Let Me Introduce Myself: พูดเกี่ยวกับตัวเองแบบง่าย

พี่เชื่อว่าพอเปิดเทอมทีไรสิ่งที่เราต้องทำนั่นก็คือ การแนะนำตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นทั้งในวิชาภาษาอังกฤษ หรือวิชาอื่นๆ นอกจากการแนะนำตัวเองแล้ว น้องๆ อาจจะต้องพูดบรรยายเกี่ยวกับตัวเองอีกด้วย วันนี้เราจะมาดูกันว่าเราจะสามารถพูดและบรรยายเกี่ยวกับตนเองให้น่าสนใจได้อย่างไรบ้าง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Present Simple กับการแนะนำตัวเอง

 

ให้น้องๆ จำไว้เสมอว่าเวลาที่เราพูดเกี่ยวกับตัวเอง สิ่งที่เราพูดนั้นเป็น fact หรือเป็นความจริงเสมอ ฉะนั้นใช้ Present Simple ในการให้ข้อมูลนั้นๆ แก่เพื่อนๆ และคุณครู

 

1. ใช้ Verb to be เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐาน

น้องๆ สามารถใช้ is/am/are เวลาแนะนำตัวเพื่อบอก ชื่อ อายุ อาชีพ สิ่งที่ชอบ หรืองานอดิเรก เช่น

 

My name is Patrick. (ผมชื่อแพทริก)

I am Patrick. (ผมชื่อแพทริก)

My nickname is Pat. (ชื่อเล่นของผมคือแพท)

 

I am 14 years old. (ผมอายุ 14 ปี)

 

I am from Chonburi. (ผมมาจากชลบุรี/ผมเป็นคนชลบุรี)

 

I am a student. (ผมเป็นนักเรียน)

I am a Matthayom 2 student. (ผมเป็นนักเรียนชั้น ม. 2)

I am a student at Chonkanyanukoon School. (ผมเป็นนักเรียนโรงเรียนชลกันยานุกูล)

 

My favourite subject is English. (วิชาที่ผมชอบคือภาษาอังกฤษ)

My favourite subjects are Math and English. (วิชาที่ผมชอบคือคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ)

 

My hobby is playing football. (งานอดิเรกของผมคือเล่นฟุตบอล)

My hobbies are reading books and listening to podcasts. (งานอดิเรกของผมคืออ่านหนังสือและฟังพ็อดแคส)

 

My best friends are Jane and Jim. (เพื่อนรักของผมคือเจนและจิม)

 

*เพื่อให้การพูดฟังดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น น้องๆ สามารถย่อรูป Verb to be ได้ดังนี้

My name is (มาย เนม อิส) เป็น My name’s (มาย เนมส)

I am (ไอ แอม) เป็น I’m (แอม)

 

 

2. ใช้กริยาทั่วไปในรูป Present Form

กริยาที่มักใช้บ่อยๆ ในการบรรยายตัวเองได้แก่

 

เพิ่มเติมความน่าสนใจด้วย Reasons & Details

 

หลังจากที่น้องๆ ได้เรียนรู้ประโยคพื้นฐานในการแนะนำตัวไปแล้ว วิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้การบรรยายตัวเองของน้องๆ น่าสนใจมากขึ้นนั่นก็คือการให้เหตุผลและความเห็นเพิ่มเติม โดยยังคงใช้โครงสร้าง Present Simple เหมือนเดิม

 

1. ให้เหตุผลเพิ่มเติมง่ายๆ ด้วย “because”

ในประโยคที่พูดเกี่ยวกับวิชาที่ชอบ งานอดิเรก หรืออาชีพในอนาคต น้องๆ สามารถให้เหตุผลเพิ่มว่าทำไม่ถึงชอบ(หรือไม่ชอบ) สิ่งนั้นได้ โดยใช้ ‘because’ ตามหลังประโยค โดยจะมีความหมายว่า “เพราะว่า” เช่น

 

I like listening to music because it’s relaxing.

(ฉันชอบฟังเพลงเพราะว่ามันผ่อนคลาย)

 

I don’t like Science because it’s too difficult.

(ฉันไม่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์เพราะว่ามันยากเกินไป)

 

I want to be a doctor because I want to help people.

(ฉันอยากเป็นหมอเพราะฉันอยากช่วยเหลือผู้คน)

 

My best friends are Jane and Jim because they always help me with my homework.

(เพื่อนรักของฉันคือเจนและจิมเพราะพวกเขาช่วยฉันทำการบ้านเสมอๆ)

 

2. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วย Facts, Places, and Frequency

หากน้องๆ อยากให้สิ่งที่พูดน่าสนใจมากขึ้น น้องๆ สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ เวลา หรือความถี่ที่เฉพาะเจาะจงลงไปได้ เช่น

 

I come from Bangkok, a capital city of Thailand.

(ฉันมาจากกรุงเทพ เมืองหลวงของประเทศไทย)

 

I’m from Chiang Mai, a province in Northern Thailand.

(ฉันมาจากเชียงใหม่ จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย)

 

I have two brothers and we love playing video games together.

(ฉันมีพี่ชาย 2 คน และพวกเราชอบเล่นวิดีโอเกมส์ด้วยกัน)

 

I love English and I usually watch English movies at home with my parents.

(ฉันชอบภาษาอังกฤษ และฉันดูภาพยนตร์ภาษาอังกฤษกับพ่อแม่ที่บ้านบ่อยๆ)

 

I enjoy swimming at the beach. I go to Hua Hin every weekend.

(ฉันเพลิดเพลินกับการว่ายน้ำที่ชายหาด ฉันไปหัวหินทุกอาทิตย์)

 

Try this!

ที่นี้พอน้องๆ รู้วิธีการในการบรรยายตัวเองให้น่าสนใจแล้ว ลองมาฝึกทำให้การแนะนำตัวของ John ดูน่าสนใจขึ้นดีกว่า

My name is John. I’m 15 years old. I come from Phuket. I’m a student at Sriracha School. I’m from Phuket. I love singing. My favourite singer is Taylor Swift. I don’t like cats. I have a dog. I want to be a veterinarian.

 

Model Answer:

My name is John. I’m 15 years old. I come from Phuket, the biggest island in Thailand. I’m a student at Sriracha School. I love singing. I usually sing in the toilet. My favourite singer is Taylor Swift because she makes good music and is also beautiful. I don’t like cats because they are lazy. I have a dog and his name is Robin. I want to be a veterinarian because I love animals and I want to help them.

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับการแนะนำตัวเองเบื้องต้น และการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้สิ่งที่เราพูดน่าสนใจมากยิ่งขึ้น หวังว่าน้องๆ จะเอาไปปรับใช้ในชั้นเรียนหรือตอนสอบพูด ที่นี่เวลาใครถามว่า “Could you please introduce yourself?” หรือ “Tell me a little bit about yourself” ก็ไม่ต้องกังวลแล้วนะครับ จัดไปได้เลยเต็มที่ 🙂

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

Adjective

คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับคำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษกัน ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลยครับ

ทศนิยมกับการวัด

ความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด

บทความนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด ที่จะทำให้น้อง ๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาณการณ์ที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน จะทำให้เข้าใจหลักการและสามารถบอกค่าของการวัดที่เป็นทศนิยมได้ถูกต้อง

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

มารยาทในการพูด

มารยาทในการพูดที่ดีมีอะไรบ้างที่เราควรรู้

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับเข้ามาสู่เนื้อหาสาระดี ๆ อีกครั้ง โดยวันนี้จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับมารยาทในการพูด และจะต่อจากเนื้อหาเมื่อครั้งที่แล้วอย่างเรื่องมารยาทในการฟัง ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์มาก ๆ เมื่อเราต้องไปพูดต่อหน้าที่สาธารณะ หรือพูดคุยสนทนากับเพื่อน ๆ คุณครู พ่อแม่ของเรา เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ เราก็ควรเรียนรู้มารยาทที่ดีในการพูดไปด้วย ถ้าน้อง ๆ ทุกคนพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้จะมีเนื้อหาอะไรมาฝากกันบ้าง     การพูด

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1