากเหตุที่บอกว่า ดาชอบกินผลไม้ ทำให้เกิดกรณีได้ 2 กรณี คือ ดาชอบรสหวานกับดาไม่ชอบรสหวาน
พิจารณาข้อ 4 ดาไม่ชอบรสหวาน ข้อนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้เหมือนกับข้อ 3
พิจารณาข้อ 5 ดาไม่ชอบกินผัก ข้อนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะดาชอบกินผลไม้ แล้วคนที่ชอบกินผลไม้ทุกคนชอบกินผัก ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ดาจะไม่ชอบกินผัก
4.)
เหตุ 1. นักเรียนชั้น ม.6 ทุกคนว่ายน้ำเป็น
2. คนที่ว่ายน้ำเป็น บางคนขี่จักรยานเป็น บางคนขี่จักรยานไม่เป็น
ถ้าให้ U แทนเซตของคน
A แทนเซตของนักเรียนชั้น ม.6
B แทนเซตของคนที่ขี่จักรยานเป็น
S แทนเซตของคนที่ว่ายน้ำเป็น
ข้อความที่กำหนดให้สอดคล้องกับแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ในข้อใดต่อไปนี้
พิจารณาข้อความที่โจทย์กำหนดให้เป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังนี้
5.) พิจารณาประโยคต่อไปนี้ว่าเป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัยหรือนิรนัย
5.1) เกรดเทอมนี้ไม่ดีหรอก เพราะเทอมที่ผ่านมาเกรดก็ไม่ดี
ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะใช้ประสบการณ์จากเทอมก่อนๆมาสรุป
5.2) เทอมนี้ต้องได้เกรดดีแน่ๆ เพราะคนขยันเรียนจะได้เกรดดี แล้วเทอมนี้ฉันก็ขยันเรียน
ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบนิรนัย เพราะเรากำหนดไว้แล้วว่า คนขยันเรียนจะได้เกรดดี ดังนั้นถ้าเราขยันเรียนต้องได้เกรดดี
5.3) ที่ผ่านมาฉันสังเกตเห็นว่าทุกครั้งที่อากาศร้อนอบอ้าว ฝนจะตกตลอดเลย วันนี้ฝนต้องตกแน่ๆ เพราะอากาศร้อนอบอ้าว
ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบนิรนัย เพราะเหมือนเรากำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่อากาศร้อนอบอ้าวฝนจะตก
5.4) ที่ผ่านมาฉันโชคไม่ค่อยดีเลย วันนี้ฉันต้องโชคไม่ดีอีกแน่ๆ
ตอบ เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย เพราะใช้ประสบการณ์จากครั้งก่อนๆที่โชคไม่ดี มาสรุปว่าวันนี้ก็ต้องโชคไม่ดีอีก
6.) พิจารณาข้อความที่กำหนดให้ แล้วใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัย หาคำตอบ
6.1)
(1×9) + 2 = 11
(12×9) + 3 = 111
(123×9) + 4 = 1111
(___×__) + __ = _____
ตอบ (1234 × 9) + 5 = 11111
6.2)
อีกสามพจน์ต่อไปคือ?
ตอบ 1089 × 5 = 5445 , 1089 × 6 = 6534 , 1089 × 7 = 7623
เนื้อหาที่ควรรู้ในการทำโจทย์การให้เหตุผล และวีดิโอเพิ่มเติม
หากน้องๆคนไหนยังรู้สึกว่าตัวเองไม่แม่นเรื่องการให้เหตุผลสามารถเข้าไปดูบทความการให้เหตุผลแบบนิรนัยและอุปนัยพร้อมดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่
หรือสามารถดูวีดิโอ เพิ่มเติมข้างล่างนี้ได้เลย