การให้เหตุผลแบบนิรันัย
การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือ การมองจากสิ่งใหญ่ๆว่ามันเป็นจริง ทำให้สิ่งที่อยู่ในนั้น จริงตามไปด้วย
การสรุปผลของนิรนัยจะถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปที่สมเหตุสมผล
เช่น เราไปซื้อผลไม้ แล้วแม่ค้าบอกว่า ผลไม้กองนี้หวาน แสดงว่า ถ้าหยิบมา 2 ลูก เราสามารถบอกได้เลยว่า ผลไม้ 2 ลูกนั้นหวาน
การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น จะแตกต่างกับ การให้เหตุผลแบบอุปนัย
อุปนัย มองจากเล็ก ไปหา ใหญ่
นิรนัย มองจาก ใหญ่ ไปหา เล็ก
การตรวจสอบความสมเหตุสมผล ของการให้เหตุผลแบบนิรนัย
วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธี แต่พี่จะแนะนำการตรวจสอบที่ทำให้น้องๆเข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งก็คือตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
ถ้าแผนภาพที่เราวาด เป็นไปตามผลสรุป(ตามที่โจทย์บอก)ทุกกรณี แสดงว่า ผลสรุปนั้นสมเหตุสมผล
แต่ถ้าแผนภาพที่เราวาดนั้นไม่เป็นตามที่สรุปไว้ คืออาจจะมีบางกรณีที่ไม่จริง ผลสรุปนั้นจะไม่สมเหตุสมผล
เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ
ตัวอย่าง การให้เหตผลแบบนิรนัย
โจทย์เกี่ยวกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นโจทย์ที่ถ้าเราเข้าใจมันจะสนุกมากๆ ลองไปดูตัวอย่างกันค่ะ
1.)
เหตุ 1.สัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย
2. สุนัขเป็นสัตว์
ผล สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย
ตอบ การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล
คำอธิบาย การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือเราจะยอมรับว่าเหตุที่ 1 เป็นจริง แล้ว เหตุที่ 2 เกิดจากเราสร้างขึ้นมา เหมือนกับข้อนี้ ที่บอกว่าสัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย เราเลยสร้างเหตที่ 2 ขึ้นมาว่า ถ้าสุนัขเป็นสัตว์ล่ะ เราเลยสรุปผลว่า สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย
มาดูภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
2.)
เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำได้
2. ขวดลอยน้ำได้
ผล ขวดเป็นเรือ
ตอบ ไม่สมเหตสมผล
ข้อนี้เราจะใช้รูปภาพในการอธิบาย เพื่อไม่ให้น้องๆงงกันนะคะ
3.) เหตุ
- เด็กที่ขาดสารไอโอดีนทุกคนเป็นโรคคอพอก
- เด็กที่อยู่ไกลทะเลทุกคน ขาดสารไอโอดีน
- หมู่บ้าน ค อยู่ไกลจากทะเล
- ธิดา อยู่หมู่บ้าน ก
ผล. ธิดาเป็นโรคคอพอก
ตอบ ข้อความข้างต้นสมเหตุสมผล
อธิบายตัวอย่างข้างต้น
4.) เหตุ
- จำนวนนับทุกจำนวนเป็นจำนวนเต็ม
- จำนวนเต็มบางจำนวนเป็นจำนวนเต็มลบ
ผล จำนวนนับบางตัวเป็นจำนวนเต็มลบ
พิจารณา จากภาพ ดังนี้
4.) เหตุ
- ไม่มีจำนวนเฉพาะใดที่หารด้วย 2 ลงตัว
- 27 หารด้วย 2 ไม่ลงตัว
ผล. 27 เป็นจำนวนเฉพาะ
ตอบ ไม่สมเหตุสมผล
อธิบายด้วยภาพ ดังนี้
การให้เหตุผลแบบอุปนัย กับ การให้เหตุผลแบบนิรนัย
อุปนัย
ใช้ประสบการณ์ หรือทำซ้ำๆ แล้วคาดคะเนผลสรุป
ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
ผลสรุปอาจจะจริงหรือเท็จก็ได้
ยิ่งประสบการณ์มาก ผลสรุปยิ่งหน้าเชื่อถือ
น้องๆสามารถเข้าไปดูเนื้อหา การให้เหตุผลแบบอุปนัย ได้เลยนะคะ
นิรนัย
ยอมรับว่า เหตุที่ 1 เป็นจริง และสร้างเหตุการณ์ที่ 2 ขึ้นมา แล้วมาสรุปผล
ผลสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ มันสมเหตุสมผล
ตรวจการสมเหตุสมผลได้ด้วย แผนภาพ เวนน์-ออยเลอร์ (ตรวจสอบง่ายสุด)
วีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การให้เหตุผลแบบนิรัย