Infinitives after verbs

NokAcademy_Infinitives after verbs

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปดูการใช้ Infinitives after verbs กันเด้อ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า Let’s go!

 

ทบทวนความหมายของ “Infinitive”

 

NokAcademy_Infinitives after verbs (2)

Infinitive คือ   กริยารูปแบบที่ไม่ผัน ไม่เติมอะไรใดๆเลย ที่นำหน้าด้วย to (Infinitive with “to” หรือ To + infinitive) เช่น to play, to study, to stay, to call, etc. และนอกจากนี้เราจะไปดู รูปโครงสร้างของ Infinitive ที่มีทั้งตามหลัง to และ ไม่มี to (Infinitive without to) พร้อมทั้งโครงสร้างอื่นๆที่ใช้บ่อยเวอร์กันจร้า

***เราจะไปดูทั้ง ตัวอย่างประโยคและการใช้
Infinitive ที่มี  to และ ไม่มี to น๊า 

 

หน้าที่ของ Infinitive with to

 

NokAcademy_Infinitives after verbs (3)

ในประโยคนั้น To+ V. Infinitive หรือ Infinitive with to ทำหน้าที่ได้หลายอย่างมาก ได้แก่

1) เป็นประธาน เช่น

To study well is students’ duty.
***To study เป็นประธานของกริยาหลัก is ส่วน well ในประโยคเป็น คำวิเศษณ์ (Adverb)
ขยายกริยา infinitive “study”

2) เป็นคำวิเศษณ์ เช่น

Dad is content to go back to mom.
***to go back เป็นคำวิเศษณ์ขยาย adj. content

3) เป็นคำคุณศัพท์ เช่น
Jenny collected the trash can to be recycled.
*** to be recycled เป็นคุณศัพท์ ขยายนาม can (กระป๋อง)

4) เป็นกรรมของกริยา เช่น We managed to cook dinner tonight.
*** to cook  เป็นกรรมของกริยาหลัก managed

5) เป็น ส่วนเติมเต็ม (complement) ของ verb to be เช่น
Tiffany’s dream is to be a famous singer.
***to be เป็น complement ของกริยาหลัก is

การทำให้เป็นรูปปฏิเสธ

รูป negative infinitive สร้างขึ้นโดยการเติม not ข้างหน้า to ซึ่งเป็น not to + V.infinitive เช่น

Frank decided not to become a teacher.
แฟรงค์ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่เป็นครู

 

สรุป Infinitives after verbs ทั้ง 5 รูปแบบง่ายๆ

 

NokAcademy_Infinitives after verbs (4)

 วันนี้ครูขอเสนอ การใช้ Infinitives หลัง กริยาทั้ง 5 รูปแบบที่ใช้บ่อยนะคะ

  • โครงสร้าง1: Verb + to + infinitive

They planned to go on vacation.
พวกเขาวางแผนที่จะไปเที่ยวพักผ่อน

 

  • โครงสร้าง2: Verb + noun + to + infinitive

The teacher wanted the students to focus on their class.
ครูต้องการให้นักเรียนจดจ่อกับชั้นเรียนของตน

Jennifer told me to study more.
เจนนิเฟอร์บอกให้ฉันศึกษาเพิ่มเติม

 

  • โครงสร้าง3: Verb + noun + infinitive

My father wouldn’t let me stay out late.
พ่อของฉันจะไม่ปล่อยให้ฉันอยู่ดึก

 

  • โครงสร้าง4: Verb + to + infinitive

They needed to have more fun from online lessons.

พวกเขาจำเป็นต้องมีความสนุกสนานมากขึ้นจากบทเรียนออนไลน์

 

กริยากลุ่มนี้ที่เจอบ่อยๆ จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด ได้แก่

 

choose เลือก

decide ตัดสินใจ

expect คาดหวัง

forget ลืม

hope หวัง

intend ตั้งใจ

learn เรียนรู้

love รัก

mean แปลว่า

plan    วางแผน
prefer ชอบมากกว่า

remember จำ

want ต้องการ

would like/love ชอบที่จะ

 

 

กริยาเกี่ยวกับการพูด

agree   เห็นด้วย
promise สัญญา
refuse  ปฏิเสธ
threaten ปฏิบัติต่อ
advise แนะนำ
ask ถาม
encourage ให้กำลังใจ
order สั่ง
persuade โน้มน้าว
remind เตือน

 

การใช้  Passive form ของ “make, allow”+ to +V. Infinitive

 

She was made to be a millionaire.
เธอถูกสร้างให้เป็นเศรษฐี

Timothy was allowed to go home early today.

วันนี้ทิโมธีได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเร็ว

 

โครงสร้าง5: การใช้ dare + (to) ในโครงสร้างประโยคคำถาม และปฏิเสธ

 

ปรกติเราจะไม่ค่อยเจอ dare ในประโยคบอกเล่า
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างการใช้ “Dare to”

Jenny didn’t dare (to) go back to her ex-boyfriend.

เจนนี่ไม่กล้า(ที่จะ)กลับไปหาแฟนเก่าของเธอ

 

Who would dare (to) go against the law?

ใครจะกล้า (ที่จะ) ขัดต่อกฎหมาย?

 

 

 

Infinitive without to

NokAcademy_Infinitives after verbs (5)

เช่น Causative verbs: Let, Make, Have, Get และ Help

 

จาก 1 ในตัวอย่าง 5 โครงสร้างที่ใช้บ่อย มี make อยู่ด้วย สังเกตเห็นมั้ยเอ่ย เจ้า make นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Causativeหรือ โครงสร้างไวยากรณ์ในรูปแบบคำกริยาที่พูดเพื่อให้ผู้อื่นทำบางสิ่งบางอย่างให้ ในภาษาอังกฤษ

****คำกริยา Let, Make, Have, Get และ Help เรียกว่า Causative Verbs เนื่องจากคำกริยาเหล่านี้ก่อให้เกิดบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นนั่นเองค่า

 

โครงสร้างและหลักการใช้ Causative Verbs

  • Let

โครงสร้าง Let + someone/something + Infinitive (V.1) + something

หมายถึง ได้รับอนุญาตหรือปล่อย

 

I don’t know if my dad will let me hang out tonight.

ไม่รู้ว่าพ่อจะอนุญาตให้ออกไปเที่ยวมั้ยนะคืนนี้

Will you let me love you?
คุณจะให้ฉันรักคุณไหม

  • Have

โครงสร้าง Have + someone + Infinitive (V.1) + something

หมายถึง โน้มน้าวหรือสั่ง ตามโครงสร้าง Have + something + Past Participle (V.3)

I had my car fixed yesterday.

ฉันให้ (ช่าง) ซ่อมรถเมื่อวานนี้

 

 หรือ ตัวอย่างประโยค ใน Future tense

I will have him check my writing article.

ฉันจะให้เขาตรวจบทความของฉัน

 

  • Make

โครงสร้าง Make + someone + Infinitive (V.1) + something

หมายถึง บังคับ หรือต้องการให้

 

His mom made him study English.

แม่ของเขาให้เขาเรียนภาษาอังกฤษ

The janitor made his career more meaningful.
ภารโรงทำให้อาชีพของเขามีความหมายมากขึ้น

Mike made me wait for almost three hours.
ไมค์ทำให้ฉันรอเกือบสามชั่วโมง

 

  • Get

โครงสร้าง Get + someone + to Infinitive (to V.1)

I will try to get Liza to come home tonight.

ฉันจะพยายามให้ลิซ่ากลับบ้านคืนนี้

 

 

  • Help

โครงสร้าง Help + someone + infinitive (V.1)/to infinitive (to V.1)

หมายถึง ช่วยใครบางคนทำบางสิ่งบางอย่าง

 

Watching a movie helps me relax. หรือ Watching a movie helps me to relax.

การดูหนังสักเรื่องทำให้ผมผ่อนคลาย สองประโยคนี้ความหมายคล้ายๆกัน

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน หวังว่านักเรียนที่รักจะเข้าใจหลักการใช้ Infinitives หลังกริยา กันมากขึ้นนะคะ  เทคนิคด้านบนนี้ครูได้สรุปมาให้แล้ว แต่ว่าก็อย่าลืมทบทวนบทเรียนกับวีดีโอด้านล่างเด้อ เพื่อความเป้ะปังของแกรมม่า และความมันส์ แล้วเจอกันจร้า

คลิกปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกและได้ความรู้กับทีชเชอร์กรีซกันจร้า

Take care.
ดูแลตัวเองด้วยน๊า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สมบัติการบวกจำนวนจริง

สมบัติการบวกจำนวนจริง สมบัติการบวกจำนวนจริง เป็นสมบัติที่น้องๆต้องรู้ เพราะเป็นรากฐานของวิชาคณิตศาสตร์และน้องๆจะต้องใช้สมบัติพวกนี้ในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น สมบัติการบวกของจำนวนจริง มีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้   1.) สมบัติปิดการบวก  สมบัติปิดการบวก คือ การที่เรานำจำนวนจริง 2 ตัวมาบวกกัน เราก็ยังได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจริงเหมือนเดิม เช่น 1 + 2 = 3 จะเห็นว่า

ร่ายสุภาพ เรียนรู้บทร้อยกรองที่แต่งง่ายที่สุด

หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมามากมาย น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเห็นคำประพันธ์ประเภท ร่าย ผ่านตากันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าคำประพันธ์นี้จะไม่ได้มีมากที่สุด แต่ก็เป็นอีกหนึ่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่มีมาตั้งแต่โบราณ แถมยังแต่งง่ายมากที่สุดอีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปเรียนรู้การแต่งคำประพันธ์อย่าง ร่ายสุภาพ พร้อมกันเลยค่ะ   ร่าย คืออะไร?   ร่าย แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน เหรือแปลว่าป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งก็ได้ ร่ายเป็นบทประพันธ์ที่แต่งง่าย

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

โจทย์ปัญหาการหารทศนิยม

บทความนี้เป็นเรื่องการวิเคราห์โจทย์ปัญหาการหารทศนิยม ซึ่งโจทย์ที่นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเขียนประโยคสัญลักษณ์ รวมไปถึงการสดงวิธีทำ หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1