Imperative Sentence: การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

สวัสดีครับน้องๆ :) วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำในภาษาอังกฤษ หรือที่เรียกว่า “Imperative Sentence” กันครับ
Imperative Sentence

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้องๆ เคยได้ยินคำว่า “Imperative Sentence” มาบ้างมั้ยครับ? ลองดูประโยคด้านล่างนี้นะครับ

“Stand up, please”

“Have a seat”

“Don’t do that!”

ประโยคเหล่านี้เป็นประโยคที่ใช้เพื่อออกคำสั่ง ขอร้อง เตือน หรือให้คำแนะนำ ที่น้องๆ จะได้ใช้บ่อยมากๆ ในชีวิตประจำวัน ก่อนอื่นเราลองมาดูโครงสร้างของมันกันครับ

 

โครงสร้างของ Imperative Sentence

โครงสร้างของประโยคเหล่านี้นั้นจะไม่มีประธานครับ (ประธานจะถูกละไว้ ขึ้นอยู่กับว่าเราพูดประโยคนั้นๆ กับใคร) ฉะนั้นในการสร้างประโยคคำสั่ง ขอร้อง หรือแนะนำนั้น น้องๆ สามารถทำได้โดยใช้คำกริยา (Verb) ในรูปปกติ (Inifnitive) ได้เลยครับ เช่น

imperative sentence

 

ถ้าต้องการทำให้เป็นรูปปฎิเสธ น้องๆ สามารถทำได้โดย วาง Do not หรือ Don’t ไว้ข้างหน้าคำกริยา เช่น

imperative sentence

 

อีกโครงสร้างหนึ่งของที่พี่อยากแนะนำ นั่นคือการเชิญชวนนั่นเอง น้องๆ สามารถใช้ Let’s ตามด้วยคำกริยาได้เลยครับ เช่น

imperative sentence

 

ซึ่งรูปปฎิเสธของ Let’s คือ Let’s not ครับ เช่น

 

การออกคำสั่ง (Orders)

น้องๆ อาจจะพบได้บ่อยๆ ที่บ้านหรือที่โรงเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นคำสั่งจากคุณพ่อคุณแม่ คุณครู หรือจากหัวหน้าห้อง เช่น

orders

 

หรือน้องๆ อาจจะใช้ประโยคคำสั่งกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือแมวก็ได้ครับ เช่น

orders

 

*น้องๆ สามารถใส่เครื่องหมายตกใจ (!) แทนจุด full-stop (.) ในประโยคคำสั่งได้ครับ

 

การห้ามหรือเตือน (Warnings)

สามารถใช้ในการเตือนเพื่อนๆ ในเรื่องที่อาจมีอันตราย เช่น ตอนข้ามถนน ลงบันได หรือพื้นต่างระดับ

warnings

 

*ในการห้ามหรือเตือน น้องๆ สามารถใส่เครื่องหมายตกใจ (!) แทนจุด full-stop (.) ได้เช่นกันครับ

 

การให้คำแนะนำ (Advice)

ถึงแม้จุดประสงค์จะคล้ายๆ การออกคำสั่ง แต่การให้คำแนะนำนั้นจะแตกต่างจากการออกคำสั่งตรงที่ว่า เรามักจะให้เหตุผลประกอบคำแนะนำนั้นๆ ด้วยครับ เช่น

advice

 

การขอร้อง (Requests)

การขอร้องนั้นจุดประสงค์จะคล้ายๆ การออกคำสั่งเช่นกันครับ แต่จะใช้คำและน้ำเสียงที่สุภาพกว่า และที่สำคัญมากๆ น้องๆ อย่าลืมพูดคำว่า “please” ด้วยนะครับ

requests

 

น้องๆ จะเห็นได้ว่า Imperative Sentence นั้นสามารถใช้ง่ายและใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์มากๆ เลยใช่มั้ยครับ น้องๆ สามารถศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่ บทความระดับม. 1 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน(Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน(Conjunctions)“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น for, and, or, nor, so, because, since ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม

มงคลสูตร

รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย     ประวัติความเป็นมา เรื่อง

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

can could

การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1