การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น

การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล

การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล
มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา

ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม

จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200 คน เกี่ยวกับเครื่องดื่มที่นักเรียนชื่นชอบ โดยนักเรียนเเต่ละคนสามารถเลือกได้เพียง 1 ตัวเลือก พบว่านักเรียนเเต่ละคนชอบเครื่องดื่มดังนี้

วิธีทำ เริ่มจากการหามุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม สำหรับข้อมูลเเต่ละชุดก่อน โดยมุมภายในทั้งหมดรวมกันต้องได้ 360 องศา

หลังจากนั้นให้เราสร้างวงกลมขึ้น เเละลากเส้นรัศมีของวงกลมให้ทำมุมกันตาม มุมภายในวงกลม ที่ได้จากการคำนวณ

สุดท้ายให้เรานำข้อมูลที่อยู่ในตารางลงไปใส่ในวงกลม อาจจะเป็น จำนวนคนหรือเเปลงเป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อความสวยงามเเละง่ายต่อการอ่านข้อมูล


ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

ตัวอย่าง จากการสำรวจข้อมูลประชากรสัญชาติไทยที่เล่นเกม ROW ในปีพ.ศ. 2565 มีผู้เล่นเกมเป็นดังนี้

คำถามที่ 1 ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เล่นเกม ROW มีอายุเท่าใดเเละประชากรกลุ่มใดเล่นเกม ROW น้อยที่สุด

ตอบ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เล่นเกม ROW มีอายุ 21-30 ปี เเละประชากรที่เล่นเกม ROW น้อยที่สุดมีอายุ 51 – 60 ปี

คำถามที่ 2 ถ้าช่วงประชากรไทยช่วงอายุ 11-20 ปีที่เล่น ROW มีจำนวน 3.32 ล้านคน จะมีประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีที่เล่น ROW จำนวนกี่คน

วิธีทำ จากแผนภูมิวงกลมอัตราส่วนระหว่างประชากรไทยช่วงอายุ 11-20 ปีที่เล่น ROW ต่อประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีที่เล่น ROW จะมีค่า
= 33.2 : 12.1
ถ้าประชากรไทยช่วงอายุ 11-20 ปีที่เล่น ROW มีจำนวน 3.32 ล้านคน
อัตราส่วนใหม่จะมีค่า
= 3,320,000 : a  (ให้จำนวนประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีมีค่าเป็น a)
ดังนั้นประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีที่เล่น ROW จะมีจำนวน
= (3,320,000/33.2) x 12.1
= 1,210,000 คน

ตอบ ประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีที่เล่น ROW มีจำนวน 1,210,000 คน

คำถามที่ 3 ถ้าจำนวนประชากรในปีที่ทำการสำรวจนี้เท่ากับ 12 ล้านคน เเล้วจำนวนประชากรในช่วงอายุ 21-30 ปี ที่เล่นเกม ROW มีทั้งหมดกี่คน

วิธีทำ จากแผนภูมิวงกลมจำนวนประชากรในช่วงอายุ 21-30 ปีมีจำนวน 44.8%
ดังนั้นจำนวนประชากรในช่วงอายุ 21-30 ปีมีจำนวน = (44.8 x 12 ล้านคน)/100
= 5,376,000 คน

ตอบ จำนวนประชากรในช่วงอายุ 21-30 ปี ที่เล่นเกม ROW มีทั้งหมด 5,376,000 คน

การนำเสนอด้วยเเผนภูมิรูปวงกลม เหมาะสำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงคุณภาพเเต่ละกลุ่มกับภาพรวมของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งหากข้อมูลมีจำนวนเยอะมาก ๆ การนำเสนอด้วยแผนภูมิรูปวงกลมอาจไม่เหมาะ เพราะว่าเราต้องเเบ่งวงกลมออกเป็นหลาย ๆ ส่วนทำให้เปรียบเทียบความต่างของข้อมูลได้ยาก

บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิวงกลม จะเห็นได้ว่ามีส่วนสำคัญในการเเก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ หากวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการสร้างแผนภูมิวงกลมเเละตัวอย่างการเเปรความหมายน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอนี้


คลิปวิดีโอ การนำเสนอข้อมูลเเละเเปรความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิวงกลม ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การวัดเวลา

การวัดเวลา

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดเวลาและหน่วยในการวัดเวลาที่มีความหลากหลาย

โจทย์ปัญหาแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการแก้โจทย์ปัญหาแผนภูมิรูปวงกลมที่จะนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวนและสามารถเข้าใจได้ง่าย

causatives

Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1