Passive Modals คืออะไร

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (2)

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ

ทบทวนสักหน่อย

 

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (2)

ก่อนอื่นเราจะต้องทบทวนเรื่อง Modal verbs หรือ Modal Auxiliaries กันก่อนจร้า แล้วจากนั้นเราจะไปลงลึกเรื่อง Passive voice หรือโครงสร้างประธานถูกกระทำที่คุ้นหูกันหากใครที่ลืมแล้วก็ไม่เป็นไรน๊า มาเริ่มใหม่ทั้งหมดกันเลยจร้า

NokAcademy_ ม4 Passive Modals

กลุ่มของ Modal verbs ที่ใช้ในโครงสร้าง Passive Voice แล้วกลายเป็น Passive Modals ที่ควรรู้จักคือ shall, should, will, would,  may, might, can, could, must, ought to ตามด้วย be แล้วตามด้วย V.3 ที่เราจะได้รู้และทบทวนในบทความนี้นั่นเองค่า

Sit back, relax, and enjoy your lesson! ขอให้สนุกกับการเรียนน๊า

 

ทบทวนการใช้ Modal Auxiliaries

 

NokAcademy_ม5 การใช้ Modal Auxiliaries (3)

 

  1. ไม่เติมอะไรท้ายกริยาที่ตามหลัง Modal verbs ทุกตัว เพราะต้องตามด้วย Verb infinitive
    ง่ายๆ ก็คือ Verb เปลือยที่เป็นรูปกริยาธรรมดาไม่เติม –ing, -ed, ไม่เติม to, หรือ ไม่เติม -s/-es หรืออะไรใดๆเลยค่ะ เช่น

Michel can cook.

แปล ไมเคิลทำอาหารได้ จะเห็นว่า หลังกริยาช่วย can ตามด้วยกริยา V. infinitive “cook” ที่ไม่เติมอะไรเลย
คงไว้รูปแบบกริยาช่องที่1ไม่ผันเด้อ ถ้าเราเจอ Michel can cooks. แบบนี้คือผิด แกรมม่านะคะที่รัก

 

  1. ไม่เติมอะไรหลัง “Modal verbs” ไม่ว่าจะเป็น -s, -es
    เช่น

    ถูก: Tina should exercise every day.
    แปล ตีน่าควรออกกำลังกายทุกวัน

    VS


    ผิด: Tina shoulds exercise every day.

 

 

  1. สำหรับประโยคปฏิเสธนั้น หลัง Modal verbs ให้ใช้ not ได้เลย
    ตามโครงสร้าง
    Subject + Modal verb + not + V. Infinitive…

เช่น
They could not attend the conference.
แปล พวกเขาไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้

 ในบทเรียนนี้เราจะไปดูที่โครงสร้าง Modal verbs + be + V.3 กันจร้า เช่น It can be done. มันสำเร็จได้

Passive Voice

 

ม4 Passive Modals

ปรกติ “be” จะใช้ตามหลังตระกูล Modal verbs แต่ในประโยคบอกเล่าโดยทั่วไปเราจะใช้  is, am,are, was, were เลยจร้า

ในภาษาอังกฤษ passive voice ก็คือโครงสร้างที่ประธานถูกกระทำนั่นเอง ซึ่งโครงสร้างนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ค่ะ
Subject (ประธาน) + Verb to be (is, am, are, was, were) + Past participle (Verb 3)

หลักการใช้ Passive Voice

 

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (4)

 

  1. เน้นไปที่ผู้รับผลของการกระทำนั้นๆ ก็คือประธานของประโยคนั่นเอง เช่น

A number of people were killed during the civil war.
มีคนมากมายถูกฆ่าตายในช่วงสงครามกลางเมือง

  1. ไม่เน้นผู้กระทำเพราะไม่รู้ว่าผู้กระทำคือใคร

The car was fixed yesterday.
รถถูกซ่อมแล้วเมื่อวานนี้

***จะเห็นได้ว่าในประโยคนี้เราไม่รู้ว่าใครเป็นคนซ่อม รู้เพียงว่า รถไดรับการซ่อมแล้ว

3. เน้นผู้กระทำด้วยการเติม by + ชื่อผู้กระทำ เช่น

The house was broken down by the hurricane.
บ้านถูกทำลายลงโดยพายุเฮอริเคน

ปล. ในส่วนของ by นั้นไม่ต้องใส่ก็ได้นะคะหากไม่เน้นผู้กระทำ ไม่ผิดแกรมม่าแน่นอน เพราะเป็นเพียงส่วนขยายที่เน้นผู้กระทำนั่นเอง

การใช้ passive voice ในรูปประโยคต่างๆ เราสามารถใช้ passive voice ได้กับทุก tense อีกทั้งยังสามารถใช้กับ modal verb ต่างๆได้อีกด้วย (modal verb ก็อย่างเช่น can, could, may, might, must) โดยจะมีรายละเอียดด้านล่าง

 

Passive voice ใน 12 Tenses

 

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (5)

Tense Structure
Present simple S + is/am/are + V.3
Present continuous S + is/am/are + being + V.3
Present perfect S + has/have + been + V.3
Present perfect continuous S + has/have + been + being + V.3
Past simple S + was/were + V.3
Past continuous S + was/were + being + V.3
Past perfect S + had + been +V.3
Past perfect continuous S + had + been + being + V.3
Future simple S + will + be + V.3
Future continuous S + will + be + being + V.3
Future perfect S + will + have + been + V.3
Future perfect continuous S + will + have + been + being + V.3

 

 

ตารางโครงสร้าง Passive Modals: Subject+ Modal verbs + be + V.3

 

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (6)

Subject (S)

I, you, we, they, he, she, it, Mike, Jenny

Modal verbs Modal verbs + be

V.3

(Past Participle)

Could could + be
May may + be
Might might + be
Shall shall + be
Should should + be
Will will +  be
Would would + be
Must must + be

 

 

ข้อควรรู้:
โครงสร้าง would + be+ V.3 จะใช้เพื่อแสดงการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต

ส่วนการใช้  Modal verbs พวก  must, can, will + be + V.3 จะแสดงความเป็นไปได้มาก

 

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (9)

  • Can

Can แปลเป็นไทยได้ว่า สามารถ หรือ มีโอกาสที่จะ ดังนี้

บอกเล่า: It can be failed.

แปล มันมีโอกาสพลาดได้มาก

 

  • Will

เราอาจจะเคยเจอ will ในโครงสร้างของ Future Simple Tense มาบ้างแล้ว ซึ่ง will แปลว่า จะ ใช้บอกอนาคต  เพื่อแสดงถึงแนวโน้มของความเป็นไปได้มาก ในโครงสร้างประโยคบอกเล่า Subject + will + V. Infinitive และแสดงให้เห็นว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต จะมีบางอย่างกำลังดำเนินอยู่ในโครงสร้าง Subject + will + be + V. ing ของประโยค Future Continuous Tense เช่น Will ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้

Situation: At the fitness center

Joseph: I think the running machine is broken.

ผมว่าเครื่องวิ่งนี้พังแล้วครับ

The trainer: Don’t worry. It will be fixed.

ไม่ต้องกังวลค่ะ มันจะต้องได้ซ่อม

 

  • Must

เราใช้ must เมื่อเรามั่นใจว่าบางสิ่ง ต้อง เกิดขึ้น หลัง must ตามด้วย V. Infinitive
แสดงถึงความมั่นใจมาก เช่น

At the restaurant

June: Try this meat Jane.
เจนลองชิมเนื้อชิ้นนี้ดู
Jane: Umm, it must be cooked properly.
อืม เนื้อนี้ต้องปรุงมาดีมาก
June: This meat must be cooked by the chef.
เซฟต้องเป็นคนทำเนื้อชิ้นนี้แน่นอน

 

กริยาช่วยกลุ่มแสดงความเป็นไปได้ระดับปานกลางได้แก่ may, might, could, should

คำเหล่านี้เมื่ออยู่ในประโยคจะมีน้ำหนักของคำระดับปานกลาง และจะมีความหมายเหมือนกันซึ่งแปลว่า อาจจะ เช่น

The class may be closed tomorrow.

พรุ่งนี้ชั้นเรียนอาจจะปิด

  • Should

Should มีความหมายว่า น่าจะ หรือ ควรจะ เช่น

 

It should be finished 3 hours ago.
(But it didn’t.)
มันควรจะเสร็จตั้งแต่สามชั่วโมงที่แล้ว (แต่ก็ยังไม่เสร็จ)

 

 

  • Could แสดงความเป็นไปได้น้อยมาก

Could นอกจากจะใช้เพื่อแสดงแนวโน้มของความเป็นไปได้ปานกลาง เช่น

She could be hit by a car.

หล่อนอาจจะโดนรถชนได้

  • Semi-modal: “ought to be + V.3”

การใช้ ought นี้จะแปลว่า “ควรจะ”  แปลเหมือน should มีหลักการใช้ดังตัวอย่างบทสนทนาด้านล่างนี้

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (7)

 

ใช้แนะนำทั่วๆไป:

Doctor really ought to be vaccinated  (by the vaccinator) first.
คุณหมอควรจะได้รับวัคซีนก่อน

 

 

สรุปการใช้โครงสร้าง Passive Modals

 

NokAcademy_ ม4 Passive Modals

  • แสดงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของความเป็นไปได้  เช่น ในโครงสร้าง  Subject + can, could, may, might+be +V.3 
  • ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ เช่น ในโครงสร้าง  Subject + should be, ought to be + V.3
  • กฎข้อบังคับ  กติกา สิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เช่น ในโครงสร้าง  Subject +must be+ V.3
  • มารยาททางสังคม การขออนุญาต แสดงความสุภาพ เช่น  ในโครงสร้าง  Subject +can, could, may, might, shall, will, would +be + V.3

เมื่อจะต้องใช้ Passive Modals สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ “กริยาช่วยต้องตามด้วย + be + V.3” เพื่อให้เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง และคล่องมากๆแบบเจ้าของภาษากันจร้า อย่าลืมดูวีดีโอทบทวนบทเรียนในหัวข้อ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.4 เรื่อง Passive Modals กันด้วยเด้อ เลิฟๆ

คลิกที่ปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจร้า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

Direct Object

Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ เกิดจากสิ่งสองสิ่งมาเกี่ยวข้องกันภายใต้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของ a กับ b ซึ่ง a มากกว่า b เป็นต้น ก่อนที่เราจะเริ่มเนื้อหาของความสำคัญพี่อยากให้น้องๆรู้จักกับคู่อันดับ และผลคูณคาร์ทีเซียนก่อนนะคะ คู่อันดับ ในการเขียนคู่อันดับเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญเลยทีเดียว เพราะถ้าน้องๆเขียนคู่อันดับผิดตำแหน่งนั่นหมายความว่า ความหมายของมันจะเปลี่ยนไปทันที เช่น คู่อันดับ (x, y) โดย x

comparison of adjectives

Comparison of Adjectives

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่องของ Comparison of Adjectives ซึ่งจะคืออะไรและเอาไปใช้อะไรได้บ้าง เราลองไปดูกันเลยครับ

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

       บทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบวกลบจำนวนเต็ม โดยก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องการเปรียบเทียบจำนวนเต็มมาแล้ว ต่อไปจะพูดถึงค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับจำนวนตรงข้ามกันก่อนนะคะ จำนวนตรงข้าม       “หากค่าของจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เท่ากัน แต่อยู่ต่างทิศทางกันมีค่าเท่ากันหรือไม่” (ค่าไม่เท่ากัน)           

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1