จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

       บทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบวกลบจำนวนเต็ม โดยก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องการเปรียบเทียบจำนวนเต็มมาแล้ว ต่อไปจะพูดถึงค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับจำนวนตรงข้ามกันก่อนนะคะ

จำนวนตรงข้าม

      “หากค่าของจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เท่ากัน แต่อยู่ต่างทิศทางกันมีค่าเท่ากันหรือไม่” (ค่าไม่เท่ากัน)       

     ทราบหรือไม่ว่า จำนวนที่อยู่ทิศทางต่างกันแต่มีระยะห่างจาก 0 เท่ากัน คือ จำนวนอะไร (จำนวนตรงข้าม) ยกตัวอย่าง ดังนี้

เช่น      จำนวนตรงข้ามของ 4 เขียนแทนด้วย -4

   จำนวนตรงข้ามของ -4 เขียนแทนด้วย -(-4)

    และเนื่องจากจำนวนตรงข้ามของ -4 คือ 4

ดังนั้น  -(-4) = 4

สรุปได้ว่า

ถ้า a เป็นจำนวนใดๆ จำนวนตรงข้าม ของ a มีเพียงจำนวนเดียวและเขียนแทนด้วย  – a  เรียก – a ว่า จำนวนตรงข้าม ของ a

ตัวอย่างที่ 1  จงเขียนจำนวนตรงข้ามของจำนวนต่อไปนี้

  1.   -7 เป็นจำนวนตรงข้ามของ                        
  2.                     เป็นจำนวนตรงข้ามของ    15
  3.                     เป็นจำนวนตรงข้ามของ   -24
  4.   0 เป็นจำนวนตรงข้ามของ                       
  5.   32  เป็นจำนวนตรงข้ามของ                        

เฉลย

  1.   -7    เป็นจำนวนตรงข้ามของ    7
  2.   -15  เป็นจำนวนตรงข้ามของ    15
  3.   24   เป็นจำนวนตรงข้ามของ    -24
  4.   0     เป็นจำนวนตรงข้ามของ    0
  5.   32   เป็นจำนวนตรงข้ามของ    -32     

ค่าสัมบูรณ์

พิจารณาเส้นจำนวนต่อไปนี้ค่าสัมบูรณ์2

  1.    ระยะห่างของจำนวนเต็มบนเส้นจำนวนเท่ากันหรือไม่ (เท่ากัน)
  2.    -4 อยู่ห่างจาก 0 อยู่เท่าใด (4)
  3.    4 อยู่ห่างจาก 0 อยู่เท่าใด (4)
  4.    ระยะห่างของ -4 และ 4 อยู่ห่างจาก 0 เท่ากันหรือไม่ (เท่ากัน)

จะเห็นว่า 4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 4 หน่วย เรียกว่า  ค่าสัมบูรณ์ของ 4 เท่ากับ 4 เขียนแทนด้วย l4l = 4 

            -4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 4 หน่วย เรียกว่า  ค่าสัมบูรณ์ของ -4  เท่ากับ 4 เขียนแทนด้วย l-4l = 4 

สรุปได้ว่า

ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ คือ ระยะห่างของจำนวนเต็มนั้น กับ 0 (ศูนย์) บนเส้นจำนวน ดังนั้นค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มจึงเป็นบวกเสมอ โดยมีสัญลักษณ์ คือ l l  

ตัวอย่างที่ 2   3  อยู่ห่างจาก  0  เป็นระยะทางกี่หน่วย

ค่าสัมบูรณ์ 3

ตอบ 3  อยู่ห่างจาก  0  เป็นระยะทาง  3  หน่วย  กล่าวว่า  ค่าสัมบูรณ์ของ  3  เท่ากับ  3 หรือ l3l = 3 

ตัวอย่างที่ 3   -3  อยู่ห่างจาก  0  เป็นระยะทางกี่หน่วย

ค่าสัมบูรณ์ 4

ตอบ  -3  อยู่ห่างจาก 0  เป็นระยะทาง  3  หน่วย  กล่าวว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -3 เท่ากับ  3  หรือ l-3l = 3 

ตัวอย่างที่ 4   4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 4 หน่วย

ค่าสัมบูรณ์5

ตอบ 4  อยู่ห่างจาก 0  เป็นระยะทาง  4  หน่วย  กล่าวว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 4 เท่ากับ 4 หรือ l4l = 4 

สรุป     ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะทางที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ จากตัวอย่างข้างต้น ทำให้สามารถหาจำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆได้  ลำดับต่อไปที่น้องๆต้องเรียนรู้คือ การบวกลบจำนวนเต็ม ซึ่งจะเป็นการฝึกน้องๆได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ และบวกลบจำนวนเต็มได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

คลิปวิดีโอ จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธีการหา จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบายตัวอย่างและสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Daily Conversation P6

บทสนทนาในชีวิตประจำวันที่ควรรู้

  สวัสดีค่ะนักเรียนป. 6 ที่รักทุกคน เมื่อก่อนการคุยกันผ่านออนไลน์ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าในปัจจุบันที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสถานการณ์ยุคโควิด เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเวลาที่เราออกไปไหนไม่ได้ บทสนทนาออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากแต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่ วันนี้ครูจะพาไปดูบทสนทนาที่อัพเดทแล้วในปัจจุบันรวมทั้งประโยคและวลีที่เราเจอบ่อยในชีวิตประจำวันทั้งชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์กันค่ะ ไปลุยกันเลยค่า      การเริ่มบทสนทนากับคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย     Hi/ Hello/ Is that …? = สวัสดี ที่นั่น ..(เบอร์/ สถานที่)… ใช่ไหม

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

แยกให้ออก บอกให้ถูกสำนวน สุภาษิต คำพังเพยแตกต่างกันอย่างไร?

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนภาษาไทยกันอีกเช่นเคย สำหรับวันนี้จะเป็นบทเรียนที่ทั้งสนุก มีสาระ และเป็นเนื้อหาที่เราต้องได้เจอบ่อย ๆ ในการเรียนภาษาไทยอย่างเรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย น้อง ๆ อาจจะเคยได้ผ่านหูผ่านตากันมาบ้างเพราะเป็นบทเรียนที่ได้เริ่มเรียนตั้งแต่ช่วงประถมศึกษาแล้ว แต่วันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเชิงลึกขึ้นไปอีกเกี่ยวกับวิธีการสังเกตระหว่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยนั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร มีตัวอย่างประกอบให้ทุกคนได้ดูด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็ไปลุยกับเนื้อหาของวันนี้ได้เลย   สำนวน สำนวน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1