การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ
การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบได้หลายวิธี วิธีที่นิยมที่สุดคือ การตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยเราจะวาดแผนภาพตามเหตุทุกกรณีแล้วเราจะพิจารณาว่าเป็นไปตามผลสรุปที่โจทย์ให้มาหรือไม่

การให้เหตุผล

สมเหตุสมผล เมื่อแผนภาพแสดงผลสรุปตามที่กำหนดมา

ไม่สมเหตุสมผล เมื่อมีบางกรณีทำให้ผลสรุปไม่จริง

แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์กับประโยคที่เจอบ่อย

ให้ A และ B เป็นเซตใดๆ

1.) สมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

แปล ทุกตัวของ A อยู่ใน B

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

2.) ไม่มีสมาชิกใดใน A ที่เป็นสมาชิกของ B

แปล ไม่มี A ที่อยู่ใน B

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

3.) สมาชิกบางตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

แปล มีบางตัวของ A ที่อยู่ใน B

 

4.) มีสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B

แปล มีบางตัวของ A ที่ไม่อยู่ใน B แสดงว่า บางตัวก็ยังอยู่ใน B

 

ตัวอย่างการตรวจสอบความสมเหตุสมผล

1.)

เหตุ 1. นักกีฬาทุกคนสุขภาพดี

2. แป้งสุขภาพดี

ผล    แป้งเป็นนักกีฬา

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ พิจารณาว่าเซตไหนควรจะเป็นเซตที่ใหญ่ที่สุด

จากเหตุที่ 1 นักกีฬา “ทุกคน” สุขภาพดี แสดงว่า นักกีฬาจะต้องอยู่ในเซตของสุขภาพดี

ให้ H เป็นเซตของสุขภาพดี และ S เป็นเซตของนักกีฬา

จากเหตุที่ 1 นำมาเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้

พิจารณาเหตุที่ 2 แป้งสุขภาพดี

การที่แป้งสุขภาพดีนั้น แน่นอนว่าต้องอยู่ใน H แน่ๆ แต่แป้งอาจจะอยู่ใน S หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ผลสรุปที่บอกว่า แป้งเป็นนักกีฬาจึง ไม่สมเหตุสมผล เพราะแป้งไม่เป็นนักกีฬาก็ได้

 

2.)

เหตุ 1. สัตว์มีปีกบางตัวบินได้

2. สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา

3. เป็ดเป็นสัตว์มีปีก

ผล  เป็ดมี 2 ขา

เนื่องจากข้อนี้ เหตุที่ 1 ไม่มีคำว่า “ทุก” แต่มีคำว่า “บางตัว” ดังนั้น จะได้แผนภาพดังนี้การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

เหตุที่ 2 สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา แสดงว่าเซตของ มีปีกอยู่ในเซตบอง มี 2 ขา เขียนแผนภาพได้ดังนี้

เหตุที่ 3 เป็นเป็นสัตว์มีปีก เขียนแผนภาพได้ดังนี้

จะเห็นว่า เป็ดสามารถอยู่ได้ 2 ที่ คือ อาจจะบินได้ หรือไม่ได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน เป็ดก็ยังอยู่ในเซตของมี 2 ขาอยู่ดี ดังนั้น ข้อนี้จึง สมเหตุสมผล

 

3.)

เหตุ 1. สัตว์มีปีกบางตัวบินได้

2. สัตว์มีปีกทุกตัวมี 2 ขา

3. เป็ดเป็นสัตว์มีปีก

ผล  เป็ดบินได้

โจทย์ข้อนี้จะเห็นว่าคือโจทย์เดียวกันกับข้อ 2 แต่ผลสรุปต่างกัน พิจารณาแผนภาพ ดังนี้

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จะเห็นว่าเป็ดมี 2 จุด คืออยู่นอกวงกลมที่บินได้กับอยู่ในวงกลมบินได้ ดังนั้น ผลสรุปนี้ ไม่สมเหตุสมผล เพราะเป็ดอาจจะบินได้หรือบินไม่ได้ก็ได้

 

4.)

เหตุ 1. ทุกคนที่อ่านหนังสือ ทำข้อสอบได้

2. ธิดาสอบได้

ผล ธิดาอ่านหนังสือ

พิจารณาเหตุที่ 1 ทุกคนที่อ่านหนังสือ ทำข้อสอบได้ เขียนเป็นแผนภาพๆได้ดังนี้

จากนั้นพิจารณาเหตุที่ 2 ธิดาสอบได้ เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

กรณีที่ 1 

 

กรณีที่ 2 

จากรูปจะเห็นว่าเป็นไปได้ 2 กรณี จะได้ว่า ธิดาไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือก็ได้

ดังนั้น การให้เหตุผลข้อนี้ ไม่สมเหตุสมผล

 

5.)

เหตุ 1. ไม่มีคนที่ได้เกรด 4 ที่ขี้เกียจ

2. สมาร์ทไม่ขี้เกียจ

ผล สมาร์ทได้เกรด 4

พิจารณาเหตุที่ 1 ไม่มีคนคนที่ไดเเกรด 4 ที่ขี้เกียจ เมื่อวาดเป็นแผนภาพจะได้เป็นวงกลม 2 วง ที่ไม่ซ้อนทับกัน

  การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

พิจารณาเหตุที่ 2 สมาร์ทไม่ขี้เกียจ เป็นได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1     

กรณีที่ 2     

จะเห็นว่าการที่สมาร์ทไม่ขี้เกียจไม่จำเป็นจะต้องได้เกรด 4

ดังนั้นการให้เหตุผลข้อนี้ ไม่สมเหตุสมผล

 

วีดีโอ การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความสมเหตุสมผล

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช เป็นวรรณคดีประเภท พงศาวดาร ที่มีการแปลมาจากพงศาวดารมอญ น้อง ๆ หลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าพงศาวดารก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าทำไมในแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นถึงต้องเรียนเรื่องราชาธิราช ที่เป็นพงศาวดารมอญด้วย วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องราชาธิราชรวมไปถึงเรื่องย่อ ซึ่งในบทที่เราจะเรียนนี้คือตอน สมิงพระรามอาสา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ราชาธิราช   ประวัติความเป็นมา     ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ ฟังก์ชันที่เขียนอยู่ในรูป {(x, y) ∈ ×   : y = } โดยที่ a เป็นจำนวนจริงที่มากกว่า 0 และ a ≠ 1 เช่น  , , ซึ่งพูดอีกอย่างก็คือ

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  บางครั้งเรียกว่า

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

มาสำรวจรอบๆโรงเรียนกันดีกว่า: การใช้ There is/There are แบบเข้าใจง่ายๆ

เชื่อว่าช่วงนี้น้องๆ น่าจะเปิดเทอมกันมาได้สักพักนึงแล้ว แล้วน้องๆ เคยมีเวลาไปสำรวจรอบๆ โรงเรียนของเรากันรึยังเอ่ย? วันนี้พี่จะมาบอกประโยคง่ายๆ ที่ใช้พูดเวลาเจอสิ่งที่น่าสนใจรอบๆโรงเรียนของเรากัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1