Like & Dislike ในการพูดถึงความชอบ และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับผม วันนี้เราจะมาลองฝึกใช้ประโยคที่เอาไว้บอกความชอบของเรากัน พร้อมกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองเบื้องต้นครับ ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Like & Dislike

หากน้องๆ ต้องการจะบอกความชอบ เช่น อาหาร งานอดิเรก หรือสิ่งที่น้องๆ ชอบทำ วิธีง่ายๆ ที่พี่เอามาฝากวันนี้ก็คือการใช้ Like & Dislike นั่นเองครับ

Like เป็นคำกริยาในภาษาอังกฤษ แปลว่า “ชอบ” ซึ่งสามารถใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์ ดังนี้

I like strawberry ice cream.
(ฉันชอบไอศกรีมสตรอว์เบอร์รี่)

I like playing football.
(ฉันชอบการเล่นฟุตบอล)

I like dogs.
(ฉันชอบสุนัข)

น้องๆ จะเห็นได้ว่าเราสามารถใช้ Like ตามด้วยคำนาม หรือคำกริยาที่เติม -ing ได้ (แปลว่า การ…) เพื่อเป็นการบอกว่าเราชอบอะไร นอกจากนี้น้องๆ สามารถใช้คำว่า love ก็ได้เช่นกัน เช่น

I love pizza.
(ฉันรักพิซซ่า)

I love going to school.
(ฉันรักการไปโรงเรียน)

like & dislike

 

และถ้าจะบอกว่าน้องๆ ไม่ชอบอะไร เราสามารถนำ do not หรือ don’t มาวางไว้ข้างหน้า like ได้เลย เช่น

I don’t like coconuts.
(ฉันไม่ชอบมะพร้าว)

I do not like going to the beach.
(ฉันไม่ชอบการไปชายหาด)

 

หรือน้องๆ อาจจะใช้กริยา dislike แทนก็ได้เช่นกัน แต่คำนี้จะไม่ค่อยใช้ในภาษาพูดเท่าไรนัก เช่น

I dislike spicy foods.
(ฉันไม่ชอบอาหารรสเผ็ด)

like & dislike 2

 

และสุดท้ายหากน้องๆ ต้องการถามเพื่อนว่าเขาชอบอะไรก็สามารถทำได้โดยใช้โครงสร้างดังนี้

Do you like/love … ?

เช่น

Do you like pop music?
(เธอชอบเพลงป๊อปมั้ย?)

Do you love Star Wars?
(เธอชอบสตาร์วอร์มั้ย?)

Do you like watching TV?
(เธอชอบการดูทีวีมั้ย?)

question

 

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

และสุดท้ายพี่ก็มีวิธีการพูดหรือเขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองง่ายๆ จากสิ่งที่เราเพิ่งเรียนกันมา มาฝากกันครับ

introduction pattern

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเรื่อง Like & Dislike หวังว่าน้องๆ จะสามารถเอาไปใช้พูดหรือเขียนในชีวิตประจำวันกันนะครับ และหากน้องๆ ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมจาก NockAcademy ได้ตามด้านล่างนี้เลย หรือลองอ่านวิธีใช้อื่นๆ ได้ที่นี่

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M3 Past Passive

Past Passive คืออะไร

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   Past Passive คืออะไร   Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจากโครงสร้างของ Passive voice (ประโยคที่ประธานถูกกระทำ เน้นกรรม) เมื่อนำมารวมกันแล้วPast

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง “ระบบจำนวนจริง” เป็นรากฐานสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วยจำนวนต่างๆ ได้แก่ จำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะ จำนวนเต็ม จำนวนนับ โครงสร้าง ระบบจำนวนจริง มนุษย์เรามีความคิดเรื่องจำนวนและระบบการนับมาตั้งแต่โบราณ และจำนวนที่มนุษย์เรารู้จักเป็นอย่างแรกก็คือ จำนวนนับ การศึกษาระบบของจำนวนจึงใช้พื้นฐานของจำนวนนับในการสร้างจำนวนอื่นขึ้นมา จนกลายมาเป็นจำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน (เนื้อหาม.5) ดังนั้น ถ้าน้องๆเข้าใจจำนวนนับแล้วน้องๆก็จะสามารถศึกษาระบบจำนวนอื่นๆได้ง่ายขึ้น   โครงสร้าง     จำนวนจริง จำนวนจริงคือจำนวนที่ประกอบไปด้วย

ราชาศัพท์

ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ราชาศัพท์     การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

สำนวนไทยที่เราควรรู้ และตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

น้อง ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าคะ เวลาที่อยากจะพูดอะไรสักอย่างแต่มันช่างยาวเหลือเกิน กว่าจะพูดออกมาหมดนอกจากคนฟังจะเบื่อแล้วยังอาจทำให้เขาไม่สนใจคำพูดของเราเลยก็เป็นไปได้ เพราะอย่างนั้นแหละค่ะในภาษาไทยของเราจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสำนวนขึ้นมาเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกลั่นกรองออกมาจนได้คำที่สละสลวย รวมใจความยาว ๆ ให้สั้นลง ทำให้เราไม่ต้องพูดอะไรให้ยืดยาวอีกต่อไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนความรู้เรื่อง สำนวนไทย รวมถึงตัวอย่างสำนวนน่ารู้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย   ความหมายและลักษณะของ สำนวนไทย   สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1