กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐

คู่อันดับ

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

คู่อันดับ  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ (a, b)  อ่านว่า  คู่อันดับเอบี

เรียก    a    ว่าสมาชิกตัวที่หนึ่งหรือสมาชิกตัวหน้า  ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มที่ 1

เรียก    b    ว่าสมาชิกตัวที่สองหรือสมาชิกตัวหลัง  ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ 2

ตัวอย่างที่ 1   พิจารณาตารางต่อไปนี้

จำนวนน้ำตาล (ถุง) 1 2 3 4 5
ราคา (บาท) 15 30 45 60 75

เขียนคู่อันดับ  แสดงการอ่าน  และบอกความหมาย

(1, 15)   อ่านว่า   คู่อันดับหนึ่ง สิบห้า                    หมายความว่า   น้ำตาล 1 ถุง   ราคา 15 บาท

(2, 30)   อ่านว่า   คู่อันดับสอง สามสิบ                  หมายความว่า   น้ำตาล 2 ถุง   ราคา 30 บาท

(3, 45)   อ่านว่า   คู่อันดับสาม สี่สิบห้า                 หมายความว่า   น้ำตาล 3 ถุง   ราคา 45 บาท

(4, 60)   อ่านว่า   คู่อันดับสี่ หกสิบ                       หมายความว่า   น้ำตาล 4 ถุง   ราคา 60 บาท

(5, 75)   อ่านว่า   คู่อันดับห้า เจ็ดสิบห้า                หมายความว่า   น้ำตาล 5 ถุง   ราคา 75 บาท

สมบัติของคู่อันดับ

  1. (a, b) ≠  (b, a)   ยกเว้น  a = b
  2. (a, b) =  (c, d)   ก็ต่อเมื่อ  a = c  และ  b = d

กราฟของคู่อันดับ

กราฟของคู่อันดับ  เป็นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก 2 กลุ่ม

เขียนเส้นจำนวนในแนวนอนและแนวตั้ง  ให้ตัดกันเป็นมุมฉากที่จุดซึ่งแทนศูนย์ (0)  ดังต่อไปนี้

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

จุดที่เส้นจำนวนทั้งสองตัดกันเรียกว่า  จุดกำเนิด  นิยมแทนด้วย 0

เส้นจำนวนในแนวนอนเรียกว่า  แกนนอน หรือ แกน X และเส้นจำนวนในแนวตั้งเรียกว่า แกนตั้ง หรือ แกน Y  

แกน X และ แกน Y  อยู่บนระนาบเดียวกัน  และแบ่งระนาบออกเป็น 4 ส่วน  เรียกแต่ละส่วนว่า จตุภาค

จตุภาคที่ 1     ระยะตามแกน X และ แกน Y เป็นจำนวนบวกทั้งคู่

จตุภาคที่ 2     ระยะตามแกน X เป็นจำนวนลบ  และระยะตามแกน Y เป็นจำนวนบวก

จตุภาคที่ 3     ระยะตามแกน X และ แกน Y เป็นจำนวนลบทั้งคู่

จตุภาคที่ 4     ระยะตามแกน X เป็นจำนวนบวก  และระยะตามแกน Y เป็นจำนวนลบ

ตัวอย่างที่ 2  จงลงจุดต่อไปนี้ บนระนาบ  X, Y

1.  A(-2, 1), B(3, -5), C(-2, 4), D(0,3), E(5, -1) และ F(-3, -3)  

กราฟของคู่อันดับ 2

2.  P(0, 0), Q(0, -5), R(-3, 0), S(0,2), T(-4, 5) และ  V(3, -4)

กราฟของคู่อันดับ 3

ความสัมพันธ์เชิงเส้น

           ความสัมพันธ์เชิงเส้น แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณ 2 ปริมาณ ที่มีกราฟอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน เรียกความสัมพันธ์ลักษณะเช่นนี้ว่า “ความสัมพันธ์เชิงเส้น”

  • ความสัมพันธ์เชิงเส้นเป็นความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณ ที่มีกราฟอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
  • ความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างปริมาณสองปริมาณ อาจมีกราฟอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นช่วงๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวเส้นตรงเดียวกันทั้งหมดก็ได้

ตัวอย่างที่ 3  จงเขียนคู่อันดับและกราฟของคู่อันดับของความสัมพันธ์ของจำนวนนมถั่วเหลืองกับราคาขาย

จำนวนนมถั่วเหลือง (กล่อง) 1 2 3 4 5
ราคาขาย (บาท) 6 12 18 24 30

วิธีทำ  จากข้อมูลในตารางสามารถจับคู่ระหว่างจำนวนนมถั่วเหลืองกับราคาขายได้ 5 คู่  คือ  1 กับ 6, 2 กับ 12, 3 กับ 18, 4 กับ 24, 5 กับ 30

เขียนแสดงการจับคู่โดยใช้สัญลักษณ์ ได้ดังนี้  (1, 6),  (2, 12),  (3, 18),  (4, 24)  และ  (5, 30)

ถ้านำความสัมพันธ์ของจำนวนนมถั่วเหลืองกับราคาขายมาเขียนให้อยู่ในรูป (1, 6), (2, 12), (3, 18), (4, 24),  (5, 30)  เราเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า “คู่อันดับ”  และเรียกจำนวนนมถั่วเหลืองกับราคาขายในแต่ละคู่อันดับว่า “สมาชิกของคู่อันดับ”  โดยสมาชิกตัวหน้าแทนจำนวนนมถั่วเหลืองและสมาชิกตัวหลังแทนราคาขาย  เช่น

  • (1, 6)   อ่านว่า   คู่อันดับหนึ่งหก มี 1 เป็นสมาชิกตัวหน้า และ 6 เป็นสมาชิกตัวหลัง หมายความว่า            นมถั่วเหลือง 1 กล่อง ราคา 6 บาท
  • (2, 12)   อ่านว่า   คู่อันดับสอง สิบสอง มี 2 เป็นสมาชิกตัวหน้า และ 12 เป็นสมาชิกตัวหลัง หมายความว่า  นมถั่วเหลือง 2 กล่อง ราคา 12 บาท
  • (3, 18)   อ่านว่า  คู่อันดับสามสิบแปด มี 3 เป็นสมาชิกตัวหน้า และ 18 เป็นสมาชิกตัวหลัง หมายความว่า   นมถั่วเหลือง 3 กล่อง ราคา 18 บาท
  • (4, 24)   อ่านว่า   คู่อันดับสี่ ยี่สิบสี่ มี 4 เป็นสมาชิกตัวหน้า และ 24 เป็นสมาชิกตัวหลัง  หมายความว่า   นมถั่วเหลือง 4 กล่อง ราคา 24 บาท
  • (5, 30)   อ่านว่า  คู่อันดับห้า สามสิบ มี 5 เป็นสมาชิกตัวหน้า และ 30 เป็นสมาชิกตัวหลัง หมายความว่า   นมถั่วเหลือง 5 กล่อง ราคา 30 บาท

คำถามเพิ่มเติม : คู่อันดับ (1, 6) กับ (6, 1) เหมือนกันหรือไม่ เพราะอะไร

อธิบายเพิ่มเติม : ถ้าเขียนความสัมพันธ์ของจำนวนนมถั่วเหลืองกับราคาขายเป็น (6, 1) จะได้ว่า  นมถั่วเหลือง 6 กล่อง ราคา 1 บาท พบว่า   ความหมายของคู่อันดับดังกล่าวจะเปลี่ยนไปจากเดิม  ดังนั้นลำดับของสมาชิกแต่ละตัวในคู่อันดับมีความสำคัญในเงื่อนไขหรือข้อตกลงนั้น

เขียนกราฟของคู่อันดับ ได้ดังนี้

กราฟของคู่อันดับ

ตัวอย่างที่ 4  จงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนมะละกอ  และราคาขายจากตารางที่กำหนดให้

จำนวนมะละกอ  (ผล) 1 2 3 4 5 6 7
ราคาขาย  (บาท) 10 20 30 40 50 60 70

วิธีทำ  จากตารางเขียนคู่อันดับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนมะละกอกับราคาขาย  ได้ดังนี้

(1,10),  (2,20),  (3,30), (4,40), (5,50), (6,60) และ (7,70)   

เมื่อกำหนดให้แกน  X  แสดงจำนวนมะละกอ  และแกน Y  แสดงราคาขาย  จะได้กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมะละกอกับราคาขาย  ได้ดังนี้

กราฟของคู่อันดับ 4

 

หมายเหตุ : เนื่องจากจำนวนมะละกอเป็นจำนวนบวกกราฟแสดงความสัมพันธ์จึงอยู่ในจตุภาคที่  1  เท่านั้น 

ตัวอย่างที่ 5  กำหนดกราฟแสดงจำนวนมังคุดที่ชาวสวนเก็บส่งขายได้ตั้งแต่วันที่ 1  ถึงวันที่  10  ของเดือนพฤษภาคม

กราฟของคู่อันดับ 5

 

จงตอบคำถามต่อไปนี้

  1. วันที่ 1  เก็บมังคุดส่งขายได้เท่าไร

        ตอบ  100  ผล

  1. วันที่เท่าไรเก็บมังคุดส่งขายได้มากที่สุด เก็บได้เท่าไร

        ตอบ  วันที่  6  เก็บมังคุดได้  900  ผล

  1. วันที่เท่าไรบ้างที่เก็บมังคุดได้เป็นจำนวนเท่ากัน และเก็บได้เท่าไรบ้าง

        ตอบ  วันที่  3  กับ  9  เก็บได้  400  ผล  และวันที่  5  กับวันที่  8 เก็บได้  700  ผล

  1. วันที่เท่าไรที่จำนวนมังคุดที่เก็บส่งขายเริ่มมีจำนวนลดลง

        ตอบ  วันที่  7

  1. จำนวนมังคุดที่เก็บส่งขายในรอบ 10  วันมีการเปลี่ยนแแปลงอย่างไร

       ตอบ  จำนวนมังคุดที่เก็บส่งขายได้ใน  6  วันแรก  เพิ่มขึ้นโดยตลอด  และมีจำนวนมากที่สุดถึง  900  ผล  ในวันที่  6  หลังจากนั้นมีจำนวนลดลงเรื่อย  ๆ  จนถึงวันที่  10

วิดีโอ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ   หลักการพูดรายงานหน้าชั้น     1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์ การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

Comparison of Adjectives การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 5 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง Comparison of Adjectives หรือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลย ความหมาย Comparison of Adjectives คือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ ที่ใช้ในการเปรียบเทียบคน สัตว์ สิ่งของ หรือ อื่นๆ

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์     รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่

เห็นแก่ลูก ศึกษาความเป็นมาบทละครพูดเรื่องแรกของไทย

  บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่น้อง ๆ ม.3 ทุกคนจะได้เรียน ความพิเศษของวรรณคดีไทยเรื่องนี้คือเป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยอีกทั้งยังได้รับการแปลไปยันต่างประเทศอีก 13 ภาษา วรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถึงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ความเป็นมา บทละครพูด เห็นแก่ลูก     บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1