Past Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Past Simple Tense ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ
past simple tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Past Simple Tense คืออะไร?

เราจะใช้ Past Simple Tense ในการพูดถึงเรื่องในอดีต หรือเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วอย่างสมบูรณ์ และน้องๆ จะเจอ Tense นี้ได้บ่อยๆ เวลาที่อ่านหนังสือนิทาน หรือนิยายภาษาอังกฤษต่างๆ เราก็ใช้ Tense นี้ในการเล่าเรื่องเช่นกัน

 

โครงสร้างประโยคบอกเล่า

กริยาใน Past Simple จะเป็นรูปของ Past Form หรือกริยาช่องที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเติม -ed ถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้ was และ were

past simple

ตัวอย่าง

I saw a movie last week.
(ฉันดูหนังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)

John played football yesterday.
(จอห์นเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้)

He travelled to Italy last month.
(เขาไปเที่ยวอิตาลีเมื่อเดือนที่แล้ว)

example 1 past simple

 

โครงสร้างประโยคปฏิเสธ

เราจะใช้ did not หรือ didn’t มาช่วยและตามด้วยกริยาไม่ผัน (Infinitive)

negative past simple

ตัวอย่าง

I didn’t know what happened on Monday.
(ฉันไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อวันจันทร์)

Maria didn’t arrive on time this morning.
(มาเรียไม่ได้มาถึงตรงเวลาเมื่อเช้านี้)

Jake didn’t want to play basketball.
(เจคไม่อยากเล่นฟุตบอล)

example 2 past simple

 

โครงสร้างประโยคคำถาม

เราจะนำ Did มาขึ้นต้นประโยค จากนั้นก็ตามด้วยส่วนประธานและกริยาส่วนที่เหลือ

interrogative past simple

ตัวอย่าง

Did you go to school yesterday?
(เมื่อวานเธอไปโรงเรียนมาหรือเปล่า?)

Did Lala join the party last weekend?
(ลาล่าได้ไปงานปาร์ตี้เมื่ออาทิตย์ก่อนหรือเปล่า?)

Did he come to your wedding?
(เขาได้มางานแต่งงานของคุณหรือเปล่า?)

example 3 past simple

 

ข้อควรจำ

  1. ใน Past Simple อาจจะมีตัวบอกเวลาหรือไม่มีก็ได้ โดยให้น้องๆ สังเกตกริยาที่เป็น Past Form (ช่องที่ 2) เป็นหลัก ตัวอย่างตัวบอกเวลาในอดีต ได้แก่ yesterday, last week, two days ago, last Friday เป็นต้น
  2. น้องๆ ควรมีพื้นฐานเรื่อง Regular และ Irregular Verbs มาก่อนเพราะจะทำให้ผันกริยาได้แม่นยำมากขึ้น Regular Verbs  เช่น play > played > played และ Irregular Verbs เช่น go > went > gone
  3. Past Simple นั้นง่ายตรงที่น้องๆ ไม่ต้องผันกริยาตามประธานเหมือนกับ Present Simple ประธานทุกตัวจะใช้กริยาช่องที่ 2 ทั้งหมด (มีแค่ was/were ที่ต้องผันตามประธาน)

นี่ก็เป็นความรู้เรื่อง Past Simple Tense แบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ นะครับ ถ้าน้องๆ สนใจเนื้อหาเพิ่มเติมสามารถดูวิดีโอจากช่องของ NockAcademy ได้ด้านล่างเลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือ และการให้คำแนะนำผู้อื่น

สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือและการให้คำแนะนำผู้อื่น

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไป เรียนรู้สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือและการให้คำแนะนำผู้อื่น ( Idioms for helping and giving advice to others) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   บทนำ     สำนวนที่ใช้ในการถามและการให้คำแนะนำ นั้น คำศัพท์ที่เจอส่วนใหญ่มักจะมีคำว่า “advise” แปลว่า แนะนำ

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

อสมการ

อสมการ

จากบทความที่ผ่านมาได้พูดถึงเรื่องช่วงของจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้เราจะนำความรู้เกี่ยวกับช่วงของจำนวนจริงมาใช้ในการแก้อสมการเพื่อหาคำตอบกันนะคะ ถ้าน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วรับรองว่าพร้อมทำข้อสอบแน่นอนค่ะ

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

“อัตราส่วน คือ ปริมาณ อย่างหนึ่งที่แสดงถึง จำนวน หรือ ขนาด ตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีก ปริมาณ หนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน ที่อาจมีได้ตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป”

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1