การตั้งคําถามทางสถิติ
บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ”
คำถามทางสถิติ หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น
คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
- ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
- มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย
- สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน
ตัวอย่างคำถามทางสถิติ
คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ
- อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร
- ประเทศไทยมีวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้นเท่าไร
- เดืือนธันวาคมในเขตกรุงเทพมหานครมีฝนตกปริมาณเท่าไร
ตัวอย่าง ข้อความต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติหรือไม่ เพราะเหตุใด
1) ในหนึ่งสัปดาห์กิตติกรกินขนมหวานกี่ชาม
ตอบ ไม่เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว นอกจากนี้กลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วยมีเพียงกิตติกรเท่านั้น
2) ใน พ.ศ.2560 รายได้เฉลี่ยของประชากรไทยเป็นเท่าใด
ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ รายได้เฉลี่ยของประชากรไทย มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ ประชากรไทย ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน
3) นักเรียนในห้องนี้ เกิดเดือนไหนบ้าง
ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ เดือนที่นักเรียนเกิด มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ นักเรียนในห้อง ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม
4) อายุการใช้งานของหลอดไฟตราจีน่าเป็นเท่าใด
ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ อายุการใช้งานของหลอดไฟตราจีน่า มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ หลอดไฟตราจีน่า ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน
5) ครูอุ๊ชอบดอกไม้ชนิดไหนบ้าง
ตอบ ไม่เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว นอกจากนี้กลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วยมีเพียงครูอุ๊เท่านั้น
ประเภทของคำถามทางสถิติ
คำถามทางสถิติแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ คำถามพื้นฐาน คำถามเชิงสรุป คำถามเชิงเปรียบเทียบ คำถามเชิงความสัมพันธ์
คำถามพื้นฐาน
ตัวอย่างคำถาม : ดัชนีมวลกายของนักศึกษาในห้องนี้เป็นเท่าใด
เป็นคำถามที่ทำให้ได้ชุดของคำตอบ 1 ชุด ซึ่งเป็นคำตอบที่ผู้ตอบสามารถตอบได้ตามสภาพที่เป็นจริงหรือตามความคิดเห็นของตนเอง
คำถามเชิงสรุป
ตัวอย่างคำถาม : นักศึกษาในห้องนี้ มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ สมส่วนมีจำนวนกี่คน
เป็นคำถามเพื่อหาข้อสรุปเป็นภาพรวมที่ต้องใช้คำตอบต่อจากคำถาม ขั้นพื้นฐานมาจัดจำแนก คำนวณ หรือวิเคราะห์ก่อน จึงสรุปตอบเป็นภาพรวมได้
คำถามเชิงเปรียบเทียบ
ตัวอย่างคำถาม : จำนวนนักศึกษาในห้องนี้ ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนมากกว่าจำนวนนักศึกษาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ผอมใช่หรือไม่
เป็นคำถามที่ต้องใช้คำตอบจากคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 ชุด นำมาจัดจำแนก คำนวณ หรือวิเคราะห์เปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุป
คำถามเชิงความสัมพันธ์
ตัวอย่างคำถาม จำนวนนักศึกษาในห้องนี ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติกับจำนวนนักศึกษาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ผอม มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
เป็นคำถามที่ต้องใช้คำตอบจากคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 ชุด เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลนั้น ๆ
บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนสถิติในระดับชั้น ม.3 ซึ่งน้องๆ
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐