การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้

ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน


ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น 

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้

วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น วันที่ เเละให้เเกน y เป็นจำนวนผลไม้ที่ถูกขาย
เเละใส่ตัวเลขใต้เส้นเเกน x เเละเเกน y ตามขนาดของข้อมูลที่อยู่ในตาราง

หลังจากนั้นให้เรานำข้อมูลมากำหนดจุดบนกราฟ โดยในเเต่ละจุด วันที่ เเละ จำนวนผลไม้ที่ถูกขาย ต้องตรงตามในตารางข้อมูล ดังรูปนี้

สุดท้ายลากเส้นเชื่อมกันระหว่างจุดที่เกิดขึ้น โดยเริ่มจากจุดเเรกสุดไปยังจุดสุดท้ายจะได้เป็น เส้นกราฟ เเละได้เป็นกราฟเส้นเเสดงข้อมูลของผลไม้ที่ถูกขาย

ตัวอย่างที่ 2 จากกราฟด้านล่างจงตอบคำถามต่อไปนี้

วิธีคิด ก่อนเริ่มตอบคำถามให้เริ่มต้นด้วยการหาจำนวนการส่งออกของเเต่ละปี เเล้วเขียนลงบนจุดในกราฟเส้นของโจทย์

คำถามที่ 1 ปีพ.ศ. 2560 มีการส่งออกข้าวสารจำนวนเท่าใด

ตอบ 37 ล้านตัน

คำถามที่ 2 ปีที่มีจำนวนการส่งออกเท่ากัน เเละส่งออกเป็นจำนวนเท่าใด

ตอบ ปีพ.ศ. 2560 กับ พ.ศ. 2564 เเละส่งออกเป็นจำนวน 37 ล้านตัน

คำถามที่ 3 การส่งออกข้าวสารตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2565 มีการเปลี่ยนเเปลงอย่างไร

ตอบ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตั้งเเต่ปีพ.ศ. 2558 จนถึง ปีพ.ศ. 2562 เเละค่อย ๆ ลดลงหลังจากปีพ.ศ. 2562 จนถึงปีพ.ศ. 2565

คำถามที่ 4 ปีพ.ศ. ใดที่เริ่มมีการส่งออกข้าวสารลดลง

ตอบ ปีพ.ศ. 2563

คำถามที่ 5 ปีที่มีจำนวนการส่งออกข้าวสารเปลี่ยนเเปลงจากปีก่อนมากที่สุด คือปีใด เเละเพราะเหตุใด

ตอบ ปีพ.ศ. 2563 เป็นเพราะว่ามีการส่งออกข้าวสารลดลงจากปีพ.ศ. 2562 ทั้งหมด 9 ล้านตัน

คำถามที่ 6 หากนักวิชาการคาดว่าปีพ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะมีการส่งออกเพิ่มจากปีพ.ศ. 2565 คิดเป็น 150% อยากทราบว่าจำนวนส่งออกข้าวสารของปีพ.ศ. 2566 จะมีจำนวนเท่าใด

วิธีทำ จำนวนการส่งออกข้าวสารปีพ.ศ. 2565 มีจำนวน 36 ล้านตัน
จะได้ว่า จำนวนการส่งออกข้าวสารปีพ.ศ. 2566 จะมีค่า   = (150 x 36 ล้านตัน)/100

= 54 ล้านตัน

ตอบ 54 ล้านตัน

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น จะเห็นได้ว่ากราฟเส้นจะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่า เราสามารถรู้ได้ว่ากราฟเส้นนี้ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง หรือ คงที่ ทำให้เห็นเเนวโน้มต่าง ๆ ของข้อมูล

บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น มีส่วนสำคัญในการคาดการณ์อนาคตที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลนั้น ๆ เช่น การคาดการณ์ราคาของหุ้น, การคาดการณ์ระดับความสูงของน้ำในประเทศ, การคาดการณ์ราคาน้ำมันของตลาดโลก เป็นต้น

ในส่วนของการสร้างกราฟเส้นเเละตัวอย่างการเเปรความหมายน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอนี้


คลิปวิดีโอ การนำเสนอข้อมูลเเละเเปรความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำเชื่อม Conjunction

คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ (Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ หรือ Conjunctions” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ความหมาย Conjunctions คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม Time and tide wait for no man. เวลาและวารีไม่เคยรอใคร

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น  ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้ วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ เทคนิคที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่เราอ่านหนังสือเรียนจบแต่เมื่อถึงเวลาไปสอนกลับจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้เลย เพราะแท้จริงการอ่านเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจแก่นของเรื่องที่อ่านจริง ๆ ก็คือการจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้นั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้จะพาน้องไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อช่วยให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำให้เสียเวลาเลยค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   การอ่านจับใจความ   เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด  

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ บทอาขยานที่ควรค่าแก่การจำ

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ คงได้เรียนวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง แต่ละเรื่องก็อาจจะมีการใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่ต่างกันออกไป หรือซ้ำกันบ้าง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ ก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่อยู่ในแบบเรียนของน้อง ๆ แต่ความพิเศษคือลักษณะคำประพันธ์ที่น้อง ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11 จะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ   บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีเนื้อหาแสดงคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ ประพันธ์ขึ้นโดย

โจทย์ปัญหาการหารทศนิยม

บทความนี้เป็นเรื่องการวิเคราห์โจทย์ปัญหาการหารทศนิยม ซึ่งโจทย์ที่นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเขียนประโยคสัญลักษณ์ รวมไปถึงการสดงวิธีทำ หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน

สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการกระจายของข้อมูล ซึ่งค่ากลางของข้อมูลจะประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ส่วนการวัดการกระจายของข้อมูลจะศึกษาในเรื่องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งน้องๆสามารถทบทวน การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ได้ที่  ⇒⇒  การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ⇐⇐ หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยในทางคณิตศาสตร์มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวัดค่ากลางของข้อมูล  เป็นการหาค่ากลางมาเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีที่นิยมกัน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1