การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be
เกริ่นนำ เกริ่นใจ
เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน
ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ เอาง่าย ๆ มันคือโครงสร้างเอาไว้เม้ามอยไงแม่ “อยากเม้าเก่งต้องเป็น Past tense” จบปิ้งไปเลยค่ะแม่
โครงสร้างง่าย ๆ ของ Past simple tense มันก็ง่าย ๆ เหมือนกันจ่ะ
Subject + Verb 2 หรือ (S+V2)
ภาพจำของเรื่องในอดีตในภาษาอังกฤษคือ Verb 2 ซึ่งเป็นคำกริยาที่ใช้สำหรับเล่าเรื่องในอดีตโดยเฉพาะนะแม่
โดยภาพที่เราเห็นเป็นประจำในชั้นเรียนคือ
Subject | Verb to be | Verb to have | Verb to do |
I | was | had | did |
They | were | had | did |
We | were | had | did |
You | were | had | did |
He | was | had | did |
She | was | had | did |
It | was | had | did |
อันนี้คือภาพจำหลักที่เราเห็นประจำคือการที่เราเห็น I, They, We, You, He, She, It ใช่มั้ยอ่ะ? ซึ่งนี่อาจจะเป็นภาพจำผิด ๆ ว่าก็ Subject หมายถึงพวกนี้ไง I They We You อ่ะ ซึ่งความเป็นจริงไม่ใช่ เพราะ Subject โดยแท้จริงจะเป็นอะไรก็ได้ที่เป็นกลุ่มคำนาม (Noun) มันอาจจะเป็นหมาเป็นแมว เป็นเต่า สิ่งของ หรือผู้คน หรืออะไรก็ได้ มาขึ้นต้นประโยคของเรา
ตัวอย่างเช่น A dog ate that food yesterday. หรือ She ate that food yesterday หรือ It just ate food yesterday. พอจะเห็นภาพมั้ยว่า Subject คืออะไรก็ได้ที่เป็นคำนาม ไม่ใช่แค่ I, They, We, You, He, She และ It น่ะแม่ พอเห็นภาพแล้วเนาะ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะต้องถึงครูอังคณาแน่ เพราะเราจะเน้นไปที่เรื่องของ Verb to be อย่างเต็มรูปแบบ แต่เอาเข้าจริงนอกจาก Verb to be ยังมี Verb to do รวมถึง Verb to have ด้วย แต่การที่เราจะทำความเข้าใจเรื่องทั้ง 3 แบบละเอียด อาจจะต้องเขียนแยกเพื่อให้อ่านและเข้าใจง่ายเนาะ
ทีนี้ การเล่าเรื่องอดีตเนี่ย มันจะมีทั้งการเล่าเรื่อง ทั้งการปฏิเสธแบบ Say no ด้วย เพราะแบบมันคงไม่ใช่ว่าเราจะเห็นด้วยกับเรื่องเม้ามอยที่มันผิด ๆ ใช่มั้ยแม่ ประมาณว่า “มันไม่ใช่แบบนั้นนะ/ มันไม่ได้เกิดขึ้นแบบนั้นซักหน่อย” เห็นมั้ยแม่ว่าเราจะต้องทำความเข้าใจโครงสร้างปฏิเสธด้วย นอกจาก 2 โครงสร้างนั้นแล้ว เราจะต้องเข้าใจโครงสร้างคำถามของ Past simple tense ด้วยยยยย
ถ้าถามว่าทำไมต้องเข้าใจโครงสร้างคำถาม ลองจินตนาการตัวเองนั่งฟังเรื่องเม้ามอยนะแม่ แล้วแบบมันเล่าไม่เคลียร์ แล้วเราอยากรู้เพิ่ม เราก็ต้องถาม ซึ่งการถามเนี่ย เราก็ต้องเข้าใจโครงสร้างคำถามในการเม้ามอยด้วย ซึ่งก็คือถามแบบ Past simple tense นั่นเองล่ะจ่ะแม่… เห็นภาพยัง? ถ้าเห็นแล้วเราก็เข้าไปดูกันเลยว่าโครงสร้างแต่ละอันนั้นมีอะไรบ้าง
ประโยค | โครงสร้างโครงใจ | ตัวอย่างประโยค |
ประโยคบอกเล่า | S+V2 | I was at school yesterday |
ประโยคปฏิเสธ | S + V2 + not + (V1) | I was not at school yesterday. |
ประโยคคำถาม | Did/ Was/Were + S+ V1 | Were you at school yesterday? |
เนี่ย… พอเห็นภาพมั้ยแม่ เอางี้พี่มีทริคให้จ่ะ คือไม่ต้องไปเหนื่อยจำโครงสร้างโครงใจให้มันเสียเวลา คือจำตัวอย่างประโยคไปเลย ไม่ต้องไปจำอะไรให้ยาก จำตัวอย่างประโยคแล้วเอาไปใช้ พอใช้ไปนาน ๆ เราจะเข้าใจว่าจะใช้โครงสร้างประโยคปฏิเสธ หรือบอกเล่าในลักษณะแบบนี้แบบนั้น อ่ะ!! หลังจากเรามาถึงจุดนี้แล้ว เราก็เข้าสู่เนื้อหาหลักของเราเลยดีกว่า คือ การใช้ Past simple tense โดยเราเน้นไปที่ Verb to be
ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ Verb to be เป็นหลักขนาดนี้ละ?
ก็ง่าย ๆ เลยนะแม่ เพราะมันยากที่สุดแล้วในบรรดา Verb to… ทั้งหลาย เพราะจากตารางแรกที่ได้ให้ดูไป Verb to be คือตัวที่มีความหลากหลายที่สุดที่ต้องเปลี่ยนไปตามตัว Subject ในขณะที่ Verb to do ก็มีแค่ DID ส่วน Verb to have ก็ใช้แค่ HAD เท่านั้น
การใช้ Verb to be ใน Past simple tense
ง่าย ๆ นะแม่ เราใช้ Verb to be ใน Past simple tense ในการอธิบายผู้คนหรือสถานการณ์ในอดีต คือในช่วงเกริ่นนำเกริ่นใจ เราได้พูดถึงเรื่องของภาพรวมที่เราจะต้องรู้ของ Past simple tense ในการเม้ามอยใช่มั้ยแม่? แต่พอเราเจาะลึกลงมาที่ Verb to be อ่ะ มันจะเข้าเรื่องของการอธิบายสถานการณ์และผู้คนหรือสิ่งของและละแม่
โครงสร้างของ Verb to be ใน Past simple tense
โดยโครงสร้างประโยคจะแบ่งออกเป็น 3 ประโยคทั่วไป คือ ประโยคบอกเล่า คำถาม และประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นแนวประโยคพื้นฐานที่ถ้าเราเข้าใจแล้วไปไหนเม้ามอยไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตก็จะง่ายเหมือนกลืนน้ำกันเลยทีเดียว
ประโยค | โครงสร้างโครงใจ | ตัวอย่างประโยค |
ประโยคบอกเล่า | S + was/were + Object | I was at school yesterday |
ประโยคคำถาม | Was/Were + S+ Object word order | Were you at school yesterday? |
ประโยคปฏิเสธ | S + was/were + not + Object word order | I was not at school yesterday |
อธิบายแบบนี้อาจจะทำให้ไม่เห็นภาพนะแม่ เพราะฉะนั้นเรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าเพราะการเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนน่าจะทำให้เราเข้าใจอะไรได้มากขึ้นเนาะ
ประโยค | ตัวอย่างประโยค |
อธิบายอายุ | |
ประโยคบอกเล่า | I was 14 years old. |
ประโยคคำถาม | Was I 14 years old? |
ประโยคปฏิเสธ | I was not 14 years old. |
อธิบายน้ำหนัก | |
ประโยคบอกเล่า | I was 60 kilos when I was 14 years old. |
ประโยคคำถาม | Was I 60 kilos when I was 14 years old? |
ประโยคปฏิเสธ | I was not 60 kilos when I was 14 years old. |
อธิบายส่วนสูงของเรา | |
ประโยคบอกเล่า | I was 1.55 meters when I was 14 years old. |
ประโยคคำถาม | Was I 1.55 meters when I was 14 years old? |
ประโยคปฏิเสธ | I was not 1.55 meters when I was 14 years old. |
มาถึงตรงนี้ก็น่าจะเห็นภาพขึ้นมากมั้ยแม่ ตัวอย่างคือ ส่วนใหญ่เราใช้ Verb to be ในการอธิบายสถานการณ์ หรือบุคคล สิ่งของ แต่ตัวอย่างที่ให้เห็นนั้นจะเป็นเรื่องของการอธิบายบุคคล โดยที่ไม่ได้ทำให้มันหลากหลาย เพราะพี่เองก็อยากให้เราเห็นภาพจากตัวอย่างที่ใกล้เคียงกัน และสามารถนำไปใช้ได้ด้วยเนาะ จากประสบการณ์ตัว Verb to be เนี่ย มันมีความหมายถึง 3 อย่าง ได้แก่ “เป็น/อยู่/คือ” คือถ้าเราใช้ความหมายว่าเป็น หรือ คือ จะเข้าสถานการณ์การอธิบายผู้คนหรือสิ่งของ ในขณะที่ถ้าเป็นความหมายของคำว่า อยู่ จะเข้าไปทางของอธิบายสถานการณ์นั่นเอง EASY!!!
ท้ายที่สุดนี้ เรื่องนี้ไม่ยากเลยนะเอาจริง คือเราจำแค่ลักษณะของประโยค 3 พื้นฐานสำคัญให้ได้อย่างประโยคบอกเล่า คำถาม แล้วก็ประโยคปฏิเสธ เท่านี้ก็จะง่ายขึ้นแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเราอยากทำมันอย่างตั้งใจ และเรื่องนี้ก็จะเป็นอีกเรื่องที่เราทำได้ เพราะเธอได้แน่นอนแม่