กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้ได้แนะนำการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ของอสมการทั้ง 5 สัญลักษณ์ คือ มากกว่า (>), น้อยกว่า (<), มากกว่าหรือเท่ากับ (≥), น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ ไม่ท่ากับ(≠) โดยเขียนแสดงบนเส้นจำนวน

จุดทึบและจุดโปร่ง

เราจะเลือกใช้จุดทึบ (•) และจุดโปร่ง (°) แทนสัญลักษณ์อสมการ ดังนี้

มากกว่า (>) ใช้จุดโปร่ง

น้อยกว่า (<) ใช้จุดโปร่ง

ไม่ท่ากับ (≠) ใช้จุดโปร่ง

มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) ใช้จุดทึบ

น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) ใช้จุดทึบ

สรุป  

จุดโปร่ง ใช้แทนสัญลักษณ์ มากกว่า (>)  น้อยกว่า (<)  และ ไม่ท่ากับ (≠)

จุดทึบ ใช้แทนสัญลักษณ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ มากกว่าหรือเท่ากับ (≥)

ตัวอย่างการเขียนกราฟ(เส้นจำนวน)

ตัวอย่างที่ 1  จงเขียนกราฟแสดงคำตอบของอสมการต่อไปนี้

1)   x  ≥  14

อธิบายเพิ่มเติม มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) เขียนจุดทึบ ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางขวากราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

 

 

2)   a  <  -5

อธิบายเพิ่มเติม น้อยกว่า (<) ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางซ้าย

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว2

 

 

 

3)   x  ≠ 9

อธิบายเพิ่มเติม ไม่ท่ากับ (≠) ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนชี้ไปทางซ้ายและขวา

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว3

 

 

 

4)   -7 < x < 7

    อธิบายเพิ่มเติม อ่านว่า x มากกว่า – 7 แต่น้อยกว่า 7 ใช้จุดโปร่ง ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนเชื่อมระหว่างจุดสองจุด

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว4

 

 

 

5)   -9 ≤ x ≤ 18   

    อธิบายเพิ่มเติม อ่านว่า x มากกว่าหรือเท่ากับ – 9 แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 ใช้จุดทึบ ลากเส้นขนานกับเส้นจำนวนเชื่อมระหว่างจุดสองจุด

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว5

 

 

 

ตัวอย่างที่ 2  จงหาว่ากราฟแสดงคำตอบในแต่ละข้อต่อไปนี้แสดงจำนวนใดบ้าง

 1กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนตั้งแต่ –10 จนถึง 40  หรือเขียนแทนด้วย –10 ≤ x ≤ 40

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ  –20  หรือเขียนแทนด้วย  x  ≥  – 20

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่า -15  หรือเขียนแทนด้วย x  >  – 15

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 20  หรือเขียนแทนด้วย x ≠ 20

ตอบ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 8  หรือเขียนแทนด้วย  x  <  8

ตอบ  จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 0  หรือเขียนแทนด้วย x ≠ 0

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่องการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เส้นจำนวน จะทำให้น้องๆสามารถเขียนกราฟของอสมการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถเลือกใช้จุดทึบและจุดโปร่งแทนสัญลักษณ์ของอสมการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งน้องๆสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปต่อยอดในการเรียนเรื่องอสมการในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อสมการ ⇐⇐

วิดีโอ กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวม การเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค ที่จะทำให้น้องๆมองวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

สมการเอกซ์โพเนนเชียล สมการเอกซ์โพเนนเชียล เป็นสมการที่จะมีเลขชี้กำลังเป็นตัวแปร เช่น ,   จากบทความที่ผ่านมาเราได้พูดถึงฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลไปแล้ว ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียลซึ่งมีหลายวิธี  ซึ่งเรื่องสมการเอกซ์โพเนนเชียลนี้มักจะออกสอบบ่อยเรียกได้ว่าทุกปีเลย ดังนั้นวันนี้เราเลยยจะมาสอนน้องๆแก้สมการ และให้เทคนิคการแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล สำหรับใครที่ยังไม่ได้ทำความรู้จักกับฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลสามารถเข้าไปดูตามลิงค์นี้เลยค่ะ !!!ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล!!! การแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล วิธีที่ 1 : ทำฐานให้เหมือนกัน เมื่อฐานเท่ากันแล้ว เราก็จะได้ว่าเลขชี้กำลังก็จะเท่ากันด้วย ตัวอย่าง    วิธีที่ 2 : ทำเลขชี้กำลังให้เหมือนกัน

แผนภูมิแท่ง และการเปรียบเทียบข้อมูล

บทความนี้จะพูดถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่งไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล 2 จำนวน และ 3 จำนวน น้องๆจะสามารถนำข้อมูลที่สำรวจมาเขียนเป็นแผนภูมิแท่งได้และจะง่ายต่อการนำเสนอมากยิ่งขึ้น

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก สัญลักษณ์แทนการบวก หรือ   เรียกว่า ซิกมา ( Sigma ) เราใช้เพื่อลดรูปการบวกกันของตัวเลข เนื่องจากว่าบางทีเป็นการบวกของจำนวนตัวเลข 100 พจน์ ถ้ามานั่งเขียนทีละตัวก็คงจะเยอะไป เราจึงจะใช้เครื่องหมายซิกมามาใช้เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนนั่นเอง เช่น 1 + 2 + 3 + 4 +5  สามารถเขียนแทนด้วย

โจทย์ปัญหาบวก ลบ ทศนิยม

บทความนี้จะยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกลบทศนิยม เพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจและศึกษาการแสดงวิธีคิด หากต้องไปเจอการแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนจะสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

ทบทวนจำนวนเต็ม บทความนี้จะทำให้น้องๆ เข้าใจ การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย น้องๆรู้จัก จำนวนเต็ม กันแล้ว แต่หลายคนยังไม่สามาถเปรียบเทียบความมากน้อยของจำนวนเต็มเหล่านั้นได้ ซึ่งถ้าน้องๆ เคยเรียนเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละมาแล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ทบทวนเรื่องจำนวนเต็ม  เช่น                                                                                                     25 ,  9  , -5 , 5.5 ,

การหารเศษส่วนและจำนวนคละ

เทคนิคการหารเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทความนี้จะเป็นเรื่องต่อยอดจากการคูณก็คือเรื่องการหารเศษส่วนและจำนวนคละ ถ้าใครอ่านบทความการคูณเศษส่วนและจำนวนคละเข้าใจแล้วรับรองว่าเรื่องนี้จะยิ่งง่ายมากกว่าเดิมแน่นอน เพราะต้องใช้เรื่องการคูณเศษส่วนและจำนวนคละในการคำนวณหาคำตอบเช่นกัน สิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับน้อง ๆก็คือขั้นตอนการแสดงวิธีทำที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายเหมือนกันบทความที่แล้วมา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1