เมื่อฉันโดนงูรัด!: เรียนรู้การใช้ Passive Voice แบบผ่อน ‘คลายย’

น้องๆ ทราบกันมั้ยว่าในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘Voice’ ถ้ายังไม่ทราบหรือเคยได้ยินแต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Voice ในภาษาอังกฤษแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Passive Voice in English

Voice (ในที่นี้พี่ขอเรียกทับศัพท์ว่า Voice /วอยซ์/ ไปเลยนะครับ) ในภาษาอังกฤษจะมีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน คือ

1) Active Voice และ

2) Passive Voice

ซึ่ง Active Voice จะใช้ในประโยคที่ ประธาน (Subject) เป็นผู้ทำกริยา (Verb) นั้นๆ ด้วยตัวเอง เช่น

The snake strangles me.

งูรัดคอฉัน

ให้น้องๆ สังเกตที่ประธาน คือ งู (snake) ซึ่งทำกริยารัดคอ (strangle) ด้วยตัวมันเองนั่นเองครับ ถ้าเราลองเปลี่ยนประโยคให้เป็น Passive Voice หรือการที่เราถูกกระทำ (ตัวอย่างในที่นี้คือโดนงูรัด) เราจะสามารถเปลี่ยนได้เป็น

I am strangled by the snake.

แปลตามตัวจะแปลได้ว่า ฉันถูกรัดคอโดยงู

เราสามารถกล่าวได้ว่า Passive Voice คือประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำนั่นเองครับ ซึ่ง Voice ทั้งสองแบบนี้ จะปรากฎอยู่ใน Tense ทุกประเภท ซึ่งวันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ Passive Voice ใน Present Simple Tense กันครับ

พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน: Present Simple, กริยา 3 ช่อง

 

โครงสร้าง Present Simple แบบ Passive Voice

โครงสร้างของ Present Simple ในรูปแบบ Passive Voice คือ

 

Subject + is/am/are + Past Participle

 

ข้อควรจำ!

1) Past Participle เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของ “กริยาช่องที่ 3”

2) ในประโยคแบบ passive voice กริยาช่อง 3 จะคงรูปแบบนั้นเสมอ จะมีเฉพาะ Verb to be ที่เปลี่ยนตามประธานของประโยค

พี่จะลองแบ่งโครงสร้างให้ดูเข้าในง่ายๆ ตามตารางนี้ครับ

ประโยคบอกเล่า

ประโยคปฎิเสธและคำถาม

สำหรับน้องๆ ที่มีพื้นฐานการสร้างประโยคมาบ้างแล้ว ประโยคปฏิเสธและคำถามแบบ Active Voice จะใช้ Verb to do มาช่วยตามที่ได้เรียนกันมา แต่แบบ Passive Voice จะแตกต่างกันนิดหน่อยครับ ซึ่งจากตัวอย่างด้านบนสามารถทำเป็นประโยคแบบปฎิเสธและคำถามได้ดังนี้

 

 

ข้อควรจำ!

1) ประโยค Passive Voice สามารถมี “by” หรือไม่มีก็ได้ ซึ่งหากสิ่งที่กระทำกับประธานนั้นไม่สำคัญต่อความหมาย หรือไม่ทราบว่าผู้กระทำคือใคร เราจะสามารถตัด “by” ทิ้งได้ เช่น

Rice is grown in Thailand.

ข้าวถูกปลูกในประเทศไทย (จะโดยใครก็ได้ ไม่ได้สำคัญกับประโยค)

 

การใช้ในชีวิตประจำวัน

เราใช้ Passive Voice เมื่อเราต้องการเน้นสิ่งที่ถูกกระทำว่าสำคัญกว่าผู้กระทำครับ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วเราจะพบและใช้ Passive Voice ในการเขียนหรืองานเขียนที่ต้องการความเป็นทางการ ซึ่งสามารถยกตัวอย่างคร่าวๆ ได้ดังนี้

1) เมื่อพูดถึงวิทยาศาสตร์ ศิลปะ หรือวรรณกรรม เช่น

Glass is classified as a solid.

แก้วถูกจัดให้อยู่ในประเภทของแข็ง

This scientific method is used for chemical experiments.

วิธีการทางวิทยาศาสตร์นี้ถูกใช้สำหรับการทดลองทางเคมี

E.T. is directed by Steven Spielberg

ภาพยนตร์เรื่อง E.T. (ถูก)กำกับโดย สตีเฟ่น สปิลเบิร์ก

2) เพื่อบอกขั้นตอนหรือกฎกติกา เช่น

Keep stirring until the meat is cooked.

คนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเนื้อจะ(ถูกทำให้)สุก

Do not move until you are told to do so.

ห้ามขยับจนกว่าคุณจะถูกบอกให้ทำเช่นนั้น

3) ใช้ในการรายงานข่าว หรือการเขียนเชิงวิชาการ เช่น

Many people are killed in the war.

ผู้คนมากมายถูกสังหารในสงคราม

The president is assassinated this morning.

ประธานาธิบดีถูกสังหารเมื่อเช้านี้

These activities are designed for young children.

กิจกรรมเหล่านี้ถูกออกแบบมาสำหรับเด็กๆ

ข้อควรระวัง!

กริยา Intransitive Verbs (อกรรมกริยา) หรือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรม ไม่สามารถทำให้เป็น Passive Voice ได้ (เพราะมันไม่ต้องการกรรมตั้งแต่แรกนั่นเอง) เช่น

come     die     go     happen     occur     rain     walk

          Jane comes to the meeting.           Jane is come to the meeting.

          แจนมาประชุม                                     แจนถูกมาประชุม (ไม่มีความหมาย)

 

          The cat dies in the street.               The cat is died in the street.

          แมวตายอยู่ที่ถนน                               แมวถูกตายอยู่ที่ถนน (ไม่มีความหมาย)

 

          Kate walks to the school.               Kate is walked to the school.

          เคทเดินมาโรงเรียน                            เคทถูกเดินมาโรงเรียน (ไม่มีความหมาย)

 

เห็นมั้ยครับว่าเรื่อง Passive Voice นั้นไม่ยากเลย สิ่งที่น้องๆ ต้องจำให้แม่นก็คือกริยาที่อยู่ในรูป Past Participle (กริยาช่อง 3) และการผัน Verb to be ให้ตรงกับประธานนั่นเองครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_Infinitives after verbs

Infinitives after verbs

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปดูการใช้ Infinitives after verbs กันเด้อ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า Let’s go!   ทบทวนความหมายของ “Infinitive”   Infinitive คือ   กริยารูปแบบที่ไม่ผัน ไม่เติมอะไรใดๆเลย ที่นำหน้าด้วย to (Infinitive with “to” หรือ

Profile-even if-only if- unless grammartical techniques

Even if, Only If, Unless ใช้ยังไงในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.  6 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคการใช้ Even if, Only if, Unless มาฝากกันค่ะ หลายคนที่อาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว แต่อาจะจะลืมไปหรือบางคนอาจจะยังไม่เคยเรียนเลย ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะเริ่มกันใหม่ ไปลุยกันเลย ความหมายโดยรวมของ Even if, Only if, Unless คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมความขัดแย้งของประโยคเงื่อนไข ย้ำนะคะว่า

P5 NokAcademy_การเรียนเกี่ยวกับทิศทางและการถามทาง

การเรียนเกี่ยวกับทิศทางและการถามทาง

สวัสดีค่ะนักเรียนป.5 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย กับหัวข้อ การเรียนเกี่ยวกับทิศทางและการถามทาง   มาเริ่มกับการ “ถาม-ตอบเกี่ยวกับทิศทาง”   วิธีการถามตอบ: โครงสร้าง:  How can I get to…(name of the place)..? แปล

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1