ประโยคความเดียวและประโยคความรวมในภาษาอังกฤษ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความเดียว และประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย

TopicSimple and Compound sentences

3 โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ

การจะเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั้น ประโยคจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้

  1. กริยา หรือ verb (ภาคขยาย) ภาคขยาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ การใส่ภาคขยายเข้ามาเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  2. ประธาน subject  + กริยา หรือ verb (ภาคขยาย)
  3. ประธาน (subject) + กริยา (verb) + กรรม หรือ object (ภาคขยาย)

ความหมายประโยคความเดียว (Simple Sentence)

 

Simple sentences

 

ประโยคความเดียว ภาษาอังกฤษคือ Simple Sentence อ่านว่า ซิ้มเปิ่ล เซนเท่นสฺ เป็นประโยคที่เจอบ่อยมากในภาษาอังกฤษประกอบด้วยภาคประธานและภาคกริยา หรืออาจจะมีส่วนเติมเต็มประกอบอยู่ในประโยคด้วย

ดังตัวอย่างในตาราง

โครงสร้างประโยคความเดียว: ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม หรือ ประธาน + กริยา + กรรม

หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปเราจะเรียกว่าประโยคไม่สมบูรณ์ซึ่งผิดหลักไวยากรณ์ค่ะ นักเรียนอาจจะยังไม่เข้าใจ ไปดูตัวอย่างในตารางกันค่ะ

ตัวอย่างของประโยคความเดียว

simple sentence example

ประโยค โครงสร้าง คำแปล
Jenny and Lucy are happy. ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม เจนนี่กับลูซี่มีความสุข
Rainy eats banana. ประธาน + กริยา + กรรม เรนนี่กินกล้วย
They are reading. ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม พวกเขากำลังอ่านหนังสือ
May is lazy. ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม เมย์ขี้เกียจ
I like his school bag. ภาคประธาน + กริยา + กรรมตรง ฉันชอบกระเป๋าโรงเรียนของเขา
Black Pink brand is very famous.  ภาคประธาน + กริยา +
ส่วนเติมเต็มขยายประธาน
วงแบล็คพิงค์โด่งดังมาก
The last announcement amazed the students. ภาคประธาน + กริยา + กรรม +
ส่วนเติมเต็มขยายกรรม
คำประกาศล่าสุดทำให้นักเรียนรู้สึกประหลาดใจ

 

เมื่อนักเรียนต้องการแต่งประโยคอย่างน้อยที่สุดใน 1 ประโยคที่สมบูรณ์จะต้องมีประธาน กริยาและกรรม หรือ ส่วนขยายนะคะ อย่าลืมน๊าที่รัก

 วิธีการสังเกต

ประโยคความเดียวจะต้องประกอบด้วย ประธานตัวเดียวและกริยาตัวเดียวเท่านั้น
แต่ในส่วนของกรรม และส่วนเติมเต็ม แม้กระทั่งส่วนขยายอื่นๆนั้นนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้

ประโยคความรวม (Compound Sentence)

Compound sentence

ประโยคความรวม ภาษาอังกฤษคือ Compound Sentence อ่านว่า เคิมพาวดฺ เซนเท่นสฺ เป็นประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยคโดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น for, and, nor, but, or, yet, so ให้ท่องว่า FANBOYS นักเรียนจะได้จำได้ง่ายขึ้นและนานขึ้นค่ะ และทั้งสองประโยคจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ก็เพื่อให้ทั้งสองประโยคกลายเป็นประโยคเดียวกันสังเกตว่าจบประโยคจะมีเครื่องหมาย full stop (.) เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ในส่วนของคำเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อมประโยคความรวมนั้น ก็มีอยู่หลากหลายคำด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น คำว่า  not only….but also, and, in addition, in the same way จะใช้ในประโยคที่คล้อยไปในทางเดียวกัน คำว่า but, nor, in contrast จะใช้ในการเชื่อมประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกันกัน
คำว่า because, for, since, as, seeing that, now that  ใช้ในการเชื่อมประโยคเพื่อบอกเหตุผลหรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม  นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำเชื่อมอื่นๆ อีก เช่น Although, even though, even if, therefore, consequently, thereby, hence, thus และอีกนับไม่ถ้วนจร้า

ตัวอย่างของประโยคความรวม

โครงสร้าง: ประโยคความเดียว+ คำเชื่อม +ประโยคความเดียว

Compound sentence example

ประโยค คำเชื่อม คำแปล
The exams are hard, and the students are smart. and ข้อสอบยากและนักเรียนก็เก่งด้วย
People here are lazy, but they are nice. but ถึงเขาจะขี้เกียจแต่เขาเป็นคนดี
He studied hard, so he passed the exam. so เขาขยันเรียนมากดังนั้นจึงสอบผ่าน
Will you go out or will you stay at home? or เธอจะออกไปข้างนอกมั้ยหรือเธอจะอยู่บ้าน
They are well organized,
as well as,
they are well mannered.
as well as= and พวกเขาเป็นระเบียบและกริยาดี
Bella is a good wife, but
she is a bad friend.
but เบลล่าเป็นภรรยาที่ดีแต่เธอเป็นเพื่อนที่แย่
Should Jenny go to school or should she work in the farm? or เจนนี่ควรจะไปเรียนหรือไปทุ่งนาดี
Would you like a tea, or would you prefer a coffee sir? or ไม่ทราบว่าคุณผู้ชายจะรับชาหรือกาแฟดีครับ/ค่ะ
I love you, yet I dislike your personality. yet ฉันรักเธอนะแต่ฉันไม่ชอบบุคลิกของเธอ

 

ข้อควรจำ: ในกรณีของโครงสร้างคู่ขนานที่เชื่อมด้วย and (และ) หน้าและหลังประโยคจะต้องสอดคล้องกัน ส่วนโครงสร้างที่ขัดแย้งมักเชื่อมด้วย but, yet

FANBOYS-Simple and Compound Sentence

เทคนิคการจำคำเชื่อมตระกูลประโยคความรวมว่า “FANBOYS”  (แฟนบอย) ครูก็ท่องมาตั้งแต่สมัยเรียนว่าอยากมีแฟนเป็นบอย จำได้ไม่ลืมแน่ จำแล้วนำไปใช้ด้วยนะคะ

F = for  แปล เพราะว่า
A = And
แปล และ
N = Nor  
แปล ไม่ทั้งสอง
B = But 
แปล แต่ว่า
O = Or
แปล หรือ
Y = Yet
แปล แต่
S = So
แปล ดังนั้น

เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคนสำหรับหัวข้อ การเขียนประโยคความเดียวและประโยคความรวมอย่างง่าย แต่ยังเหลือประโยคความซ้อนที่เราจะได้เรียนในระดับที่สูงขึ้นไปอีกนะคะ โอ้วว้าว ยังไงก็ตามขอให้ทุกคนสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษให้มากๆนะคะ และครูขอให้บทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคนมากๆ
อย่าลืมดูวีดีโอด้านล่างเพื่อไปทบทวนบทเรียนให้เข้าใจและเห็นภาพยิ่งขึ้นนะคะ แล้วเจอกันครั้งหน้ากับบทเรียนครั้งต่อไป  เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต     คุณค่าด้านเนื้อหา   อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ เราจะนำสมาชิกของเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์มาบวก ลบ คูณกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้มีสมบัติและข้อยกเว้นต่างกันไป เช่น การบวกต้องเอาสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เป็นต้น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์กันค่ะ การบวกเมทริกซ์ เมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันได้นั้น ต้องมีมิติเท่ากัน และการบวกจะนำสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เช่น 1.)  2.)    การลบเมทริกซ์ การลบเมทริกซ์จะคล้ายๆกับการบวกเมทริกซ์เลย

โวหารภาพพจน์ กลวิธีการสร้างจินตภาพที่ลึกซึ้งและสวยงาม

การสร้างจินตภาพอย่างการใช้ โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีในการใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการแทนภาพนั่นเอง น้อง ๆ คงจะพบเรื่องของโวหารภาพพจน์ได้บ่อย ๆ เวลาเรียนเรื่องวรรณคดี บทเรียนในวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับภาพพจน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของภาพพจน์     ภาพพจน์ คือถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจจินตนาการ เน้นให้เกิดอรรถรสและสุนทรีย์ในการสื่อสารที่ลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าแบบตรงไปตรงมา  

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เขียนอย่างไรให้ถูกกาลเทศะ

​จดหมายเป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้อง เหมาะสมแก่ผู้รับ การเขียนจดหมายนั้นมีหลายแบบ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีเขียนจดหมายอย่างให้ถูกต้องและถูกกาลเทศะมากที่สุด เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนจดหมายถึงญาติผู้ใหญ่   การเขียนจดหมาย   1. ผู้ส่งจดหมาย 2. จดหมาย 3. ผู้รับจดหมาย   ตัวอย่างการเขียนจดหมาย   ​

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1