Would และ Used to แตกต่างกันอย่างไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Would และ Used to กันครับ จะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย
would used

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Used to ใช้อย่างไร?

ในภาษาไทยนั้นกริยา ‘used to’ + infinitive นั้นแปลว่า “เคย” ซึ่งเราจะใช้คำนี้เวลาที่พูดถึง “สถานะ” ในอดีตที่จบลงไปแล้ว มีโครงสร้างดังนี้

used to

ตัวอย่างเช่น

I used to live in Chonburi when I was a kid.
ฉันเคยอาศัยอยู่ที่ชลบุรีตอนที่ฉันเป็นเด็ก

We used to be friends but not anymore.
พวกเราเคยเป็นเพื่อนกันแต่ตอนนี้ไม่แล้ว

 

หรือ เราสามารถใช้กับนิสัยที่เคยทำเป็นประจำในอดีต (ปัจจุบันไม่ทำแล้ว) ก็ได้เช่นกัน เช่น

Mike used to play basketball every Friday when he was in college.
ไมค์เคยเล่นบาสเกตบอลทุกวันศุกร์เมื่อตอนที่เขาอยู่มหาวิทยาลัย

 

ข้อควรระวัง
น้องๆ ไม่ควรสับสนระหว่าง ‘used to + infinitive’ และ ‘be + used to + V.ing’ ที่มีความหมายที่แตกต่างจากอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

 

Would ใช้อย่างไร?

สำหรับคำนี้นั้นเราจะใช้เหมือนกันกับ used to ในการพูดถึงนิสัยที่ “เคย” ทำเป็นประจำในอดีต ซึ่งไม่ทำแล้วในปัจจุบัน มีโครงสร้างดังนี้

would

ตัวอย่างเช่น

Every Monday I would go for a walk at the park.
ทุกวันจันทร์ฉันจะออกไปเดินที่สวนสาธารณะ (นิสัยในอดีต)

My mom would read me bedtime stories every night.
แม่ของฉันจะเล่านิทานก่อนนอนให้ฉันฟังทุกคืน (นิสัยในอดีต)

 

ข้อควรจำ
การใช้ would ในการอธิบายนิสัยในอดีตนั้นจะมีความเป็นทางการกว่าการใช้ used to เล็กน้อย และเราจะไม่ใช้ would ในการบอกถึง “สถานะ” ที่จบลงไปแล้วในอดีต เพราะคำว่า “เคย” ของ would นั้น ต่างจากคำว่า “เคย” ของ used to ตรงที่จะใช้ would บอกนิสัยที่เคยทำเท่านั้น (I would live in Chonburi จึงจะแปลว่า “ฉันเคยอาศัยอยู่ที่ชลบุรี” เหมือน I used to live in Chonburi ไม่ได้)

 

ความแตกต่างของ ‘Would’ ‘Used to’ และ ‘Past Simple’

เราสามารถใช้ Past Simple ในการพูดถึงสถานะหรือนิสัยในอดีตได้เช่นกัน ต่างกันที่ว่าเหตุการณ์ที่เป็น Past Simple นั้นอาจจริงหรือไม่จริงในปัจจุบันก็ได้ ลองสังเกตความแตกต่างดังนี้

 

We celebrated Christmas at home every winter.
พวกเราฉลองคริสต์มาสที่บ้านทุกฤดูหนาว (ในอดีต)

“ปัจจุบันอาจจะยังฉลองอยู่หรือไม่ก็ได้”

We used to celebrate Christmas at home every winter.
We would celebrate Christmas at home every winter.
พวกเรา “เคยฉลอง/จะฉลอง” คริสต์มาสที่บ้านทุกฤดูหนาว (ในอดีต)

ทั้งสองประโยคนี้บอกได้ว่า “ปัจจุบันเราไม่ฉลองคริสต์มาสที่บ้านอีกต่อไปแล้ว”

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับการใช้ would และ used to ในภาษาอังกฤษ หวังว่าจะทำให้น้องๆ เข้าใจนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง สำหรับน้องๆ ที่ยังอยากเรียนเรื่องนี้เพิ่มเติมสามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ได้ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

_ม2 Present Continuous Tense Profile

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคนค่า วันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และข้อสอบวัดความเข้าใจหลังเรียนแบบปังๆกันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย เริ่มกับการใช้ Present Continuous Tense   อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at the moment.

Like & Dislike ในการพูดถึงความชอบ และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับผม วันนี้เราจะมาลองฝึกใช้ประโยคที่เอาไว้บอกความชอบของเรากัน พร้อมกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองเบื้องต้นครับ ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย

wh-questions + was, were

การใช้ Wh-questions  with  was, were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ Wh-questions  with  was, were (Verb to be in the past)” ไปลุยกันเลยจร้า Sit back, relax, and enjoy the lesson! —นั่งพิงหลังชิวๆ ทำใจสบายๆ แล้วไปสนุกกับบทเรียนกันจร้า—  

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

บทความนี้จะพาน้อง ๆมารู้จักกับการคูณเศษส่วนและจำนวนคละ รวมถึงเทคนิคการคูณเศษส่วนและจำนวนคละที่ถูกต้องและรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละประเภทต่าง ๆ การตัดทอนเศษส่วนจำนวนคละและตัวอย่างการคูณเศษส่วนจำนวนคละที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ บทอาขยานที่ควรค่าแก่การจำ

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ คงได้เรียนวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง แต่ละเรื่องก็อาจจะมีการใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่ต่างกันออกไป หรือซ้ำกันบ้าง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ ก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่อยู่ในแบบเรียนของน้อง ๆ แต่ความพิเศษคือลักษณะคำประพันธ์ที่น้อง ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11 จะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ   บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีเนื้อหาแสดงคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ ประพันธ์ขึ้นโดย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1