Comparison of Adjectives : การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Comparison of Adjectives กันครับ ถ้าน้องๆ พร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
Comparison of Adjectives

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Comparison of Adjectives (การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์)

เรื่องการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ หรือ Comparison of Adjectives นั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่เข้าใจได้ไม่ยากเลยครับ ก่อนอื่นนั้นเราลองมาดูความหมายของคำว่า คำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อนนะครับ

 

คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือตัวย่อว่า adj. ในภาษาอังกฤษนั้นคือคำที่ใช้ในการอธิบาย รูปร่าง ลักษณะนิสัย หรือคุณสมบัติต่างๆ ของคำนาม (Noun) ที่ต้องการนั่นเองครับ ตัวอย่างเช่น

tall (adj.) = สูง
a tall man = ผู้ชายตัวสูง
จากตัวอย่างนี้ tall ที่เป็น adjective ใช้ขยายคำนามคือ man เพื่อบอกรูปร่างของผู้ชายคนนี้นั่นเองครับ

 

ซึ่งการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์นั้นก็คือการที่เรานำ “คำนาม 2 คำ มาเปรียบเทียบกันโดยใช้คำคุณศัพท์” ครับ จะขอยกตัวอย่างประโยคนี้นะครับ

Mike is taller than Laura.
= ไมค์ตัวสูงกว่าลอร่า
จากประโยคดังกล่าวน้องๆ จะสังเกตเห็นว่ามีการเปรียบเทียบความสูง ระหว่างคนสองคนคือไมค์และลอร่านั่นเองครับ

Comparative and Superlative (การเปรียบเทียบขั้นกว่าและขั้นสุด)

ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีหลักการเปรียบเทียบอยู่ 2 ข้อด้วยกันครับนั่นคือ

  • Comparative (การเปรียบเทียบขั้นกว่า) และ
  • Superlative (การเปรียบเทียบขั้นสุด)

เรามาเริ่มจากการเปรียบขั้นกว่าก่อนนะครับ

การเปรียบเทียบขั้นกว่านั้นจะใช้เวลาที่เราต้องการบอกว่า “A … กว่า B” อย่างประโยคที่ยกตัวอย่างไปข้างบนคือ Mike is taller than Laura ก็เป็นการเปรียบเทียบขั้นกว่าครับ ซึ่งจะมีโครงสร้างและหลักการดังนี้

Comparison Comparative

 

หลักการเปลี่ยนรูป Adjective ใน Comparative

  • หากเป็นกริยา 1-2 พยางค์ ให้เติม -er ตามด้วย than เช่น tall = taller than, deep = deeper than, high = higher than
  • หากเป็นคำสั้นที่มีโครงสร้าง พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายเข้าไปอีกหนึ่งตัวก่อนเติม -er เช่น big = bigger
  • หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วย Y ให้เปลี่ยน Y เป็น I ก่อน จึงเติม -er เช่น pretty = prettier, heavy = heavier
  • หากเป็นคำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้โครงสร้าง more … than เช่น beautiful = more beautiful than, luxurious = more luxurious than

I am younger than your brother.
ฉันเด็กกว่าพี่ชายของคุณ

A steel is heavier than a feather.
เหล็กหนักกว่าขนนก

Monkeys are more intelligent than rabbits.
ลิงฉลาดกว่ากระต่าย

 

การเปรียบเทียบขั้นสุดคือการที่เราต้องการบอกว่าสิ่งนั้นคือที่สุด เช่น A หนักกว่า B แต่ C หนักที่สุด ซึ่งเราสามารถเขียนโครงสร้างได้ดังนี้ครับ

Comparison Superlative

 

หลักการเปลี่ยนรูป Adjective ใน Superlative

  • ก่อน adjective ทุกครั้งจะต้องมี the นำหน้าเสมอ
  • ไม่ต้องมี than ตามหลัง adjective
  • หากเป็นคำ 1-2 พยางค์ ให้เติม -est เช่น tall = the tallest , deep = the deepest, high = the highest
  • หากเป็นคำสั้นที่มีโครงสร้าง พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายเข้าไปอีกหนึ่งตัวก่อนเติม -est เช่น big = the biggest
  • หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วย Y ให้เปลี่ยน Y เป็น I ก่อน จึงเติม -est เช่น pretty = the prettiest, heavy = the heaviest
  • หากเป็นคำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้โครงสร้าง the most … เช่น beautiful = the most beautiful than, luxurious = the most luxurious

High

Tall

Expensive

Mt. Fuji 3,776 m. Daniel 185 cm. Sushi 195 baht.
Mt. Everest 8,848 m. Sara 165 cm. Pizza 299 baht.
Mt. Kilimanjaro 5,895 m. Emily 170 cm. Pad Thai 60 baht.

จากตารางด้านบนเราสามารถเขียนประโยคเปรียบเทียบรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้ครับ

Mt. Kilimanjaro is higher than Mt. Fuji.                     Mt. Everest is the highest.
เทือกเขาคิรีมันจาโคสูงกว่าภูเขาไฟฟูจิ                                 เทือกเขาเอเวอเรสต์สูงที่สุด

Emily is taller than Sara.                                             Daniel is the tallest.
เอมิลี่สูงกว่าซาร่า                                                             ดาเนียลสูงที่สุด

Sushi is more expensive than Pad Thai.                   Pizza is the most expensive.
ซูชิแพงกว่าผัดไทย                                                           พิซซ่าแพงที่สุด

Example

Example 2

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Comparison of Adjectives ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากๆ ทั้งในชีวิตประจำวันและในการสอบครับ น้องๆ อย่าลืมทบทวนบ่อยๆ ด้วยนะครับ ไว้เจอกันใหม่ในเรื่องต่อๆ ไปนะครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M1 การใช้ Verb Be

การใช้ Verb Be

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Verb Be กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! ความหมาย   Verb be ในที่นี้จะแปลว่า Verb to be นะคะ แปลว่า เป็น อยู่ คือ ซึ่งหลัง verb to

วิธีใช้คำราชาศัพท์ ใช้อย่างไรให้เหมาะสม

ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป การใช้คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก เพราะการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคำนาม และคำสรรพนาม ว่าเราควรแทนตัวเองหรือพระองค์อย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าอยากรู้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์   คำราชาศัพท์มีไว้ใช้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปพูดกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าอย่าง กษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนตรรกยะ และการเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยมหรือทศนิยมเป็นเศษส่วน

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1