การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ
some any

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Some และ Any คือ?

สำหรับคำว่า Some และ Any นั้นมีความหมายว่า “บางอันหรือบางสิ่ง” ซึ่งเรามักจะใช้นำหน้าคำนาม ทั้งคำนามที่นับได้และคำนามที่นับไม่ได้ โดยวันนี้พี่จะแบ่งประเภทของการใช้ Some/Any ดังนี้ครับ

 

รูปแบบของการใช้ some

1) some + คำนามนับได้พหูพจน์

เราสามารถใช้ some ตามด้วยคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ (plural countable nouns) จะให้ความหมายว่า “มีอยู่บ้าง” “บางอัน” เช่น

There are some apples in the basket.

(มีแอปเปิ้ลอยู่บ้างในตระกร้า)

There are some children in the playground.

(มีเด็กๆ บางคนอยู่ในสนามเด็กเล่น)

some apples

some children

 

2) some + คำนามนับไม่ได้ทั่วๆ ไป

เราสามารถใช้ some ตามด้วยคำนามนับไม่ได้ทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน มีความหมายเหมือนกับข้อที่แล้ว เช่น

There is some milk in the fridge.
(มีนมในตู้เย็นอยู่บ้าง)

some milk

 

3) some ในคำถามยื่นข้อเสนอ

หากน้องๆ ต้องการถามให้สักคนว่า ต้องการ…บ้างไหม? น้องๆ สามารถใช้ some นำหน้าคำนามนั้นๆ ได้ เช่น

Would you like some coffee?
(คุณต้องการรับกาแฟไหม?)

some coffee

 

รูปแบบของการใช้ any

โดยส่วนใหญ่น้องจะเจอคำว่า any ในประโยคคำถาม (แปลว่า บ้างไหม) หรือปฏิเสธ (แปลว่า ไม่มี…เลย) ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

1) any + คำนามนับไม่ได้

เราสามารถใช้ any ตามด้วยคำนามนับไม่ได้ เช่น

Is there any sugar in the kitchen?
(มีน้ำตาลอยู่ในครัวบ้างไหม?)

I don’t have any money.
(ฉันไม่มีเงินเลย)

any sugar

any money

 

2) any + คำนามนับได้พหูพจน์

เราสามารถใช้ any ตามด้วยคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ (plural countable nouns) ซึ่งหากอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าจะแปลว่า “ใดๆ ก็ได้” เช่น

You can travel to any places.
(คุณสามารถไปเที่ยวที่ไหนก็ได้)

We can wear any shoes.
(เราสามารถใส่รองเท้าคู่ใดก็ได้)

any places

any shoes

 

นี่ก็เป็นกฎพื้นฐาน 5 ข้อ ของการใช้ Some และ Any พื้นฐานที่น้องๆ ควรจะต้องรู้ก็คือเรื่องคำนามนับได้/นับไม่ได้ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ ใช้ Some และ Any ได้แม่นยำ และน้องๆ สามารถดูวิดีโอเรื่องนี้จากช่องของ NockAcademy ได้ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

คุณศัพท์บอกความรู้สึก

การใช้คำคุณศัพท์และการบอกความรู้สึก

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Descriptive Adjective การใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า    ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

​พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม

past simple tense

Past Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Past Simple Tense ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

การใช้ Why and because + want + infinitive

การใช้ Why and because + want + infinitive เกริ่นนำเกริ่นใจ กลับมาอีกครั้ง กับนักเขียนเจ้าเก่าคนเดิม คนที่พร้อมจะพาทุกคนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้และความหัวปวดด้วยภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษ เช้าที่สดใสแบบนี้จะมีอะไรดีไปกว่าการได้มานั่งเขียนเรื่องราวดี ๆ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นอีกละ จริงมั้ย? คำถามคือ ทำไมต้องมาเขียนอะไรแบบนี้ทุกเช้าด้วยละ? สงสัยใช่มั้ยละ? นั่นก็เพราะว่า คนเขียนนั้นรักในการเขียนและอยากจะแบ่งปันความรู้ให้กับคนอ่านทุกคนยังไงละ Easy เลย แค่นั้นเลย คนบนโลกจะเข้าใจกันมากหากเรามีเหตุผลในสิ่งที่ทำ

Phrasal verb with2 and 3

Two – and Three-Word Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ทบทวน Phrasal verbs    Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1