หลักการคูณทศนิยม พร้อมตัวอย่างที่เข้าใจง่าย

บทความนี้จะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการคูณทศนิยมในแต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งอธิบายหลักการและยกตัวอย่างวิธีคิดในแต่ละรูปแบบของการคูณทศนิยม ให้น้อง ๆสามารถนำไปปรับใช้กับการหาคำตอบจากแบบฝึกหัดในห้องเรียนได้จริง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทศนิยมมีค่าประจำหลักเป็นเศษส่วน ซึ่งเมื่อนำทศนิยมคูณด้วยทศนิยมผลลัพธ์ที่ได้ออกจะมีจะตำแหน่งของทศนิยมที่เปลี่ยนไป ตามหลักการคูณทศนิยมที่กล่าวไว้ดังนี้ “จำนวนตำแหน่งของทศนิยมของผลคูณต้องเท่ากับตำแหน่งของทศนิยมของตั้วตั้งและตัวคูณรวมกัน”

รูปแบบการคูณทศนิยม มีทั้งหมด 2 รูปแบบ

1.การคูณทศนิยมกับจำนวนเต็ม

หลักการคูณทศนิยมกับจำนวนเต็มนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี

1.1 วิธีตั้งคูณ

สิ่งสำคัญของการตั้งคูณคือ ต้องว่างจุดทศนิยมที่ตำแหน่งเดิมและทำการคูณตัวเลขตามหลักการคูณของจำนวนเต็มปกติ

คูณทศนิยมกับจำนวนเต็ม

1.2 วิธีแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วน

วิธีนี้ใช้หลักการคูณเศษส่วนในการคำนวณ โดยเมื่อทำทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้ว ต้องทำให้จำนวนเต็มเป็นเศษส่วนด้วย ซึ่งตัวส่วนของจำนวนเต็มจะมีค่าเป็น 1 เสมอ จากนั้นก็ทำการคูณโดยนำตัวเศษคูณด้วยตัวเศษ และตัวส่วนคูณด้วยตัวส่วน เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วต้องแปลงกลับเป็นเป็นทศนิยมอีกครั้ง

ตัวอย่างคูณทศนิยม

 

2.การคูณทศนิยมกับทศนิยม

หลักการคูณทศนิยมกับทศนิยมนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี

2.1 วิธีตั้งคูณ

  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง
  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง แต่จะมีบางกรณีที่ผลคูณมีตัวเลข 0 เป็นเลขสุดท้าย จะทำให้ตำแหน่งของทศนิยมลดลงได้
  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 5 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 5 ตำแหน่ง แต่จะมีบางกรณีที่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่ถึง 5 ตัวเลข ต้องทำการเติมเลข 0 ข้างหน้าผลลัพธ์ เพื่อทำให้ครบ 5 ตำแหน่ง

ทศนิยม

2.2 วิธีแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วน

วิธีนี้ใช้หลักการคูณเศษส่วนในการคำนวณ โดยเมื่อทำทศนิยมของตัวตั้ง และตัวคูณให้เป็นเศษส่วนแล้ว จากนั้นก็ทำการคูณโดยนำตัวเศษคูณด้วยตัวเศษ และตัวส่วนคูณด้วยตัวส่วน เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วต้องแปลงกลับเป็นเป็นทศนิยมอีกครั้ง โดยตำแหน่งของทศนิยมสามารถดูจากจำนวน 0 ที่เป็นผลลัพธ์ของการคูณตัวส่วน

คูณเศษส่วน

 

คลิปตัวอย่างการคูณทศนิยม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสาร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้?

ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้วทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีเรื่องไหนที่ควรรู้และควรระวัง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรก็ไปดูกันเลยค่ะ   การสื่อสาร คืออะไร?   เป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ให้มีความเข้าใจตรงกัน     การสื่อสารสำคัญอย่างมากตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงอุตสาหกรรม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนเรื่อง ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time Expressions ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1