การวัดและความเป็นมาของการวัด

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดในหลายๆมิติ จนกระทั่งวิวัฒนาการที่ทำให้ได้ความแม่นยำในการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ
การวัด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดจึงได้มีการสื่อสารกันโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติการสื่อความหมายต่างๆ และได้มีวิวัฒนาการเครื่องมือและหลักการของการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมาเรื่อยๆ

ความหมายของการวัด

เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดไม่ว่าจะเป็นระยะทาง เวลาพื้นที่ หรือปริมาตร จึงได้มีการสื่อสารกันโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติการสื่อความหมายต่างๆ หลังจากนั้นได้มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย สำหรับการวัดความยาวมีวิวัฒนาการดังนี้ การวัดระยะทางจะใช้การบอกทางใกล้-ไกลโดยเปรียบเทียบกับธรรมชาติเช่น ไปอีกประมาณคุ้งน้ำ ต่อมาก็พัฒนามาเรื่อยๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นโดยใช้ส่วนของร่างกายเป็นเกณฑ์ เช่น นิ้ว ศอก คืบ วา แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเพราะคืบ วา ศอก ของแต่ละคน แต่ละชุมชนนั้นมีความยาวไม่เท่ากัน

ความเป็นมาของการวัด

วิวัฒนาการการวัดและเครื่องมือวัดเป็นมาตรฐานสากล

 

2.1 ระบบอังกฤษ กำหนดหน่วยความยาวเป็น นิ้ว ฟุต หลา และไมล์

2.2 ระบบเมตริก กำเนิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสกำหนดความยาวเป็นเซนติเมตร เมตร กิโลเมตรเป็นต้น

ประเทศไทยก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2466 โดยใช้ระบบเมตริกร่วมกับการวัดของไทยโดยเทียบเข้าหาระบบเมตริกดังนี้

 2 ศอก = 1 เมตร

1วา      =  2 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้กำหนดระบบวัดขึ้นมาใหม่เรียกว่าระบบหน่วยระหว่างประเทศหรือเรียกย่อ ๆ ว่าหน่วย SI เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหน่วย SI ได้กำหนดหน่วยรากฐานที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน 7 หน่วยคือ

เมตร (m) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความยาว

กิโลกรัม (kg) เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวล

วินาที (s) เป็นหน่วยที่ใช้วัดเวลา

แอมแปร์ (A) เป็นหน่วยที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า

เคลวิน (K) เป็นหน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ

แคนเดลา (d) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง

โมล (mol) เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาตรของสาร

สำหรับหน่วยวัดความยาวจากหน่วยรากฐานคือ เมตร จะสามารถเพิ่มหน่วยการวัดได้โดยการนำคำมาเพิ่มข้างหน้าเพื่อเพิ่มหน่วยวัดให้มากขึ้นเช่น เซนติเมตร (cm) กิโลเมตร (km) เท่ากับ 1,000 เมตรเป็นต้น นอกจากการมีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานแล้วในการวัดยังมีสิ่งสำคัญอีก 2 อย่างคือเครื่องมือที่ใช้วัดและคนวัด กล่าวคือถ้าเครื่องมือวัดได้มาตรฐานและคนวัดมีความแม่นยำ ค่าที่วัดได้ทุกครั้งก็มีความเที่ยงตรง

อย่างไรก็ตามในชีวิตประจำวันของเราไม่อาจนำเครื่องมือวัดติดตามไปได้ทุกที่เมื่อมีความจำเป็นต้องการทราบความยาวหรือปริมาณของสิ่งต่างๆก็ต้องใช้การคาดคะเน การคาดคะเน คือการบอกประมาณของปริมาณของสิ่งต่างๆโดยไม่ได้วัดจริงค่าที่ได้จากการคาดคะเนจะใกล้เคียงความเป็นจริมมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะของผู้คาดคะเน

คลิปตัวอย่างการวัดและความเป็นมาของการวัด

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M2 V. to be + ร่วมกับ Who WhatWhere + -Like + infinitive

การใช้ V. to be ร่วมกับ Who/ What/Where และ Like +V. infinitive

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to be + ร่วมกับ Who/ What/Where + -Like + infinitive ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สับสนบ่อย แต่ที่จริงแล้วง่ายมากๆ ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go ความหมาย    Verb to be

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก สัญลักษณ์แทนการบวก หรือ   เรียกว่า ซิกมา ( Sigma ) เราใช้เพื่อลดรูปการบวกกันของตัวเลข เนื่องจากว่าบางทีเป็นการบวกของจำนวนตัวเลข 100 พจน์ ถ้ามานั่งเขียนทีละตัวก็คงจะเยอะไป เราจึงจะใช้เครื่องหมายซิกมามาใช้เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนนั่นเอง เช่น 1 + 2 + 3 + 4 +5  สามารถเขียนแทนด้วย

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์ของความรักชาติที่ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลง

‘ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ เชื่อว่าพอขึ้นต้นด้วยประโยคนี้ จะต้องมีน้อง ๆ หลายคนอ่านเป็นทำนองแล้วร้องต่อในใจแน่นอนว่า ‘เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน’ เพราะนี่คือ เพลงชาติไทย ที่เราได้ยินตอนแปดโมงเช้ากับหกโมงเย็นของทุกวันนั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงความเป็นมา และความหมายของเพลงชาติไทยกันค่ะ มาดูพร้อมกันเลย   ประวัติความเป็นมาของ เพลงชาติไทย     ก่อนที่จะมีเพลงชาติไทย ประเทศไทยใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นเพลงประจำองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเพลงประจำชาติ จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ เราจะนำสมาชิกของเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์มาบวก ลบ คูณกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้มีสมบัติและข้อยกเว้นต่างกันไป เช่น การบวกต้องเอาสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เป็นต้น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์กันค่ะ การบวกเมทริกซ์ เมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันได้นั้น ต้องมีมิติเท่ากัน และการบวกจะนำสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เช่น 1.)  2.)    การลบเมทริกซ์ การลบเมทริกซ์จะคล้ายๆกับการบวกเมทริกซ์เลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1