กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้ได้แนะนำการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ของอสมการทั้ง 5 สัญลักษณ์ คือ มากกว่า (>), น้อยกว่า (<), มากกว่าหรือเท่ากับ (≥), น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ ไม่ท่ากับ(≠) โดยเขียนแสดงบนเส้นจำนวน

จุดทึบและจุดโปร่ง

เราจะเลือกใช้จุดทึบ (•) และจุดโปร่ง (°) แทนสัญลักษณ์อสมการ ดังนี้

มากกว่า (>) ใช้จุดโปร่ง

น้อยกว่า (<) ใช้จุดโปร่ง

ไม่ท่ากับ (≠) ใช้จุดโปร่ง

มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) ใช้จุดทึบ

น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) ใช้จุดทึบ

สรุป  

จุดโปร่ง ใช้แทนสัญลักษณ์ มากกว่า (>)  น้อยกว่า (<)  และ ไม่ท่ากับ (≠)

จุดทึบ ใช้แทนสัญลักษณ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ มากกว่าหรือเท่ากับ (≥)

ตัวอย่างการเขียนกราฟ(เส้นจำนวน)

ตัวอย่างที่ 1  จงเขียนกราฟแสดงคำตอบของอสมการต่อไปนี้

1)   x  ≥  14

อธิบายเพิ่มเติม มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) เขียนจุดทึบ ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางขวากราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

 

 

2)   a  <  -5

อธิบายเพิ่มเติม น้อยกว่า (<) ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางซ้าย

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว2

 

 

 

3)   x  ≠ 9

อธิบายเพิ่มเติม ไม่ท่ากับ (≠) ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางซ้ายและขวา

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว3

 

 

 

4)   -7 < x < 7

    อธิบายเพิ่มเติม อ่านว่า x มากกว่า – 7 แต่น้อยกว่า 7 ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนเชื่อมระหว่างจุดสองจุด

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว4

 

 

 

5)   -9 ≤ x ≤ 18   

    อธิบายเพิ่มเติม อ่านว่า x มากกว่าหรือเท่ากับ – 9 แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 ใช้จุดทึบ ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนเชื่อมระหว่างจุดสองจุด

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว5

 

 

 

ตัวอย่างที่ 2  จงหาว่ากราฟแสดงคำตอบในแต่ละข้อต่อไปนี้แสดงจำนวนใดบ้าง

 1กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนตั้งแต่ –10 จนถึง 40  หรือเขียนแทนด้วย –10 ≤ x ≤ 40

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ  –20  หรือเขียนแทนด้วย  x  ≥  – 20

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่า -15  หรือเขียนแทนด้วย x  >  – 15

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 20  หรือเขียนแทนด้วย x ≠ 20

ตอบ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 8  หรือเขียนแทนด้วย  x  <  8

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 0  หรือเขียนแทนด้วย x ≠ 0

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่องการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เส้นจำนวน จะทำให้น้องๆสามารถเขียนกราฟของอสมการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถเลือกใช้จุดทึบและจุดโปร่งแทนสัญลักษณ์ของอสมการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งน้องๆสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปต่อยอดในการเรียนเรื่องอสมการในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อสมการ ⇐⇐

วิดีโอ กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวม การเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค ที่จะทำให้น้องๆมองวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้ จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ) ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1