บ่อยครั้งที่เรามักสับสนกับหน่วยต่าง ๆ มากมาย เช่น หน่วยของความยาว ซึ่งมีทั้งเซนติเมตร นิ้ว ฟุต หรือหน่วยของพื้นที่ ซึ่งมีทั้งตารางวา ตารางเมตร ไร่ หรือหน่วยของปริมาตร ซึ่งมีทั้งลูกบาศก์เซนติเมตร ออนซ์ ลิตร แล้วพื้นที่ 1 ไร่มีกี่ตารางเมตรล่ะ? ซึ่งหน่วยเหล่านี้ถูกแบ่งแยกเป็นกลุ่มตามระบบเมตริก อเมริกัน-อังกฤษ และไทย โดยสามารถเทียบเคียงเพื่อแปลงหน่วยในการนำไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์และความต้องการที่แตกต่างกันไปได้ ซึ่งจะทำให้เราทราบได้ว่าปริมาตร 1 ลิตร มีกี่ลูกบาศก์เซนติเมตรเป็นต้น
การวัดปริมาตรและน้ำหนัก
1.การวัดปริมาตรของรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เนื่องจากหน่วยการวัดปริมาตรเป็นลูกบาศก์หน่วย โดยหน่วยหมายถึง หน่วยความยาวของสิ่งที่เราวัดนั้นๆ เช่น
2.หน่วยการวัดปริมาตรและหน่วยการวัดน้ำหนัก
เนื่องจากหน่วยการวัดปริมาตรมีกันมาตั้งแต่โบราณจึงมีการใช้กันอยู่บ้างตามความนิยมหน่วยการวัดปริมาตรที่ควรรู้จักมีดังนี้
2.1 หน่วยวัดปริมาตรในระบบเมตริก
1 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1,000 ลูกบาศก์มิลลิลิตร
1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 มิลลิลิตร
1 ลิตร = 1,000 มิลลิลิตร= 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1,000 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เมตร
2.2 หน่วยวัดปริมาตรในระบบอังกฤษ
3 ช้อนชา = 1 ช้อนโต๊ะ
16 ช้อนโต๊ะ = 1 ถ้วยตวง
1 ถ้วยตวง = 8 ออนซ์
2.3 การเทียบปริมาตรระหว่างระบบอังกฤษกับเมตริก
1 ช้อนชา = 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 ถ้วยตวง = 240 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2.4 หน่วยการตวงแบบไทย
1 เกวียน = 100 ถัง
1 ถัง = 20 ลิตร
2.5 หน่วยการตวงแบบไทยเทียบกับระบบเมตริก
ข้าวสาร 1 ถังมีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม
ข้าวสาร 1 กระสอบมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม
2.6 หน่วยวัดน้ำหนักในมาตราเมตริก
1,000 มิลลิกรัม = 1 กรัม
1,000 กรัม = 1 กิโลกรัม
2.7 หน่วยวัดน้ำหนักในมาตราไทย
4 ไพ = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง = 1 สลึง
4 สลึง = 1 บาท
4 บาท = 1 ตำลึง
20 ตำลึง = 1 ชั่ง
ตัวอย่าง มีน้ำผลไม้อยู่ 1 กล่อง ขนาด 2 ลิตร และมีน้ำหนักสุทธิ 67.62 ออนซ์ ถ้าแบ่งน้ำผลไม้ใส่แก้วให้แต่ละแก้วมีจำนวน 200 มิลลิลิตรจะได้น้ำผลไม้หนักแก้วละกี่ออนซ์
ตัวอย่าง ผงซักฟอกกล่องหนึ่งมีขนาดกล่องกว้าง 18 เซนติเมตรยาว 20 เซนติเมตรสูง 25 เซนติเมตรมีผงซักฟอกบรรจุอยู่ 3ส่วน4 ของกล่อง ราคากล่องละ 188 บาทถ้านำออกมาใช้ครั้งละ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตรจะเป็นการนำออกมาใช้ครั้งละกี่บาท