ลบไม่ได้ช่วยให้ลืม เช่นเดียวกับการลบเศษส่วนและจำนวนคละ!

บทความที่แล้วเราได้กล่าวถึงการบวกเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการลบเศษส่วนและจำนวนคละ ทั้งสองเรื่องนี้มีหลักการคล้ายกันต่างกันที่เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าโจทย์ต้องการทราบอะไร ดังนั้นบทความนี้จะอธิบายถึงหลักการลบเศษส่วนและจำนวนคละอย่างละเอียดและยกตัวอย่างให้น้อง ๆเข้าใจอย่างเห็นภาพและสามารถนำไปปรับใช้กับแบบฝึกหัดเรื่องการลบเศษส่วนและจำนวนคละได้

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การบวกลบจำนวนเต็มเป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ท่มีในหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์มาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล แต่การบวกลบเศษ่วนและจำนวนคละจะแตกต่างจากการบวกลบจำนวนเต็ม ที่ไม่สามารถนำตัวเลขมาบวกลบกันได้เลย เพราะมีสิ่งที่ต้องพิจารณาแตกต่างออกไปอีกหลายประการ ซึ่งจะมีอะไรบ้างเราจะมาอธิบายกันในบทความนี้

หลักการลบเศษส่วนมี 3 ประการ

  1. หา ค.ร.น. ของตัวส่วน หรือหาตัวเลขที่จะต้องคูณเพื่อทำให้ตัวส่วนเท่ากับตัวเลขนั้นลบเศษส่วน
  2. ทำตัวส่วนของให้เท่ากันก่อนที่จะนำเศษส่วนมาลบกันค.ร.น.ของตัวส่วน
  3. ลบเศษส่วนโดยลบเฉพาะตัวเศษ ตัวส่วนยังคงเหมือนเดิมการลบเศษส่วน

 

รูปแบบของการลบเศษส่วนและจำนวนคละ

1.การลบเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนเท่ากัน

การลบเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนเท่ากัน สามารถนำจำนวนนับลบกับจำนวนนับและเศษส่วนบลบกันเศษส่วนได้เลย  แต่ข้อควรระวังในการลบเศษส่วนต้องตรวจสอบก่อนว่าเศษส่วนที่อยู่ข้างหน้าต้องมากกว่าเศษส่วนที่อยู่ข้างหลังจึงจะสามารถลบกันได้เลย แต่ถ้าเศษส่วนน้อยกว่าตัวข้างหลังต้องทำการแปลงจำนวนคละให้เป็นเศษเกินทั้งหมดก่อนจึงจะสามารถลบกันได้ลบเศษส่วนจำนวนคละ

 

2.การบวกเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน

การลบเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน ต้องทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อนจึงจะสามารถนำตัวเศษมาลบกันได้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นเรื่องหลักการบวกเศษส่วน 3 ประการ จากนั้นต้องตรวจสอบเศษส่วนของตัวข้างหน้าว่าน้อยกว่าเศษส่วนตัวข้างหลังหรือไม่ ถ้ามากกว่าสามารถลบเศษส่วนได้เลยลบเศษส่วน

 

3.การบวกจำนวนคละและเศษเกิน

การลบจำนวนคละและเศษเกินสามารถทำได้ 2 วิธี คือเปลี่ยนเศษเกินให้เป็นจำนวนคละแล้วใช้หลักการลบจำนวนคละกับจำนวนคละ หรือเปลี่ยนจำนวนคละให้เป็นเศษเกินแล้วใช้หลักการลบเศษส่วนแต่วิธีนี้หลังจากลบเศษส่วนเสร็จแล้วและผลลัพธ์ออกมาเป็นเศษเกินต้องทำการแปลงให้เป็นจำนวนคละด้วยจึงจะทำให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์โจทย์การลบเศษส่วน

วิธีที่ 1 แปลงเศษเกินให้เป็นจำนวนคละ

 

การลบเศษส่วน

วิธีที่ 2 แปลงจำนวนคละให้เป็นเศษเกิน


สรุปเรื่องการลบเศษส่วนและจำนวนคละ หลักการมี 3 ขั้นตอนและรูปแบบการลบเศษส่วนและจำนวนคละนั้นมี 3 รูปแบบ ดังที่อธิบายและยกตัวอย่างวิธีคิดในบทความข้างบน ข้อควรระวังก็คือการตรวจสอบเศษส่วนก่อนจะลบ เพราะถ้านำเศษส่วนที่น้อยกว่าลบเศษส่วนที่มากกว่าแล้วคำตอบอาจจะผิดได้ หากน้อง ๆ เข้าใจขั้นตอนของการลบเศษส่วนไม่ว่าโจทย์จะเป็นการลบในรูปแบบไหนก็จะสามารถทำโจทย์การลบเศษส่วนและจำนวนคละได้ถูกต้องอย่างแน่นอน

คลิปตัวอย่างเรื่องการลบเศษส่วนและจำนวนคละ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

เรขาคณิตสามมิติ

เรขาคณิตสามมิติ

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้กับรูปเรขาคณิตสามมิติและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

M3 Past Passive

Past Passive คืออะไร

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   Past Passive คืออะไร   Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจากโครงสร้างของ Passive voice (ประโยคที่ประธานถูกกระทำ เน้นกรรม) เมื่อนำมารวมกันแล้วPast

การหมุน

การแปลงทางเรขาคณิตโดยการหมุน ( Rotation ) เป็นการแปลงที่จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ไปเป็นมุมเดียวกันรอบจุดตรึงอยู่กับที่ ที่กำหนดหรือจุดหมุน การหมุนจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาหรือตามเข็มนาฬิกา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1