การวัดพื้นที่ ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้มาตราต่างๆของหน่วยในระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสูตรต่างๆที่ใช้ในการหาพื้นที่ เพื่อให้เราได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โดยทั่วไปพื้นที่จะใช้ในการบอกขนาดของเนื้อที่ ซึ่งใช้หน่วยการวัดพื้นที่เป็นตารางหน่วย หรือตามหน่วยการวัดความยาว การเปลี่ยนหน่วยการวัดพื้นที่ในระบบหรือมาตราเดียวกัน สามารถคำนวณได้จากการเปลี่ยนหน่วย การวัดความยาวตามความสัมพันธ์ของหน่วยในระบบหรือมาตรานั้น การเปรียบเทียบพื้นที่ที่มีหน่วยการวัดพื้นที่ต่างระบบหรือต่างมาตรา จำเป็นต้องทำให้มีหน่วยการวัดพื้นที่เป็นอย่างเดียวกันก่อน

หน่วยการวัดพื้นที่

พื้นที่เป็นการบอกขนาดของเนื้อที่เช่นขนาดของที่นาเนื้อที่ของสนามหญ้าก็จะต้องใช้การคำนวณหาพื้นที่และบอกเป็นหน่วยของการวัดพื้นที่ หน่วยการวัดพื้นที่ที่สำคัญที่นักเรียนควรรู้จักมีดังนี้

  • ระบบเมตริก

1 ตารางเซนติเมตร = 100 ตารางมิลลิเมตร

1 ตารางเมตร = 10,000 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางกิโลเมตร = 1,000,000 ตารางเมตร

  • ระบบอังกฤษ

1 ตารางฟุต = 144 ตารางนิ้ว

1 ตารางพลา = 9 ตารางฟุต

1 เอเคอร์ = 4,840 ตารางหลา

1 ตารางไมล์ = 640 เอเคอร์

  • มาตราไทย

100 ตารางวา = 1 งาน

4 งาน = 1 ไร่

400 ตารางวา = 1 ไร่

  • หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก

1ตารางวา = 4 ตารางเมตร

1 งาน = 400 ตารางเมตร

 1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร

 1 ตารางกิโลเมตร = 625 ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ)

1 ตารางนิ้ว = 6.4516 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางฟุต = 0.0929 ตารางเมตร

1 ตารางหลา = 0.8361 ตารางเมตร

1 เอเคอร์ = 4,046.856 ตารางเมตร (2.529 ไร่)

1 ตารางไมล์ = 2.5899 ตารางกิโลเมตร

 

การคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่

    • พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

บทนิยามรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากคือรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉากรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมี 2 ชนิดคือ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสคือรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคือรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านกว้างไม่เท่ากับด้านยาว

สมบัติทั่วไปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

  1. มุมทุกมุมกาง 90 องศา
  2. ค้านตรงข้ามยาวเท่ากันและขนานกัน
  3. เส้นทแยงมุมเท่ากันและแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
  4. เส้นทแยงมุมแบ่งรูปสี่เหลี่ยมเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 รูปที่เท่ากันทุกประการ

พื้นที่สี่เหลี่ยม

ถ้าให้รุปสี่เหลี่มมุมฉากมีด้านกว้าง a หน่วย ยาว b หน่วย

พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก = กว้าง x ยาว

= a x b ตารางหน่วย

= ab ตารางหน่วย

ถ้ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาว a หน่วย จะได้ว่า

พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน x ด้าน

= a x a ตารางหน่วย

เส้นรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านกว้าง a หน่วย ยาว b หน่วย

จะมีความยาว = a + a + b + b

= 2 (a + b) หน่วย

แต่ถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส a = b

ดังนั้นความยาวเส้นรอบรูป = a + a + a + a = 4a หน่วย

  • พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมใดๆ

วัดพื้นที่

พื้นที่สามเหลี่ยม

  • พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมใดๆ

สี่เหลี่ยมต่างๆ

คลิปตัวอย่างการวัดพื้นที่

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Pronunciation Matters: มาเรียนรู้การออกเสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษกันเถอะ

เชื่อว่าน้องๆ หลายคนที่เรียนภาษาอังกฤษจะต้องได้เรียนการออกเสียงที่ถูกต้องทั้งเสียงพยัญชนะและสระกันมาแล้วบ้าง วันนี้เราจะมาทบทวนและดูตัวอย่างเสียงพยัญชนะ (Consonant Sounds) ในภาษาอังกฤษกันว่าตัวไหนออกเสียงแบบใดได้บ้าง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ไว้หลากหลายตัวอย่าง ซึ่งแสดงวิธีคิดอย่างละเอียด สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะต้องใช้สัญลักษณ์ของอสมการแทนคำเหล่านี้ <   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่า หรือไม่ถึง >   แทนความสัมพันธ์มากกว่า หรือเกิน ≤   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ หรือไม่เกิน ≥  แทนความสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับ

Comparison of Adjectives การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 5 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง Comparison of Adjectives หรือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลย ความหมาย Comparison of Adjectives คือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ ที่ใช้ในการเปรียบเทียบคน สัตว์ สิ่งของ หรือ อื่นๆ

ทริคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างง่าย ๆ

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้วก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนเหมือนอย่างทุกวันนี้ แหล่งการสืบค้นหลัก ๆ จะอยู่ที่ห้องสมุด แต่ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเพียงคลิกปลายนิ้ว ข้อมูลที่ต้องการค้นหาก็มาปรากฏอยู่ตรงหน้าให้เลือกสรรมากมาย แต่เราจะมีวิธีการเลือกสืบค้นข้อมูลกันอย่างไร ถึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด บทเรียนในวันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การหาข้อมูลสำหรับการเรียนของน้อง ๆ นั้นง่ายขึ้น เราไปเรียนรู้เรื่อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กันเลยค่ะ   การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต   เป็นการค้นคว้าหาความรู้โดยใช้สารสนเทศในลักษณะต่าง ๆ โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมภาพและข้อมูลต่าง ๆ    

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้ จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ) ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1