Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ

 

ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (2)

Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ
ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว ดังตัวอย่างด้านล่างต่อไปนี้

ตัวอย่างประโยค Short questions  with Was/Were:

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (3)

Was Lisa at the party last night?
ลิซ่าไปงานปาร์ตี้เมื่อคืนนี้หรือเปล่า

Short answer: Yes, she was.
ใช่หล่อนไป

Long answer: Yes, she was at the party last night.
ใช่หล่อนอยู่ที่งานเลี้ยงเมื่อคืนนี้

จากตัวอย่างจะเห็นว่า เราจะใช้ Did เมื่อประโยคเดิมเป็น Past Simple Tense จากนั้นสลับที่แล้ว กริยาจะเปลี่ยนเป็น กริยาช่องที่ 1 ไม่ผันหรือเราเรียกว่า Verb infinitive เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเราผันกริยาที่ Did ไปแล้ว ซึ่งผันกริยาหลักในประโยคได้แค่ตัวเดียวและครั้งเดียวนั่นเองค่า

 Did you see John during the weekend?

คุณเห็นจอห์นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือเปล่า

Short answer: No, I didn’t.
ไม่นะ ไม่เลย

Long answer: No, I didn’t see John during the weekend.
ไม่ ฉันไม่เห็นจอห์นในช่วงสุดสัปดาห์เลย

 

 

  • ถามโดยใช้ Can

 

Can they speak English?
พวกเขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้หรือไม่?

Short answer:  Yes, they can.
ใช่พวกเราทำได้

Long answer: Yes, they can speak English.
ใช่ พวกเขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้

 

การใช้ Did ในประโยคบอกเล่า

 

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (4)

 

หลักการใช้ Did ใน Past Tense
โครงสร้าง: S+ did +…

did ในประโยคบอกเล่าแปลว่า ทำ

 

I did my homework yesterday.
ฉันทำการบ้านเมื่อวานนี้

 

Tom did his laundry this morning.
ทอมซักผ้าของเขาเมื่อเช้านี้

 

Jane did the laundry last week.
เจนซักผ้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

My aunt did cleaning her clothes.
ป้าของฉันทำความสะอาดเสื้อผ้าของเธอ

  • การใช้ Did ในประโยคปฏิเสธม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (5)

did ในประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม เป็นกริยาช่วย ดังนั้นไม่ต้องแปลว่าทำ

มี did ที่เป็นกริยาช่องที่ 2 ***เป็นกริยาช่วยแล้ว กริยาแท้ต้องเป็นช่อง 1 เสมอนะจ้ะ

 

***รูปย่อของ did not คือ didn’t

 

I didn’t do my laundry.
ฉันไม่ได้ซักผ้า

 

My dad didn’t come home last week.
อาทิตย์ที่แล้วพ่อไม่กลับบ้าน

 

Timothy did not go swimming yesterday.
ทิโมธีไม่ได้ไปว่ายน้ำเมื่อวานนี้

 

They didn’t call me last night.

เมื่อคืนพวกเขาไม่โทรหาฉัน

 

การใช้ Did ในประโยคคำถาม

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (8)

Did Jane go shopping last Tuesday?
เจนไปช้อปปิ้งเมื่อวันอังคารที่แล้วหรือเปล่า

 

Did Tom go to the movie with you yesterday?
ทอมไปดูหนังกับคุณเมื่อวานนี้หรือเปล่า

การใช้ Was / Were ในประโยคคำถามสั้นๆ

 

ตัวอย่างประโยค Short Answer
(Affirmative)
ใช่
Short Answer
(Negative)
ไม่
Was I too fast?
ฉันเร็วเกินไปหรือเปล่า
Yes, you were.

 

No, you weren’t.

 

Were you really busy yesterday?
เมื่อวานคุณยุ่งมากไหม
Yes, I was. No, I wasn’t.
Were you both proud?
คุณทั้งคู่ภูมิใจไหม
Yes, we were. No, we weren’t.
Were they hungry?
พวกเขาหิวไหม
Yes, they were. No, they weren’t.
Was she late again?
เธอมาสายอีกแล้วเหรอ
Yes, she was. No, she wasn’t.
Was she a good student?
เธอเป็นนักเรียนที่ดีหรือเปล่า
Yes, she was. No, she wasn’t.
Were they ready to go?

พวกเขาพร้อมที่จะไปหรือยัง

Yes, they were. No, they weren’t.

 

การใช้ “Did” ใน Short Answer Questions

 

ตัวอย่างประโยค Short Answer
(Affirmative)
Short Answer
(Negative)
Did I fail the test?
ฉันสอบตกหรือไม่
Yes, you did. No, you didn’t.
Did you need a vacation?

คุณต้องการวันหยุดพักผ่อนหรือไม่

Yes, I did. No, I didn’t.
Did you both like cooking?

คุณทั้งคู่ชอบทำอาหารไหม

Yes, we did. No, we didn’t.
Did they finish their work?

พวกเขาทำงานเสร็จหรือยัง

Yes, they did. No, they didn’t.
Did she have a good time?

เธอมีช่วงเวลาที่ดีหรือไม่

Yes, she did. No, she didn’t.
Did she want to leave early?

เธอต้องการที่จะออกไปก่อน

Yes, she did. No, she didn’t.
Did it have blue buttons?

มันมีปุ่มสีน้ำเงินหรือไม่

Yes, it did. No, it didn’t.

 

โครงสร้าง ของ Was / Were


ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (9)

 

  • ประธาน I / He / She / It / A cat ใช้กับ กริยา was
  • ประธาน You / We / They / Cats ใช้กับกริยา were

 

Affirmative sentences Questions
I was late.
ฉันมาสาย
Was I late?
ฉันมาสายหรือเปล่า
You were sick yesterday.
เมื่อวานคุณป่วย
Were you sick yesterday?
เมื่อวานคุณป่วยหรือเปล่า
She was surprised.
เธอรู้สึกประหลาดใจ
Was she surprised?
เธอแปลกใจไหม
She was from Italy originally.
เดิมทีเธอมาจากอิตาลี
Was she from Italy?
เธอมาจากอิตาลีหรือเปล่า
It was a nightmare.
มันเป็นฝันร้าย
Was it a nightmare?
มันเป็นฝันร้ายหรือเปล่า
We were ready.
เราก็พร้อม
Were we ready?
เราพร้อมไหม
You were early.
คุณมาก่อน
Were you early?
คุณมาเร็วไหม
They were busy.

พวกเขายุ่ง

Were they busy?
พวกเขายุ่งหรือเปล่า

 เนื่องจากว่า was / were เป็นช่องที่ 2 ของ is / am / are ดังนั้นหลักการใช้ก็จะเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่ใช้เล่าเรื่องราวในอดีต แค่นั้นเองจ้า 

ข้อควรรู้:

 

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did WasWere

 

เราจะไม่ย่อ รูปของ V. to be ในประโยคบอกเล่านะคะ อย่าลืมน๊า ตัวอย่างเช่น

Question: Did you hate him that much?

ผิด: Yes, I’m. 
ถูก: Yes, I did. ใช่แล้ว (ถาม Did ตอบ did นะคะ)

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียนเรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ อย่าลืมทบทวนบทเรียนปังๆ ได้ที่ด้านล่างนี้นะคะ 

Take care! ไปเรียนให้สนุกและได้ความรู้กันจ้า คลิกที่ปุ่มเพลย์เลยน๊า ดูแลสุขภาพด้วยเด้อ เลิฟๆ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน(Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน(Conjunctions)“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น for, and, or, nor, so, because, since ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม

การชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ   1. ประโยคบอกเล่า (Statement)  

เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในสังข์ทอง ตอน กำเนิดพระสังข์

สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เพราะถูกนำไปปรับปรุงเป็นบทละครovdในรัชกาลที่ 2 จนได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย นอกจากนี้หนึ่งในตอนที่สำคัญอย่างตอน กำเนิดพระสังข์ นี้ก็ยังเป็นอีกตอนที่สำคัญเพราะมักถูกหยิบยกมาทำเป็นนิทานสำหรับเด็ก แถมยังเคยได้รับรางวัลหนังสือดีสำหรับเด็ก และได้ชื่อว่าเป็นหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชนในปี 2561 อีกด้วย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าในตอนนี้เพื่อไขข้อข้องใจว่าทำไมวรรณคดีที่ถูกแต่งขึ้นเมื่อหลายร้อยปีก่อนถึงมีคุณค่าและอิทธิพลกับเด็กไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ     ถอดความ กล่าวถึงพระสังข์เมื่อตอนเกิดว่าเป็นเทพลงมาเกิด

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร     แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

Suggesting Profile

การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1)

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1