Third Conditional Sentences คืออะไร?
พี่คิดว่าน้องๆ คงจะเคยได้เรียนประโยคเงื่อนไงรูปแบบต่างๆ กันมาอยู่บ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่งหัวข้อวันนี้เป็นรูปแบบสุดท้ายของโครงสร้างประโยคเงื่อนไข เราจะใช้ Third Conditional Sentences ในการพูดถึงสิ่งที่ตรงข้ามกับความจริงในอดีต หรือง่ายๆ เลยมักจะใช้กับสิ่งที่เรา “เสียดาย” หรือเป็นอารมณ์ประมาณว่า “รู้อย่างนี้ฉันน่าจะ…” ลองมาดูตัวอย่างประโยคที่ใช้โครงสร้างแบบนี้กันครับ
If I had studied harder, I would have passed the exam.
ถ้าฉันตั้งใจเรียนให้มากกว่านี้ ฉันก็คงจะสอบผ่าน
ประโยคตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “อดีตที่ตรงข้ามกับความจริงขณะที่พูด” ซึ่งก็คือในอดีตนั้น “ฉันไม่ตั้งใจเรียน” และ “ฉันสอบไม่ผ่าน” ประโยคเงื่อนไขแบบนี้จึงถูกใช้เพื่อแสดงความ “เสียดาย” หรือ “รู้อย่างนี้ฉันน่าจะตั้งใจเรียน” นั่นเองครับ
โครงสร้างของประโยค
จากตัวอย่างด้านบน เราสามารถเขียนโครงสร้างของประโยคเงื่อนไขรูปแบบที่ 3 ได้ดังนี้ครับ
ข้อควรจำ
- เราสามารถสลับที่ประโยคที่อยู่หลังคอมม่าขึ้นมาไว้ข้างหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคอมม่าอีก และยังให้ความหมายเหมือนเดิม เช่น
If I had studied harder, I would have passed the exam.
สามารถเปลี่ยนเป็น
I would have passed the exam if I had studied harder.
ตัวอย่างการใช้
If I had left my house at 9, I would have arrived here on time.
ถ้าฉันออกจากบ้านตั้งแต่ 9 โมง ฉันก็คงมาถึงที่นี้ตรงเวลา
(ความจริงคือ ฉันออกจากบ้านสาย และฉันมาถึงสาย)
She wouldn’t have missed the flight if she had taken a taxi to the airport.
เธอคงจะไม่พลาดเที่ยวบิน ถ้าเธอนั่งรถแท็กซี่มาสนามบิน
(ความจริงคือ เธอพลาดเที่ยวบิน เพราะเธอไม่ได้นั่งแท็กซี่มาที่สนามบิน)
They would have had 2 children if they had married.
พวกเขาคงจะมีลูก 2 คนแล้วถ้าพวกเขาแต่งงานกัน
(ความจริงคือ พวกเขาไม่ได้แต่งงานกัน และไม่มีลูก)
เป็นยังไงกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Third Conditional Sentences ไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่มั้ยล่ะครับ? หลังจากนี้น้องๆ อย่าลืมทบทวนกันด้วยนะครับ หรือจะรับชมวิดีโอจาก Nock Academy ของเราเพื่อเป็นการทบทวนอีกครั้งนึงก็ได้ครับ