Short question and Short answer

ปก short answer questions

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม ของเรื่อง Short question and Short answer การถามตอบคำถามแบบสั้น หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า

 

ความหมาย

Short ans questions

Short question and Sho

rt answer คือการถามตอบแบบสั้นหรือส่วนใหญ่แล้วมักขึ้นต้นคำถามด้วยกริยาช่วย และได้คำตอบขนาดสั้น เช่น Yes, I do. No, I don’t. Yes, they are. เป็นต้น

 

ตัวอย่าง รูปแบบโครงสร้างคำถามที่ข้นต้นด้วย Verb to be และ Verb to do กันจร้า

Example:

Are you hungry?
หิวมั้ย
Answer: Yes, I’m hungry. หรือ No, I’m not hungry.
ใช่แล้ว ฉันหิว หรือ ไม่เลย ฉันไม่หิว

Do you like me?
คุณชอบฉันมั้ย

Answer: Yes, I do. หรือ No, I don’t.
ใช่ ฉันชอบคุณ หรือ ไม่ ฉันไมชอบคุณ

Short Questions and Short Answers ขึ้นต้นด้วย “Verb to be”

 

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions (3)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ที่สามารถขึ้นต้นประโยคคำถามได้ ได้แก่ is, am, are, was, were

โครงสร้างประโยคคำถามที่เราต้องรู้ คือ

Verb to be + Subject + Object/ Complement….?

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Emily is going to the zoo. แปล เอมมิลี่กำลังจะไปสวนสัตว์
ประโยคคำถาม: Is Emily going to the zoo?
แปลว่า เอมมิลี่จะไปสวนสัตว์มั้ย
อธิบายเพิ่มเติม: เอมมิลี่เป็นประธาน, is เป็น V. to be, going มาจาก go + .ing แปลว่า กำลังไป

 ทบทวน:  Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม Tenses กาลเวลา (Present, Past, Future) เพื่อให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น

 

 Verb to Do ขึ้นต้น Short Questions and Short Answers

 

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions (4)

 

หน้าที่เป็นกริยาช่วย (Auxiliary Verb) โดยจะใช้ร่วมกับกริยาหลัก (Main Verb) เพื่อสร้างประโยคคำถาม
ประโยคปฏิเสธ หรือเพื่อเน้นย้ำความสำคัญ

 

โครงสร้างประโยคคำถาม:
Do/Does/Did + Subject + V .infinitive + Object/Complement?

 

  •  Simple Present Tense ใช้ Do / Does

Do you like going to the zoo?
= คุณชอบไปสวนสัตว์มั้ย

Does the tiger eat meat?
= เสือกินเนื้อเป็นอาหารมั้ย

 

  • Past Tense ใช้ Did กับเหตุการณ์ที่เป็นอดีต

Did you feed monkeys at the zoo?
แปล คุณได้ให้อาหารลิงที่สวนสัตว์มั้ย

ทบทวนกริยาช่วยและการสร้างประโยค

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (2)

Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม Tenses กาลเวลา (Present, Past, Future) เพื่อให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น

ประเภทของ Helping Verbs

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (3)

 

Helping หรือ Auxiliary verbs กริยาช่วยในภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. Modal auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่มาช่วยขยายความหมายของกริยาแท้ เช่น will, shall, should, can, may, must กริยาช่วยกลุ่มนี้จะช่วยบอกความเป็นไปได้ ความจำเป็น และเปลี่ยนแปลงความหมายของกริยาแท้ไปในเชิงนั้นๆ 

ประโยคบอกเล่า: Jenny can play a piano.  (เจนนี่สามารถเล่นเปียโนได้)

ประโยคคำถาม: Can Jenny play a piano?
ตามโครงสร้าง: Modal auxiliary verbs + Subject + V. Infinitive + Object/Compliment?

 

  1. Primary auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาแท้ให้เป็นไปตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    V. to be, V. to have, และ V. todo

Primary auxiliary verbs กริยาช่วยในกลุ่มนี้ ไม่มีความหมายในตัวเอง และไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ จะต้องใช้คู่กับกริยาหลัก (Main verb) เท่านั้น ทำให้เราสามารถสร้างโครงสร้างประโยคคำถามได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ค่ะ

 

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (4)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ได้แก่ is, am, are, was, were

โครงสร้างประโยคคำถามคือ V. to be + Subject + Object/ Complement….?

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Jen is hit by a car. แปล เจนโดนรถชน
ประโยคคำถาม: Is Jen hit by a car?
แปลว่า เจนถูกรถชนใช่มั้ย
เพิ่มเติม: เจนเป็นประธาน, is เป็น V. to be, hit เป็น กริยาช่อง 3 ของ hit (hit, hit, hit) แปลว่า โดนชน

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

 

 

V. to have ขึ้นต้นประโยคคำถาม

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (5)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ได้แก่ has, have, had

โครงสร้าง: Have/Has/Had + Subject + V.3+ Object/ Complement….?

ประโยคบอกเล่า:  Daniel has eaten a piece of cake.แปลว่า เดเนียลได้กินเค้กไปแล้ว 1 ชิ้น
ประโยคคำถาม: Has Daniel eaten a piece of cake?
แปล: เดเนียลได้กินเค้กชิ้นนั้นไปใช่มั้ย
ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

Modal auxiliaries ขึ้นต้นประโยคคำถาม

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (6)

 

กริยาช่วยเหล่านี้เป็นกริยาช่วยที่มีความหมายในตัวมันเอง ได้แก่

will, would = จะ

shall, should = จะ, น่าจะ, ควรจะ

can, could = สามารถ

may, might = อาจจะ

must = ควรจะ

ought to = ควรจะ (ปัจจุบันไม่ค่อยถูกนำมาใช้)

โครงสร้างประโยคคำถามคือ: modal auxiliaries + subject + V. Infinitive
(กริยาช่องที่ 1 ไม่ผัน) + Object/ Complement….?

 

ตัวอย่างประโยคคำถาม

Would you like to come with me?
แปลว่า คุณต้องการที่จะมากับผมมั้ยครับ

อธิบายเพิ่มเติม

would เป็น modal auxiliaries ส่วน you เป็นสรรพนามบุรุษที่2 ใช้กับคนที่เราพูดด้วย และวลีส่วน to come with me ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มเรียกว่า วลีบุพบท

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

สรุป Short Answer Questions

 

ปก short answer questions สรุป

 

คำถามที่ขึ้นต้นด้วย กริยาช่วยมักจะได้คำตอบที่เป็น yes หรือ no แบบตายตัว และอาจจะมีส่วนขยายพ่วงมาด้านหลังโดยขึ้นต้นด้วยคอมม่า (,) ซึ่งคำตอบจะเป็น Short Questions หรือ คำตอบสั้นๆนั่นเองค่า ส่วนคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh- questions นั้นต้องการคำตอบที่เจาะจง เช่นถามว่าชื่ออะไร ผู้ตอบก็ต้องตอบชื่อไปตามตรง แบบนี้นั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะขอให้สนุกกับการอ่านบทเรียนเรื่อง Short Questions and Short Answers  กันนะคะ นักเรียนที่รักทุกคนอย่าลืมทบทวนบทเรียนที่วีดีโอ เรื่อง Short Questions and Short Answers กับทีชเชอร์กรีซกันน๊า เผื่อจะร้องอ๋อ ยิ่งๆขึ้นไป เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน   ประวัติความเป็นมา     รามเกียรติ์

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ส่วนต่างๆ ของวงกลม ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”   โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม       วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

Passive voice + Active Voice

การใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice       Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ  Active

ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช   หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา     บทเด่น ๆ บทที่ 1    บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1