การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่

จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว, น้ำหนัก, ส่วนสูง, และอายุ เป็นต้น
  2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัด และแสดงเป็นตัวเลขไม่ได้โดยตรง แต่อธิบายลักษณะหรือคุณสมบัติเชิงคุณภาพได้ (เป็นข้อความหรือตัวเลข) เช่น เพศ, ศาสนา, และคุณภาพสินค้า เป็นต้น

ตัวอย่าง เรามีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับน้องหมาตัวนี้บ้าง

ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data):

                          • น้องมี 4 ขา
                          • น้องมี 2 ตา
                          • น้องมี 2 หู

ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data):

                          • น้องมีสีดำและสีน้ำตาล
                          • น้องมีขนยาว
                          • น้องเป็นเพศผู้

จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ บุคคล เช่นผู้ให้สัมภาษณ์, ผู้กรอกแบบสอบถาม, เอกสารทุกประเภท, และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึงภาพถ่าย แผนที่ หรือแม้กระทั่งวัตถุ สิ่งของ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมมาโดยตรงจากแหล่งของข้อมูล เช่น การสอบถาม, การสัมภาษณ์, การทดลอง เป็นต้น
  2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งของข้อมูล แต่ได้จากการรวบรวมข้อมูลของผู้อื่นที่ได้มีการทำการเก็บข้อมูลไว้แล้ว เช่น เอกสาร, รายงาน, หนังสือ, ข้อมูลที่หน่วยงานได้จัดทำไว้ เป็นต้น

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยทั่วไปสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้หลากหลายวิธี ได้แก่

  • การสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง สามารถมีได้หลายรูปแบบ เช่น การสัมภาษณ์โดยตรง, การใช้แบบสอบถาม, การทำโพล (Poll) เป็นต้น
  • การทดลอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติจริงและสามารถกำหนดตัวแปรที่ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาได้
  • การสังเกต เป็นการสังเกตและจดบันทึกในสิ่งที่เราสนใจเอาไว้
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เช่น หนังสือ, บทความ, เอกสารงานวิจัย เป็นต้น

การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของประเภทข้อมูลและคำถามทางสถิติที่เราสนใจ โดยต้องคำนึงถึงหลักสำคัญดังนี้

    1. ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปตอบคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้หรือไม่
    2. แหล่งข้อมูลเหมาะสมกับคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้ไหม
    3. จะดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างไร

การตั้งคำถามทางสถิติที่ดีน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ –> การตั้งคำถามทางสถิติ


ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

คำถามที่ 1 เด็กนักเรียนในโรงเรียนสิงโตวิทยาเดินทางมาโรงเรียนด้วยวิธีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การสังเกต และใช้แบบฟอร์มจดบันทึกในทุก ๆ เช้าด้านหน้าโรงเรียน

           ตัวอย่างเเบบฟอร์มจดบันทึก

 วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยทำแบบสอบถามเพื่อน ๆ ในโรงเรียนโดยการสุ่มเพื่อน ๆ ในโรงเรียน

 ตัวอย่างเเบบสำรวจ

คำถามที่ 2 ปริมาณของน้ำมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นถั่วหรือไม่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การทดลอง เช่น เราสามารถปลูกต้นถั่ว 3 ต้น โดยให้ปริมาณน้ำที่ต่างกันและบันทึกความสูงของต้นถั่วทุก ๆ สัปดาห์ เเล้วนำข้อมูลมาสรุปผลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

           วิธีที่ 2.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว ในกรณีที่มีคนเคยทดลองและมีแหล่งข้อมูลแล้ว

คำถามที่ 3 นักเรียนห้อง A ชอบสีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ    วิธีที่ 1.) การสำรวจ โดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถามโดยตรงกับนักเรียนในห้อง A

            วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ก็สามารถนำข้อมูลมาตอบคำถามทางสถิติที่เราตั้งไว้ได้

คำถามที่ 4 จำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนในแต่ละวันเป็นเท่าไหร่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว โดยการสอบถามบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน ในโรงเรียนส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะมีการเก็บข้อมูลการใช้งานห้องสมุดด้วยวิธีการต่าง ๆ ไว้อยู่แล้ว เช่น การใช้แผงกั้นสำหรับนับจำนวน, การเขียนชื่อในสมุดก่อนเข้าใช้ห้องสมุด, การแสกนบัตรนักเรียนก่อนใช้งาน เป็นต้น

 วิธีที่ 2.) การสังเกต โดยการนับจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วยตนเองแล้วจดบันทึก

คำถามที่ 5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   การทำแบบสอบถาม โดยอาจจะมีการประเมินเป็นระดับเกณฑ์ 1 ถึง 5 หรืออาจจะใช้เป็นระดับความพึงพอใจเช่น น้อย, ปานกลาง, มาก เป็นต้น


สุดท้ายนี้การเลือกใช้วิธีการใดในการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมการเก็บรวบรวมข้อมูล ไม่มีวิธีใดผิด หากจะต้องเก็บข้อมูลความสูงของต้นไม้ เราคงไม่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่หากเราจะเก็บข้อมูลความสูงของเพื่อนในห้องเราก็สามาถใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนทางสถิติที่มีความสำคัญมาก หากข้อมูลที่ได้รับเกิดความผิดพลาดน้อยก็จะส่งผลให้การนำข้อมูลไปนำเสนอและวิเคราะห์ต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คลิปวิดีโอ การเก็บรวบรวมข้อมูล

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การเก็บรวบรวมข้อมูล ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งอสมการ เป็นประโยคที่แสดงถึงการไม่เท่ากัน โดยมีวิธีการหาคำตอบคล้ายๆกับสมการ น้องๆสามารถศึกษาบทความเรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อศึกษาวิธีการแก้สมการและนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้อสมการเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว⇐⇐ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว        อสมการ (inequality) เป็นประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  <, >, ≤, ≥ หรือ ≠  แสดงความสัมพันธ์         อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ศึกษาที่มาของ ขัตติยพันธกรณี บทประพันธ์ที่มาจากเรื่องจริงในอดีต

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าเกี่ยวกับเรื่องไหน เหตุใดพระองค์จึงต้องพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นมา เราไปหาคำตอบถึงที่มา ความสำคัญ และเนื้อเรื่องกันเลยค่ะ รับรองว่านอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับบทประพันธ์แล้ว บทเรียนในวันนี้ยังมีเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้น้อง ๆ อีกด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของ ขัตติยพันธกรณี     ขัตติยพันธกรณีมีความหมายถึงเหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตอบกลับโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ ช่วง

ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสาร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้?

ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้วทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีเรื่องไหนที่ควรรู้และควรระวัง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรก็ไปดูกันเลยค่ะ   การสื่อสาร คืออะไร?   เป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ให้มีความเข้าใจตรงกัน     การสื่อสารสำคัญอย่างมากตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงอุตสาหกรรม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ

การเขียนแนะนำความรู้

เขียนแนะนำความรู้อย่างไรให้น่าอ่าน แค่ทำตามหลักการต่อไปนี้

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนภาษาไทย วันนี้เราได้เตรียมสาระความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนมาให้น้อง ๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์กัน โดยเนื้อหาที่เราจะมาเรียนในวันนี้จะเป็นเรื่องของการเขียนเพื่อแนะนำความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้อ่าน ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจหลักการง่าย ๆ ที่จะนำไปใช้ในการเขียนให้ความรู้ผู้อื่น โดยที่น้อง ๆ สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้ หรือใช้กับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้เลย เป็นพื้นฐานการเขียนที่เด็ก ๆ ทุกคนควรได้รับการฝึกฝนจะได้นำไปเขียนได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่บทเรียนวันนี้กันเลยดีกว่า    

M6 Phrasal Verbs

Phrasal Verbs 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Phrasal Verbs  Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป ไม่เป็นทางการมาก ข้อดีคือจะทำให้ภาษาใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากขึ้นนั่นเองจ้า

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1