การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร

ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ

ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง:
1. ชื่อแผนภูมิ
2. จำนวน
3. ชื่อรายการ
4. แท่งเเสดงข้อมูล
5. ประเภทของข้อมูล

โดยแผนภูมิด้านบนเเสดงถึงจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการในห้องสมุดเเบ่งกลุ่มเป็นเดือน เเละมีเเท่งเเสดงข้อมูล สีส้ม, สีเหลือง, เเละสีเขียว เเสดงข้อมูลของนักเรียนชั้น ม.1, ม.2, เเละ ม.3 ตามลำดับ ซึ่งแผนภูมิที่ได้น้อง ๆ สามารถนำไปแปลความหมายเป็นข้อมูลต่าง ๆ ได้


ตัวอย่างการเเปรความหมายเเผ่นภูมิเเท่ง

ตัวอย่างที่ 1 จากเเผนภูมิด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม มีทั้งหมดกี่คน

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 (เเท่งสีเขียว) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดตั้งเเต่เเต่เดือน มกราคม ถึง เมษายน มีค่าเท่ากับ
= จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 เดือนมกราคม  + เดือนกุมภาพันธ์ + เดือนมีนาคม + เดือนเมษายน
= 400 + 500 + 600 + 500

ตอบ ทั้งหมด 2,000 คน

ตัวอย่างที่ 2 จากเเผนภูมิด้านบน เดือนที่มีจำนวนนักเรียนเข้ามาใช้บริการมากที่สุด คือเดือนอะไร เเละจำนวนเท่าใด

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการในเเต่ละเดือนมีดังนี้
เดือนมกราคม      จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 100 + 200 + 400  = 700 คน
เดือนกุมภาพันธ์   จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 400 + 300 + 500 = 1,200 คน
เดือนมีนาคม        จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 350 + 200 + 600 = 1,150 คน
เดือนเมษายน      จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 600 + 550 + 500 = 1,650 คน

ตอบ เดือนเมษายน จำนวน 1,650 คน

ตัวอย่างที่ 3 จากเเผนภูมิด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.2 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าเดือนมีนาคมเท่าใด

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนชั้นม.2 (เเท่งสีเหลือง) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเดือนกุมภาพันธ์ทั้งหมด 300 คน เเละในเดือนมีนาคมทั้งหมด 200 คน
ดังนั้น   จำนวนนักเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ – จำนวนนักเรียนในเดือนมีนาคม        = 300 – 200 คน

  = 100 คน

ตอบ มีจำนวนมากกว่าทั้งหมด 100 คน

ตัวอย่างที่ 4 จากเเผนภูมิด้านบน ตั้งเเต่เดือนมกราคม ถึง เมษายน จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเเต่ละเดือนเป็นเท่าใด

วิธีทำ     จากแผนภูมิเเท่ง จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 (เเท่งสีส้ม) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเเต่ละเดือนมีจำนวนดังนี้
เดือนมกราคม               จำนวน 100 คน
เดือนกุมภาพันธ์           จำนวน 400 คน
เดือนมีนาคม                 จำนวน 350 คน
เดือนเมษายน               จำนวน 600 คน

โดยทั้ง 4 เดือน มีจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการทั้งหมดรวมกัน = 100 + 400 + 350 + 600 = 1450 คน
ดังนั้น จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 มีค่า       =    จำนวนทั้งหมดรวมกัน/จำนวนเดือน

=     1,450 คน/4 เดือน

=     362.5 คน/เดือน

ตอบ จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้าใช้บริการห้องสมุดมีค่าเท่ากับ 362.5 คน/เดือน

ตัวอย่างที่ 5 จากเเผนภูมิเเท่งด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 มีจำนวนเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคม

วิธีทำ     จากตัวอย่างที่ 2 จำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ใช้บริการห้องสมุดในเดือนมีนาคมมีจำนวน 1150 คน
เเละจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ที่มาใช้บริการห้องสมุดในเดือนมีนาคมมีจำนวน 600 คน
ดังนั้น ร้อยละของจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ต่อจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคมมีค่า
= (จำนวนนักเรียนชั้น ม.3/จำนวนนักเรียนทั้งหมด) x 100
= (600/1150) x 100
= 52.17
ตอบ ร้อยละ 52.17 ของนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคม

เมื่อเราเเปลความหมายข้อมูลได้ เราสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ต่อไปในด้านอื่น ๆ ได้เพื่อต่อยอดหรือเเก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการตั้งคำถามง่าย ๆ เช่น  ทำไมช่วงเดือนเมษายนจึงมีนักเรียนเข้าใช้บริการห้องสมุดเยอะที่สุด อาจเป็นเพราะว่าใกล้ช่วงสอบนักเรียนจึงเข้าไปใช้บริการห้องสมุดเยอะ อาจจะเกิดปัญหาเก้าอี้ไม่พอในอนาคตได้ ดังนั้นทางห้องสมุดอาจจะเเก้ไขปัญหาด้วยการ เพิ่มจำนวนโต๊ะเเละเก้าอี้เพื่อให้มีที่นั่งเพียงพอกับนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการ

บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง จะเห็นได้ว่ามีส่วนสำคัญในการเเก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ หากวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของการสร้างเเผนภูมิเเท่งเเละตัวอย่างการเเปรความหมายน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอนี้


คลิปวิดีโอ การนำเสนอข้อมูลเเละการเเปรความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิเเท่ง

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ และเลขยกกำลัง

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ หรือราก เขียนแทนด้วย อ่านว่า รากที่ n ของ x หรือ กรณฑ์ที่ n ของ x เราจะบอกว่า จำนวนจริง a เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ เช่น 2 เป็นรากที่

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

ระดับภาษา เรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม

ระดับภาษา มีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีระดับของมันที่จะเป็นตัวบ่งบอกความเหมาะสม ให้เราได้เลือกใช้กันอย่างถูกกาลเทศะ อยากรู้ไหมคะว่ามีกี่ระดับ แต่ละระดับเป็นอย่างไร ต้องใช้แบบไหน ใช้กับใครจึงจะถูก ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้บทเรียนภาษาไทยในวันนี้กันเลยค่ะ   ความหมายของ ระดับภาษา     ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร ผู้รับสาร และเนื้อหาที่สื่อสาร  

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1