Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ
past tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Time Expressions

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำที่ใช้บอกเวลาในอดีต หรือ Time Expressions ใน Past Tense กันก่อนนะครับ คำเหล่านี้ได้แก่

Time Expressions in the Past

Meaning

yesterday

เมื่อวานนี้

last …

Ex: last week, last month, last Friday, etc.

เมื่อ … ที่แล้ว

เช่น สัปดาห์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว วันศุกร์ที่แล้ว ฯลฯ

… ago

Ex: two days ago, three weeks ago, etc.

เมื่อ … ก่อน

เช่น สองวันก่อน สามสัปดาห์ก่อน ฯลฯ

โดยคำเหล่านี้จะมีหรือไม่มีในประโยคก็ได้ แต่หากเราต้องการเน้นและบ่งบอกเวลาที่ชัดเจนเราจึงจะนำคำเหล่านี้มาใช้ในประโยคนั่นเองครับ

 

Past Tense ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

ในภาษาอังกฤษเราจะใช้ Past Tense ในการพูดถึงเรื่องในอดีต หรือเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วอย่างสมบูรณ์ หรือเวลาที่น้องๆ เล่าเรื่อง หรือเล่านิทานก็สามารถใช้ Tense นี้ในการเล่าได้เช่นกัน และจากหัวข้อเรื่อง Time Expressions ด้านบนนั้นโดยส่วนมากเราจะใช้คำเหล่านี้ วางไว้ข้างหลังประโยคครับ เราลองมาดูรูปแบบประโยคแบบต่างๆ กันดีกว่าครับ

 

ประโยคบอกเล่า

กริยาที่ใช้ในประโยคที่พูดถึงอดีต นั้นจะเป็นกริยาช่องที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเติม -ed และถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้ was และ were นั่นเองครับ (อย่าลืมทบทวนกริยา 3 ช่องกันด้วยนะครับ)

ตัวอย่าง

I went to Phuket last week.

(ฉันไปภูเก็ตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)

John played football yesterday.

(จอห์นเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้)

He visited his grandparents last month.

(เขาไปเยี่ยมคุณปู่คุณย่าของเขาเมื่อเดือนที่แล้ว)

past tense

 

ประโยคปฏิเสธ

ในประโยคปฏิเสธแบบอดีตนั้นเราจะใช้ did not หรือ didn’t เขามาช่วยตามหลังประธานและตามด้วยกริยาไม่ผัน (Infinitive) ครับ

ตัวอย่าง

I didn’t go to school last Monday.

(ฉันไม่ได้ไปโรงเรียนเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว)

Maria didn’t pass the exam last semester.

(มาเรียสอบไม่ผ่านเมื่อเทอมที่แล้ว)

Jake didn’t want to play basketball two weeks ago.

(เจคไม่อยากเล่นฟุตบอลเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว)

past negative

 

นี่ก็เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับ Past Tense ที่มี Time Expressions แบบเข้าใจง่ายๆ ที่น้องสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยครับ และน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมจากช่อง NockAcademy ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

หลักการคูณทศนิยม พร้อมตัวอย่างที่เข้าใจง่าย

บทความนี้จะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการคูณทศนิยมในแต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งอธิบายหลักการและยกตัวอย่างวิธีคิดในแต่ละรูปแบบของการคูณทศนิยม ให้น้อง ๆสามารถนำไปปรับใช้กับการหาคำตอบจากแบบฝึกหัดในห้องเรียนได้จริง

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละ

หัวใจสำคัญของการทำโจทย์ปัญหาก็คือการวิเคราะห์ประโยคที่เป็นตัวหนังสือออกมาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือเรียกสั้นๆว่า “การตีโจทย์”ถ้าเราวิเคราะห์ถูกต้องเราก็สามารถแสดงวิธีคิดได้ออกมาอย่างถูกต้องคำตอบที่ได้ก็จะถูกต้องตามมาด้วย ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้คือการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและการแสดงวิธีทำ รับรองว่าถ้าอ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้จะได้คำตอบที่ถูกทุกข้ออย่างแน่นอน

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

กัณฑ์มัทรี

กัณฑ์มัทรี ศึกษาตัวบทและข้อคิดของกัณฑ์ที่ 9 ในมหาชาติชาดก

กัณฑ์ หมายถึง คำเทศน์ หรือตอนหนึ่ง ๆ ของเทศน์เรื่องยาว นับเป็นลักษณนามของเทศน์ ในมหาชาติชาดก เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมากันไปแล้วว่ามีทั้งหมด 13 กัณฑ์ รวมถึงเรื่องย่อของกัณฑ์มัทรี ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่ 9 มีความเชื่อว่าถ้าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ของมหาชาติชาดก ก็จะทำให้ขึ้นสวรรค์ นอกจากนี้หากบูชากัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะได้ผลที่ดีแก่ตัวเอง ผู้ที่บูชากัณฑ์มัทรี จะทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1