Past Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Past Simple Tense ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ
past simple tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Past Simple Tense คืออะไร?

เราจะใช้ Past Simple Tense ในการพูดถึงเรื่องในอดีต หรือเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วอย่างสมบูรณ์ และน้องๆ จะเจอ Tense นี้ได้บ่อยๆ เวลาที่อ่านหนังสือนิทาน หรือนิยายภาษาอังกฤษต่างๆ เราก็ใช้ Tense นี้ในการเล่าเรื่องเช่นกัน

 

โครงสร้างประโยคบอกเล่า

กริยาใน Past Simple จะเป็นรูปของ Past Form หรือกริยาช่องที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเติม -ed ถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้ was และ were

past simple

ตัวอย่าง

I saw a movie last week.
(ฉันดูหนังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)

John played football yesterday.
(จอห์นเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้)

He travelled to Italy last month.
(เขาไปเที่ยวอิตาลีเมื่อเดือนที่แล้ว)

example 1 past simple

 

โครงสร้างประโยคปฏิเสธ

เราจะใช้ did not หรือ didn’t มาช่วยและตามด้วยกริยาไม่ผัน (Infinitive)

negative past simple

ตัวอย่าง

I didn’t know what happened on Monday.
(ฉันไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อวันจันทร์)

Maria didn’t arrive on time this morning.
(มาเรียไม่ได้มาถึงตรงเวลาเมื่อเช้านี้)

Jake didn’t want to play basketball.
(เจคไม่อยากเล่นฟุตบอล)

example 2 past simple

 

โครงสร้างประโยคคำถาม

เราจะนำ Did มาขึ้นต้นประโยค จากนั้นก็ตามด้วยส่วนประธานและกริยาส่วนที่เหลือ

interrogative past simple

ตัวอย่าง

Did you go to school yesterday?
(เมื่อวานเธอไปโรงเรียนมาหรือเปล่า?)

Did Lala join the party last weekend?
(ลาล่าได้ไปงานปาร์ตี้เมื่ออาทิตย์ก่อนหรือเปล่า?)

Did he come to your wedding?
(เขาได้มางานแต่งงานของคุณหรือเปล่า?)

example 3 past simple

 

ข้อควรจำ

  1. ใน Past Simple อาจจะมีตัวบอกเวลาหรือไม่มีก็ได้ โดยให้น้องๆ สังเกตกริยาที่เป็น Past Form (ช่องที่ 2) เป็นหลัก ตัวอย่างตัวบอกเวลาในอดีต ได้แก่ yesterday, last week, two days ago, last Friday เป็นต้น
  2. น้องๆ ควรมีพื้นฐานเรื่อง Regular และ Irregular Verbs มาก่อนเพราะจะทำให้ผันกริยาได้แม่นยำมากขึ้น Regular Verbs  เช่น play > played > played และ Irregular Verbs เช่น go > went > gone
  3. Past Simple นั้นง่ายตรงที่น้องๆ ไม่ต้องผันกริยาตามประธานเหมือนกับ Present Simple ประธานทุกตัวจะใช้กริยาช่องที่ 2 ทั้งหมด (มีแค่ was/were ที่ต้องผันตามประธาน)

นี่ก็เป็นความรู้เรื่อง Past Simple Tense แบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ นะครับ ถ้าน้องๆ สนใจเนื้อหาเพิ่มเติมสามารถดูวิดีโอจากช่องของ NockAcademy ได้ด้านล่างเลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

บทความนี้จะพาน้อง ๆมารู้จักกับการคูณเศษส่วนและจำนวนคละ รวมถึงเทคนิคการคูณเศษส่วนและจำนวนคละที่ถูกต้องและรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละประเภทต่าง ๆ การตัดทอนเศษส่วนจำนวนคละและตัวอย่างการคูณเศษส่วนจำนวนคละที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน

คำไทยที่มักอ่านผิด มีคำใดบ้างที่เราควรรู้?

การอ่านผิด เป็นปัญหาในการอ่านออกเสียง มีสาเหตุมาจากอ่านไม่ออก หรือ อ่านผิด หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่รู้หรือไม่คะ ว่าการอ่านนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหากเราอ่านผิด ก็จะทำให้ความหมายของคำนั้นผิดเพี้ยนไป หรือกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายไปเลยก็ได้ บทเรียน คำไทยที่มักอ่านผิด ในวันนี้ เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การอ่านสะกดคำที่ถูกต้อง กับคำในภาษาไทยที่คนส่วนใหญ่มักอ่านผิดกันบ่อย ๆ จะมีคำใดบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำไทยที่มักอ่านผิด   ลักษณะของการอ่านผิดมีดังนี้

การทดลองสุ่มและเหตุการณ์

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ และอธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ น้องๆสามารถทบทวน ความน่าจะเป็น ได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็น ⇐⇐ การทดลองสุ่ม การทดลองสุ่ม  คือ การทดลองซึ่งทราบว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะเป็นอะไรได้บ้าง  แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าในแต่ละครั้งที่ทำการทดลอง  ผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้เหล่านั้น  เช่น การโยนเหรียญซึ่งมีผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ หัวหรือก้อย เมื่อโยนเหรียญ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1